เราอาจจะเคยเห็นข่าวน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ข่าวระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ข่าวการสูญพันธุ์ของพืชหรือสัตว์บางชนิด และคิดว่ามันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของเรามากขนาดนั้น แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าอากาศร้อนทำให้ผู้คนหงุดหงิด อารมณ์ร้อนมากขึ้น และอาจรุนแรงจนกลายเป็นความเครียดสะสมไปเลยก็ได้
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซาจะมองว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อนนี้ไม่สามารถย้อนกลับได้ หรือพูดให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็คือ เราไม่สามารถเปลี่ยนให้โลกกลับมาเย็นลงได้ แต่ถ้าเราสามารถลดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ได้ อย่างน้อยเราก็อาจจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดบางประการได้เช่นกัน
‘พื้นที่สีเขียว’ สำคัญอย่างไรกับเมือง?
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน และขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ร้อนตลอดทั้งปี จนกระทั่งมีคำกล่าวว่าประเทศไทยมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนที่สุด จนคนไทยเริ่มชินกับอากาศร้อนๆ ไปแล้ว หลายคนก็คงเคยนั่งลุ้นว่าหน้าหนาวนี้จะได้หนาวกี่วัน และสำหรับคนไทย การพักผ่อนในวันหยุดหน้าร้อนที่ดีที่สุดอาจจะเป็นการใช้เวลาไปกับการเดินในห้างสรรพสินค้า หรือเปิดแอร์ให้เย็นฉ่ำ และนั่งเล่นอยู่ในบ้านทั้งวัน
วิถีชีวิตแบบนี้กลายเป็นเรื่องปกติของคนไทยไปแล้ว และเป็นไปได้ยากที่เราจะเดินเล่นในสวน ปั่นจักรยานกับครอบครัว หรือนั่งปิกนิกชมดนตรีสดกลางแจ้ง ท่ามกลางแดดแรงและอากาศร้อนในช่วงนี้ เพราะนอกจากบ้านเมืองของเราจะเป็นเมืองร้อนแล้ว ประเทศของเรายังมีพื้นที่สีเขียวน้อยจนน่าตกใจ
จากการสำรวจโดย The Economist Intelligence Unit พบว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่สีเขียวน้อยที่สุดใน ASEAN ขณะที่ค่ามาตรฐานของเมืองที่น่าอยู่ และปลอดมลพิษขององค์การอนามัยโลก ระบุว่าจะต้องมีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 10 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน
การที่ประชากรคนไทยมีทางเลือกการใช้ชีวิต มีพื้นที่พักผ่อน และมีพื้นที่สีเขียวน้อยนับเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะนอกจากสถานการณ์ Climate Change ที่รุนแรงขึ้นทุกวันแล้ว อากาศร้อนๆ อย่างนี้ยังทำให้คนไทยมีความเครียดสะสมเพิ่มมากขึ้น และเป็นภัยเงียบที่กำลังคุกคามสุขภาพจิตของเราอีกด้วย
เพิ่มสวน…เพิ่ม ‘สุข’ ให้กับคนในเมือง
นอกจากการมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยในเรื่องของสุขภาพกายของคนในเมือง ช่วยดูดซับสารพิษ กลืนรังสีที่เป็นอันตราย ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ธรรมชาติยังช่วยลดความเครียดให้กับคนได้อีกด้วย โดยเฉพาะคนเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบและต้องเผชิญกับความกดดันในแต่ละวัน
จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ สหราชอาณาจักร พบว่าความเครียดของคนเราสามารถลดลงได้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง โดยให้ร่างกายได้ใช้ประสาทสัมผัสไปกับธรรมชาติ โดยเฉพาะตา หู จมูก และการสัมผัสของเรา รับแสง สี เสียง กลิ่น และสัมผัสสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด สีเขียวเฉดต่างๆ จากต้นไม้ สีสันของดอกไม้ เสียงลม เสียงใบไม้ เสียงของแมลง กลิ่นของธรรมชาติ รวมถึงการสัมผัสด้วย
และด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงเลือกที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือสวนสาธารณะเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติให้กับผู้คนในเมือง จากการศึกษาของดร.โนอาห์ เลคซิน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบัลติมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ‘สวนบำบัด’ (Therapeutic Garden) ลดความตึงเครียดของผู้คนในเมือง เนื่องจากการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสจากธรรมชาติช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดความกังวลของผู้คนลงได้
โดยอาจจัดแต่งให้มีสัดส่วนที่ใช้ต้นไม้ 70% และงานฮาร์ดสเคป เช่น ทางเดิน ที่นั่งพัก ระแนงบังตา หรือศาลาอีก 30% เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลายแก่ประสาทสัมผัสทั้งห้าส่วน ซึ่งช่วยบรรเทาความเครียดสะสมจากวิถีชีวิตในเมืองให้กับผู้คนได้
นอกจากนี้ งานวิจัยและการสำรวจของ Thrive ก็สอดคล้องกับรายงานการศึกษาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากผลการสำรวจผู้คน 317 คนที่เข้าร่วมในการทำ Table Top Garden หรือการจัดสวนในพื้นที่เล็กๆ เช่น บนโต๊ะ ในเมืองเบิร์กเชียร์ เมืองแฮมป์เชียร์ และเมืองเซาท์อ็อกซ์ฟอร์ดเชียร์ ประเทศอังกฤษ พบว่า 80% ของผู้เข้าร่วมมีสุขภาพจิตดีขึ้น และ 93% ของผู้เข้าร่วมพบว่าความมั่นใจและแรงจูงใจของพวกเขาดีขึ้น
สร้าง ‘ปอด’ ด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่า และหยุดก๊าซเรือนกระจก
นอกจากจะช่วยลดความตึงเครียดให้กับผู้คนแล้ว การเพิ่มพื้นที่สีเขียวยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เพราะพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติของประเทศไทยนั้นลดน้อยลงเรื่อยๆ ทุกปี โดยเมื่อพิจารณาจำนวนพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยจากข้อมูลของสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ ตั้งแต่ปี 2020-2023 พบว่า
[ ] 2020 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 102,353,484 ไร่ คิดเป็น 31.64%
[ ] 2021 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 102,212,434 ไร่ คิดเป็น 31.59%
[ ] 2022 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 102,135,974 ไร่ คิดเป็น 31.57%
[ ] 2023 มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 101,818,155 ไร่ คิดเป็น 31.47%
จะเห็นได้ว่าต้นไม้ตามธรรมชาติที่เป็นเสมือน ‘ปอด’ ของบ้านเรานั้นกำลังลดจำนวนน้อยลงทุกปี ดังนั้นเพื่อให้เห็นว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ หรือสวนสาธารณะในตัวเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญ องค์กรต่างๆ จึงเริ่มสร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น โตโยต้าก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้ว่ามีการทำกิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตลอดจนการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น
1)กิจกรรมโตโยต้าปลูกป่าชายเลน ที่สถานีตากอากาศบางปู ตั้งแต่ปี 2005 โดยปลูกไปแล้วทั้งสิ้น 792,800 ต้น ซึ่งกิจกรรมนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างโตโยต้า กรมพลาธิการทหารบกและมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED
นอกจากนี้ยังพัฒนาสถานตากอากาศบางปูให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับเมืองใหญ่ รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชน อาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2) กิจกรรมป่านิเวศ (Eco-Forest) เริ่มต้นที่โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ ตั้งแต่ปี 2008 ตามแนวคิด “การปลูกป่านิเวศอย่างยั่งยืน” และเทคนิควิธีการปลูกป่าตามแนวคิดของ ศ. ดร. อาคิระ มิยาวากิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่า และผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยานานาชาติประจำประเทศญี่ปุ่น
ทฤษฎีนี้ทำให้กิจกรรมป่านิเวศ (Eco-Forest) ของโตโยต้าประสบความสำเร็จ และต้นไม้ทั้งสิ้น 1,860,000 ต้นที่ปลูกนั้นมีอัตราการรอดตาย 90% รวมถึงมีอัตราการเจริญเติบโตสูง 2-3 เท่าของการปลูกแบบทั่วไป
3) ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในโรงงานในประเทศไทย เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านป่า และความหลากหลายทางชีวภาพแก่เด็กๆ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างโตโยต้า มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ FEED และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
จากโครงการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสรุปได้ว่า โตโยต้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวและต้นไม้มากกว่า 2,6000,000 ต้นทั่วประเทศไทย และสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 27,950 ตันต่อปี
เนื่องจากโตโยต้ามีเป้าหมายในการมุ่งสู่การเสริมสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งเป็น Multi Actions ที่ต้องทำควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ขับขี่ ด้วยพลังงานสะอาดผ่านกลยุทธ์ Multi-Pathway Strategy
แต่การสร้างจิตสำนึกเพื่อเปลี่ยนโลกไม่อาจทำได้ด้วยคนเพียงคนเดียว หรือเพียงองค์กรเดียว โตโยต้าจึงต้องขยายความร่วมมือ และสร้างความสัมพันธ์ทั้งกับชุมชน หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน เพื่อลดคาร์บอน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม โครงการการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อยกระดับชีวิตของผู้คนยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายทั้งกับโตโยต้า ชุมชน รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสร้างพื้นที่แห่งความสุข ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์ให้กับผู้คนก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
Mission To The Moon X Toyota
อ้างอิง
– The Effects of Climate Change : NASA – https://science.nasa.gov/climate-change/effects/
– ตะลึง!! กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวต่อคนน้อยที่สุดในอาเซียน : MGR Online – https://bit.ly/3Q4x3To
– รู้จัก “Therapeutic Garden” การจัดสวนเพื่อบำบัดจิตใจและคลายเครียด : บ้านและสวน – https://bit.ly/4axBX3w
– Why gardening is good for your mental health : Thrive – https://bit.ly/49zElpa
– พื้นที่ป่าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2516 – 2566 : กรมป่าไม้ – https://bit.ly/3UlV2Ab
#toyota
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast