PODCASTMISSION TO THE MOON"ผังเมืองทับทางน้ำไหล" ปัญหาโครงสร้างที่ทำให้น้ำท่วมแบบไม่มีวันจบ

“ผังเมืองทับทางน้ำไหล” ปัญหาโครงสร้างที่ทำให้น้ำท่วมแบบไม่มีวันจบ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงและถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงเมืองสำคัญในภูมิภาคต่างๆ แม้จะมีการลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี สาเหตุสำคัญที่มักถูกมองข้ามคือ “ผังเมืองที่ทับทางน้ำไหล”

การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วและไม่เป็นระบบ ส่งผลให้พื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติถูกรุกล้ำ ทางระบายน้ำถูกปิดกั้น และการไหลของน้ำตามธรรมชาติถูกเปลี่ยนแปลง ปัญหานี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในระยะยาว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องมองให้ลึกลงไปถึงรากของปัญหา นั่นคือการวางผังเมืองที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและระบบนิเวศน้ำ

“ทางน้ำไหล” ย้อนประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง

ทางน้ำไหลเป็นเส้นทางธรรมชาติที่น้ำใช้ในการเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ในอดีต ชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยตั้งถิ่นฐานโดยคำนึงถึงทางน้ำไหลเหล่านี้ แต่ารพัฒนาเมืองในยุคปัจจุบันกลับละเลยความสำคัญของทางน้ำธรรมชาติ ทำให้ “ทางน้ำไหล” กลายเป็นจุดที่ถูกลืมในการสร้างเมือง ส่งผลให้คลองหลายสายถูกถมเพื่อสร้างถนนและอาคาร แม่น้ำและลำธารถูกบีบให้แคบลงด้วยสิ่งก่อสร้าง พื้นที่ชุ่มน้ำและทุ่งน้ำหลากถูกเปลี่ยนเป็นเขตที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม

ในอดีต ชุมชนมักตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิต โดยเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ แต่เมื่อเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว การพัฒนาก็มักเกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศเดิม ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “เวนิสตะวันออก” ด้วยระบบคลองที่ซับซ้อน แต่การพัฒนาเมืองในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้ส่งผลให้คลองจำนวนมากถูกถม ทางน้ำถูกปิดกั้น และพื้นที่รับน้ำถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้าง ส่งผลให้เมืองเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมรุนแรงเป็นประจำ

หลายคลองในกรุงเทพฯ ถูกปูทับด้วยถนน อาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทำให้การระบายน้ำไม่สะดวก เช่น คลองแสนแสบและคลองบางซื่อ ซึ่งมีการพัฒนาและสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้การไหลของน้ำถูกจำกัด

หรือในจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี พื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติถูกเปลี่ยนเป็นเขตที่อยู่อาศัยและนิคมอุตสาหกรรม ทำให้น้ำไม่มีที่ไปเมื่อเกิดน้ำหลาก และในจังหวัดอยุธยา ที่มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบโบราณสถานและในเขตเมืองเก่าส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ จนเป็นที่มาของน้ำท่วมรุนแรงในทุกๆ ปี

Advertisements

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ “ทางน้ำไหล” ถูกปิดกั้น

เมื่อทางน้ำไหลถูกปิดกั้น น้ำจึงไม่มีที่ไปนอกจากท่วมพื้นที่โดยรอบ ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงขึ้น และอีกเหตุผลคือ ระบบระบายน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่สามารถทดแทนประสิทธิภาพของทางน้ำธรรมชาติได้ เมื่อน้ำท่วม ก็สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน โครงสร้างพื้นฐาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานี้มีอยู่เพียงวิธีเดียวคือ “ต้องมีการวางผังเมืองที่เคารพทางน้ำไหล” แน่นอนว่าถ้าหากพูดเรื่องนี้อาจจะดูเหมือนเป็นวิธีที่ยาก และถูกยกประเด็นขึ้นมาช้าเกินไป แต่จริงๆ แล้วในต่างประเทศที่ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างรุนแรงอย่าง เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น ก็มีการปรับผังเมืองใหม่ เพื่อจัดการปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน

[  ] เนเธอร์แลนด์มีการสร้างพื้นที่รับน้ำใหม่ โดยใช้แนวทางการสร้างพื้นที่สีเขียวและพื้นที่น้ำเพื่อรองรับน้ำฝน ออกแบบให้มีสวนสาธารณะและสร้างพื้นที่เปิดโล่งในผังเมืองที่สามารถดูดซับน้ำได้

[  ] ในญี่ปุ่น มีการปรับผังเมืองให้สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ เช่น การสร้างอาคารที่ทนทานต่อการน้ำท่วมและการมีทางเดินที่สามารถหลบหนีน้ำได้

[  ] นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการใช้ระบบขนส่งทางน้ำและการสร้างเส้นทางที่ไม่กีดขวางทางน้ำ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากอุทกภัย

ซึ่งสุดท้ายแล้ว วิธีที่เราสามารถทำได้ จึงอาจจะเป็นการทบทวนและปรับปรุงผังเมืองใหม่ ฟื้นฟูทางน้ำเดิม เปิดคลองที่ถูกถม ขุดลอกทางน้ำที่ตื้นเขิน และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมถึงการสร้างพื้นที่รับน้ำ เพิ่มสวนสาธารณะ แก้มลิง และพื้นที่สีเขียวที่ช่วยดูดซับน้ำในเขตเมือง ปัญหาน้ำท่วมก็จะสามารถลดลงได้อีกทางหนึ่ง

การแก้ปัญหา “ผังเมืองทับทางน้ำไหล” เป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน แม้จะเป็นความท้าทายที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมหาศาล แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือเมืองที่ปลอดภัย น่าอยู่ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต และท้ายที่สุด การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเป็นสิ่งสำคัญ ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติของประชาชนในชีวิตประจำวัน หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เราอาจจะได้เห็นภาพของคนไทยที่สามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน และหลุดพ้นจากวงจรน้ำท่วมที่ไม่มีวันจบนี้ได้ในที่สุด

อ้างอิง
– กรณีศึกษา เนเธอร์แลนด์ จากประเทศที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สู่การจัดการน้ำที่กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ระดับโลก: TODAY Bizview – https://bit.ly/4cOOHmG 
– Case Study of Flood Control in the Netherlands: OUR Khung BangKachao – https://bit.ly/3X6zE1M
– Case Study – Severe flooding and mudslides in southern Japan: Safey – https://bit.ly/3Z7XFZf

#trend
#น้ำท่วม
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า