NEWSTrendsหมดเทศกาลทีไร ใจหดหู่ ผลสำรวจชี้ คนเกินครึ่งเผชิญภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post-Holiday Blues)

หมดเทศกาลทีไร ใจหดหู่ ผลสำรวจชี้ คนเกินครึ่งเผชิญภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post-Holiday Blues)

คุณเคยรู้สึกเศร้าเมื่อหมดช่วงเทศกาลหรือไม่?

หลังจากที่ได้สังสรรค์และพักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงวันหยุดเทศกาล ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสำหรับบางคน แม้จะเติมพลังกายพร้อมฟื้นฟูพลังใจมาแล้ว แต่พอกลับถึงบ้านทีไร ก็ต้องรู้สึกเศร้าหรือห่อเหี่ยวใจทุกที หากคุณกำลังรู้สึกแบบนี้ คุณไม่ได้กำลังรู้สึกไปเพียงคนเดียว เพราะจากข้อมูลของ National Alliance on Mental Illness องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพจิตในสหรัฐอเมริกา เผยว่า

64% ของคนส่วนใหญ่มักเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาล หรือ Post-Holiday Blues ที่อาจเกิดได้จากความเครียดทางร่างกาย อารมณ์ ตลอดจนความเครียดทางการเงิน และแรงกดดันในการเผชิญหน้ากับความเป็นจริงหลังช่วงเทศกาล

ในทางจิตวิทยา การได้หยุดพักผ่อนในช่วงเทศกาลนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะจะช่วยลดความเครียดและเพิ่มความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถเสริมสร้างการใช้ชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ความสุขหรือความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่ถาวร เพราะเมื่อไรที่เทศกาลจบลงแล้วต้องกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ เช่น ไปเรียน หรือไปทำงาน ระดับความสุขของผู้คนก็จะลดกลับลงมาอยู่ในระดับพื้นฐานภายในระยะเวลาสั้นๆ โดยอัตโนมัติ

เมื่อระดับความสุขลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ได้รู้สึกผ่อนคลายหรือมีความสุขเท่าช่วงเทศกาล หนำซ้ำยังต้องกลับมาพบเจอกับความกดดันในการใช้ชีวิตตามกิจวัตรประจำวันแบบเดิม ภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลจึงเป็นเรื่องปกติที่หลายคนสามารถประสบพบเจอได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติแต่อย่างใด

อาการที่แสดงออกมาทางกายภาพและความคิดของภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลนั้นอาจครอบคลุมตั้งแต่อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ไม่มีพลัง วิตกกังวล ไปจนถึงสมาธิสั้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และสามารถหายได้เอง ดังนั้น ทุกคนจึงสามารถเริ่มดูแลตัวเองให้หายเศร้าหลังเทศกาลได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตารางการนอนหลับ

สำหรับบางคนที่ไปเที่ยวในช่วงเทศกาล การเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสมได้ หากปรับตารางการนอน จนนอนหลับสนิทหรือพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะซ่อมแซมและปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้สภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่เผชิญภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น งานอดิเรก หรือยังคงพูดคุยติดต่อกับครอบครัว เพื่อนฝูงอยู่แม้จะแยกย้ายกันไปหลังจบเทศกาลแล้ว ก็สามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้น อารมณ์กลับมาคงที่ และกลับมาดำเนินชีวิตตามกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้นเช่นกัน

ภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลไม่ใช่โรคทางจิตเวช โดยปกติแล้ว มันจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและหายไปเองได้ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระลึกไว้เมื่อรู้ว่ากำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังเทศกาลนั่นก็คือ เราควรอดทน ใจเย็น และไม่ต้องกดดันตนเองให้รีบกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วๆ แต่ควรให้ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

เมื่อใดที่บรรเทาภาวะซึมเศร้าดังกล่าวจนหายเป็นปลิดทิ้งได้ เมื่อนั้นการดำเนินชีวิตในแต่ละวันก็จะเป็นไปอย่างปกติสุขเหมือนเคย

อ้างอิง
– Why we feel sad in January: How to deal with post-holiday depression : Daniel Neira, HOLA – https://bit.ly/3DIo1Ip
– Post-Vacation Blues: How to Avoid or Overcome Them : Healthline – https://bit.ly/4a5dJOB
– เอาชนะอาการเฉาหลังวันหยุดยาว : นพ. โยธิน วิเชษฐวิชัย, สมิติเวช – https://bit.ly/3Pv7CcR


#trend
#psychology
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า