NEWSTrendsเช็กก่อนแชร์! แม้แต่อินฟลูฯ ที่ดูน่าเชื่อถือก็อาจเผลอแพร่ข้อมูลเท็จ

เช็กก่อนแชร์! แม้แต่อินฟลูฯ ที่ดูน่าเชื่อถือก็อาจเผลอแพร่ข้อมูลเท็จ

ในโลกยุคใหม่ที่ทุกคนสามารถบริโภคข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง มีใครเคยลองตั้งคำถามกับตัวเองดูไหมว่า ช่องทางที่รับข้อมูลมาเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน?

ในอดีต ผู้คนส่วนใหญ่อาจบริโภคข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บรรดาสื่อโซเชียลมีเดียมักเป็นช่องทางแรกในการรับข้อมูลที่หลายคนมองหา เพราะด้วยความสะดวกรวดเร็วที่มากกว่า ไปจนถึงการมีอยู่ของ ‘Influencer’ ที่ใครๆ ต่างก็ให้ความเชื่อถือ

ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าของ Pew Research Center แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่า 1 ใน 5 ของชาวอเมริกันเผยว่า พวกเขามักจะเสพข้อมูลข่าวสารที่ Influencer แชร์บนสื่อโซเชียลมีเดียเป็นประจำ

นักสังคมศาสตร์เชิงคำนวณจาก Pew Research Center อย่าง ‘กาเลน สต็อกกิง (Galen Stocking)’ ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า “65% ของคนส่วนใหญ่ที่เลือกรับข่าวสารจาก Influencer มักคิดว่า ข้อมูลที่ Influencer แชร์ คือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจโลกได้ดีขึ้นด้วย”

ซึ่ง ‘เบซิล สมิเคิล (Basil Smikle)’ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียให้เหตุผลว่า การที่คนส่วนใหญ่เลือกรับข้อมูลจากช่องทางดังกล่าว ไม่ว่าจะสื่อโซเชียลก็ดี หรือ Influencer ก็ดี หลักๆ เป็นเพราะความสะดวกสบาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือก็สามารถเสพข้อมูลข่าวสารที่ต้องการได้แล้ว อย่างไรก็ตาม มันก็อาจนำไปสู่การเผยแพร่ข่าวปลอม หรือแชร์ข้อมูลเท็จที่มากขึ้นและยากจะจัดการให้หมดไปได้

อีกทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลยังทำได้ค่อนข้างยาก แม้แต่ระบบอัลกอริทึมก็ไม่สามารถกรองหรือแยกข้อมูลที่ถูกต้องออกจากข้อมูลเท็จให้ได้เท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้น มันยังอาจส่งต่อข้อมูลเดิมๆ ที่ไม่ได้ผ่านการกรองมาให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ ด้วย ดังนั้น เบซิล สมิเคิลจึงกล่าวว่า บางครั้ง เราก็ไม่อาจรู้เลยว่า ข้อมูลที่ได้รับผ่านสื่อโซเชียลมาเป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ถูกต้องจริงหรือไม่

เพราะจากการศึกษาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เผยว่า เหล่า Influencer จำนวนมากบนสื่อโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มสูงที่จะเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เนื่องจากไม่ตรวจสอบความถูกต้องก่อนแชร์ให้ผู้อื่น ซึ่ง 1 ใน 3 ของ Influencer ยอมรับจากใจจริงว่า พวกเขามักแชร์ข้อมูล โดยไม่ได้เช็กแหล่งที่มาให้ดีก่อนว่าน่าเชื่อหรือไม่ ขณะเดียวกัน อีก 4 ใน 10 ของ Influencer มักจะประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลผ่านความนิยม เช่น ยอดไลก์ ยอดเข้าชมเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ UNESCO จึงย้ำเตือนว่า แม้แต่ Influencer ก็อาจตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จ จนส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในวงกว้างตามมา เพราะไม่ยอมตรวจสอบความถูกต้องให้ถี่ถ้วนก่อนได้ ดังนั้น ไม่ใช่แค่ Influencer เท่านั้น แต่ทุกคนควรจะช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนแชร์ลงบนสื่อโซเชียลมีเดียด้วย

จากคำแนะนำของ Settlement.Org ประเทศแคนาดา อธิบายว่า การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนแชร์นั้น ถือเป็นการฝึกฝนทักษะการประเมิน และพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทุกคนไม่ควรรับข้อมูลจากแค่แหล่งเดียวเท่านั้น แต่ควรหาข้อมูลจากแหล่งอื่นประกอบด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยให้ระบุความถูกต้องของข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้น

โดยทุกคนควรตรวจสอบข้อมูลเท็จผ่านแหล่งที่มา เช่น ใครคือผู้เขียน มีแหล่งที่มาจากสำนักข่าวไหน มีความเชี่ยวชาญมากน้อยแค่ไหนจึงส่งต่อข้อมูลดังกล่าว เป็นต้น และก่อนแชร์ ก็ไม่ควรลืมที่จะตรวจสอบว่า เนื้อหานั้นๆ มีความเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน หรือมีอคติส่วนตัวอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาภายหลังการแชร์

ที่สำคัญ ทุกคนควรเช็กวันเวลาของข้อมูลให้ดี เพราะบ่อยครั้งที่ข่าวเก่ามักถูกนำกลับมาเล่าซ้ำ จนทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่า เนื้อหาดังกล่าวคือเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และในขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรมองข้ามความถูกต้องเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในข้อมูล เช่น การสะกด เป็นต้น เพราะข้อมูลที่ถูกนำเสนออย่างไม่เรียบร้อย พิมพ์ผิด ไวยากรณ์ผิด ก็สามารถแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพของแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ได้เช่นกัน

ยิ่งอยู่ในยุคที่การรับข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว ทุกคนยิ่งต้องระมัดระวังการแชร์ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะเป็น Influencer หรือเป็นคนทั่วไปก็ตาม เพราะแม้เป็นคนทั่วไป แต่หากจำนวนการส่งต่อข้อมูลนั้นมีมาก ก็อาจเป็นการส่งต่อความเชื่อหรือข้อมูลผิดๆ ให้กับผู้อื่นได้ ฉะนั้น หากทุกคนรับผิดชอบร่วมกัน หมั่นตรวจสอบความถูกต้องให้เป็นนิสัยก่อนแชร์ นอกจากข้อมูลที่ผ่านการกรองดังกล่าวจะน่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์แล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาหลังจากการแชร์ก็จะไม่กระทบใครในแง่ลบอีกด้วย


อ้างอิง
– 1 in 5 Americans get their news from social media influencers : Kristian Burt, CNBC – https://bit.ly/4isFTXH
– Majority of social media influencers don’t verify information before sharing it, study finds : Liam Reilly, CNNhttps://bit.ly/4gptF06
What is fake news and how to stop the spread of misinformation? : Settlement.Org – https://bit.ly/49tPE3T

#trend
#society
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า