NEWSTrendsทำไมแม่เลี้ยงต้องใจร้าย? มายาคติจากนิทานสู่ความเชื่อผิดๆ ในสังคม

ทำไมแม่เลี้ยงต้องใจร้าย? มายาคติจากนิทานสู่ความเชื่อผิดๆ ในสังคม

เมื่อพูดถึงคำว่า “แม่เลี้ยง” หลายคนอาจนึกถึงคำว่า “ใจร้าย” ต่อในใจได้โดยอัตโนมัติ เพราะไม่ว่าจะเป็นละคร ตำนาน หรือนิทานที่เราเคยอ่านตอนเด็ก อย่างสโนว์ไวท์ ซินเดอเรลลา และฮันเซลกับเกรเทล ก็ล้วนนำเสนอเรื่องราวของแม่เลี้ยงใจร้าย ที่เกลียดชังและคอยกลั่นแกล้งลูกติดของสามีอยู่เสมอ

ค่านิยมเรื่องแม่เลี้ยงใจร้ายนี้เกิดจากความเชื่อในสังคมที่มองว่า ครอบครัวที่มีแม่เลี้ยงจะเกิดปัญหาภายในจากความไม่ลงรอยกันของสมาชิกในครอบครัว ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง แข่งขัน และแย่งชิงความสัมพันธ์เกิดขึ้น ความเชื่อที่ฝังรากลึกนี้ นอกจากจะส่งผลต่อผู้ที่เป็นแม่เลี้ยงในสังคมถูกตีตราด้วยภาพของผู้หญิงชั่วร้าย ยังกระทบถึงการตัดสินใจเริ่มต้นรักครั้งใหม่ของหลายๆ ครอบครัวอีกด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เป็นแม่เลี้ยงในครอบครัวมักเป็นคนใจร้ายตามที่ตำนานเล่าต่อกันมาจริงหรือไม่ หรือเป็นเพราะวัฒนธรรม Pop Culture ในสังคม ที่สร้างภาพให้เป็นแบบนั้นกันแน่?

ตลอดเวลาที่ผ่านมามีเรื่องราวที่เขียนถึงความชั่วร้ายของแม่เลี้ยงกว่า 900 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่รวมถึงเรื่องที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่ขึ้นฉายบนหน้าจออีกนับไม่ถ้วน ส่งผลให้กลุ่มแม่เลี้ยงในสังคมถูกมองว่าเป็นคนโหดร้าย แม้แต่คำศัพท์ที่ใช้เรียกอย่างคำว่า ‘Step’ ที่มาจากคำว่า ‘Steop’ ในภาษาอังกฤษโบราณ เมื่อประกอบเป็นคำว่า Stepmother และ Stepchild แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างที่ถูกกีดกันออกจากกัน และสื่อถึงความด้อยกว่าในเชิงเปรียบเทียบ

โดยเหล่าตัวละครแม่เลี้ยงยอดนิยมถูกสร้างขึ้นในปี 1812 จากสองผู้เขียนชาวเยอรมัน เจคอบ และวิลเฮล์ม กริมม์ หรือที่บางคนรู้จักกันดีในชื่อ ‘พี่น้องตระกูลกริมม์’ ได้ตีพิมพ์หนังสือคอลเล็กชันแรก Children’s and Household Tales โดยการนำเรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้านมาผสมกัน

ถึงแม้เนื้อหาทั้งหมดจะเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น แต่การที่เรื่องราวต่างๆ เน้นไปที่ตัวละครแม่เลี้ยง ก็สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในยุคนั้น ที่ผู้ชายมักเลือกแต่งงานใหม่กับผู้หญิงอายุน้อยกว่า ซึ่งบางครั้งแม่เลี้ยงอาจมีอายุใกล้เคียงกับลูกติด ทำให้เกิดการแย่งชิงความรัก ความสนใจจากผู้เป็นพ่อได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ปัจจุบันนี้แม่เลี้ยงจะถูกมองในแง่ลบมากกว่าคนอื่นๆ ในครอบครัว

จริงอยู่ที่ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ แต่ผลการวิจัยเรื่อง The Cinderella Effect ของจิตแพทย์นิติวิทยาศาสตร์ ปี 1970 พบว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้น ส่วนมากมักมาจากฝั่งพ่อเลี้ยงมากกว่าถึง 50%

อีกทั้งยังมีผลสำรวจจากกลุ่มลูกเลี้ยงในสหรัฐฯ จำนวน 295 คน ในปี 2021 ที่แสดงให้เห็นว่าลูกเลี้ยงส่วนมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแม่เลี้ยง เทียบได้เป็นคะแนนเฉลี่ย 3.9 จาก 5 คะแนน พวกเขารู้สึกใกล้ชิดและพอใจกับความสัมพันธ์โดยรวม

ประกอบกับรายงานการวิจัยร่วม 3,000 ฉบับ และการพูดคุยกับครอบครัวที่มีลูกเลี้ยงของศาสตราจารย์สาขาการพัฒนามนุษย์แห่งมหาวิทยาลัยมิสซูรี ที่แสดงให้เห็นว่าแม่เลี้ยงสามารถสนับสนุนด้านความเป็นอยู่ และช่วยเหลือด้านภาวะจิตใจของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี จากการใช้เวลาอยู่กับลูกเลี้ยงในช่วงหลังการหย่าร้าง และยังเป็นกำลังใจสำคัญสำหรับเด็กที่รู้สึกทุกข์ทรมานกับการสูญเสียครอบครัว

จากอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม จะทำให้อคติที่มีต่อภาพแม่เลี้ยงใจร้ายในนิทานลดลงไปด้วย แต่พวกเขาก็ยังคงต้องพบกับปัญหาในหลายๆ ด้าน เพราะไม่ใช่แค่ฝั่งเด็กๆ ที่ต้องปรับตัวอยู่ฝ่ายเดียว แต่ทางแม่เลี้ยงเองก็ต้องพยายามอย่างมากในการปรับตัวเข้ากับครอบครัวใหม่ โดยที่ลูกเลี้ยงไม่เกิดความรู้สึกต่อต้านหรือมองว่าพ่อแม่แท้ๆ ของเด็กถูก ‘แทนที่’ นั่นเอง

มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้แม่เลี้ยงบางคนต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวการถูกตีตราจากคนในสังคม ผลการสำรวจในปี 2018 จากแม่เลี้ยงจำนวน 134 คน ที่อาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ พบว่ามีแม่เลี้ยง 22% ที่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างมาก เพื่อไม่ให้ตัวเองถูกมองในแง่ลบ

แม้ว่าผู้ที่เป็นแม่เลี้ยงในสังคมจะต้องพบกับความท้าทายมากมาย ก็อาจไม่แย่เท่ากับการต้องเผชิญหน้ากับมายาคติแม่เลี้ยงใจร้ายที่มีมาอย่างยาวนาน แน่นอนว่าในสังคมของเราล้วนมีทั้งคนดีและไม่ดีปะปนกันไป แต่เราก็ไม่ควรตัดสินและตีตราว่าผู้ที่เป็นแม่เลี้ยงจะต้องร้ายเสมอไป แต่ควรมองถึงคุณค่าของการทำหน้าที่เป็น ‘แม่’ อย่างแท้จริง


อ้างอิง
– The myth of the evil stepmother: Ali Francis, BBC : https://bbc.in/3VdST7b
– The Cinderella Effect: Evolutionarily Inclined Abusive Stepparents: kangyj, WordPress : https://bit.ly/3XjtuLb

#trend
#stepmother
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า