BUSINESSลดคาร์บอน ลดโลกเดือด! ส่องแนวทางกู้วิกฤติโลกรวนด้วยกลยุทธ์ ‘Multi Pathway’

ลดคาร์บอน ลดโลกเดือด! ส่องแนวทางกู้วิกฤติโลกรวนด้วยกลยุทธ์ ‘Multi Pathway’

รู้หรือไม่? ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในยุค “โลกร้อน” อีกต่อไป แต่เราเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” แล้ว!

ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องตระหนักรู้เรื่องสภาพอากาศอย่างแท้จริง เพราะโลกของเราเริ่มเลวร้ายลงทุกที ซึ่งจะเห็นได้จากสภาพอากาศและภัยพิบัติที่แรงขึ้นทุกวันๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุไฟป่าและน้ำท่วมรุนแรงที่เกิดขึ้นให้เราเห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ หรือสัตว์ทะเลที่เกยตื้นขึ้นมาตายที่ชายฝั่งอยู่เรื่อยมา

ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการทำให้โลกรวน อาจกล่าวได้ว่าเราจำเป็นต้อง “ลด” ในทุกด้านของกิจกรรมของมนุษย์เลยก็ว่าได้ หนึ่งในด้านที่ควรลดเป็นอันดับต้นๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “การคมนาคม” เพราะเป็นภาคส่วนที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรมมานาน ช่วงนี้เราจึงเห็นชาวโลกหลายคนออกมาเรียกร้องให้คนดังหยุดปล่อยคาร์บอนฯ ผ่านเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเหมือนสัญญาณแห่งความหวัง ซึ่งปรากฏขึ้นมาในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ นั่นก็คือ “กลยุทธ์ Multi Pathway” ที่จะมาช่วยสร้างการคมนาคมที่ยั่งยืนและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2050 ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญระดับโลก

เมื่อการเดินทางด้วยยานยนต์เป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยคาร์บอนฯ เป็นจำนวนมาก การลดการปล่อยคาร์บอนฯ จึงเป็นหนทางที่ตรงจุดที่สุด แต่ปัญหาคือเราจะลดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรเมื่อเราไม่อาจหลีกเลี่ยงการเดินทางได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนวัยทำงาน ที่ต้องขับรถยนต์ไปทำงานทุกวัน

นี่เป็นหนึ่งในความท้าทายที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่กับประชาชนทั่วไป แต่ยังเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยว่าจะปรับตัวกับเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้อย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์จึงได้มีการออกกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่อาจเป็นความหวังใหม่ในยุคโลกเดือดนี้ นั่นคือกลยุทธ์ Multi Pathway โดยโตโยต้า

Multi Pathway คืออะไร? คือการที่โตโยต้ามองว่าคาร์บอนฯ คือศัตรูที่แท้จริง จึงมุ่งมั่นในการเฟ้นหา “ทุกความเป็นไปได้” ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน ซึ่งความมุ่งมั่นนี้นำมาสู่การคิดค้นนวัตกรรมยานยนต์รูปแบบใหม่ๆ

โดยทางโตโยต้าได้มีการวิจัยพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่างๆ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน อีกทั้งยังรองรับการใช้งานพลังงานได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้คนที่ต้องเดินทางด้วยรถยนต์ โดยออกแบบมาให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มให้สามารถใช้งานได้จริง รวมทั้งยังพิจารณาถึงความเหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละพื้นที่อีกด้วย

อาจกล่าวได้ว่า Multi Pathway คือแนวทางแบบองค์รวมเพื่อความยั่งยืน กล่าวคือมีการผนวกเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน เป็นแนวทางที่ไม่ได้มีเพียงแค่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมของเราให้ก้าวไปในทิศทางที่ดีอีกด้วย

อย่างไรก็ดี Multi Pathway จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน รัฐบาล และประชาชนทุกคน ซึ่งในปัจจุบันโตโยต้าก็ได้ส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือกอื่นๆ ประกอบกับประชาชนจำนวนมากก็เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

ซึ่งจะเห็นได้จากการสำรวจของ Statista ในปี 2022 ที่เผยให้เห็นว่า 49% ของผู้บริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการขับรถมากขึ้น เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการกู้โลกรวน อีกทั้ง 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในจีนยังชี้ว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางให้เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าหลายคนกำลังมองหาโซลูชันอื่นๆ ที่จะช่วยให้โลกของเรายั่งยืน ดังนั้นแล้ว Multi Pathway จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะเข้ามาตอบรับความต้องการของ “โลก” และ “ผู้คน” เพราะเป็นการปูทางไปสู่อนาคตที่ไม่ใช่แค่ยั่งยืน แต่ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง

Advertisements

ทุกปัญหาล้วนมีทางแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป วิธีการแก้ปัญหาของคนคนหนึ่งที่ถึงแม้จะทำแล้วสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะกับอีกคนหนึ่งเสมอไป เช่นเดียวกันกับการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ที่ไม่สามารถทำได้ด้วยเพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง เพราะแต่ละชุมชนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเพิ่มทางเลือกด้วยกลยุทธ์ Multi Pathway จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้หาจุดกึ่งกลาง และเพิ่มโอกาสให้โลกของเราอยู่รอดต่อไปได้

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราขอยกตัวอย่างโครงการหนึ่งที่มีการนำเอาแนวคิด Multi Pathway มาใช้ ซึ่งก็คือ “Decarbonized Sustainable City” เป็นโครงการที่โตโยต้าคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเห็นว่า เราสามารถสร้างเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะได้ในทุกการขับเคลื่อน

ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนว่าในโลกที่เราก้าวเข้าสู่ยุคโลกเดือดเช่นนี้ โตโยต้าเชื่อว่าทุกการกระทำของเราคือพลังที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ จึงมีการจัดกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ มีแนวทาง Multi Pathway เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนทั่วประเทศ ทั้งสามสิ่งนี้เป็น Key Actions ของโตโยต้าในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ซึ่งจาก Key Actions ดังกล่าวจึงเกิดเป็น “Decarbonized Sustainable City” ขึ้นมา เป็นโครงการทดลองการเดินทางโดยระบบขับเคลื่อนยุคใหม่เพื่อลดมลภาวะในเมืองพัทยา โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน ภาครัฐ ไปจนถึงผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี เพื่อร่วมกันสร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการใช้งานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยรถที่นำมาให้บริการในโครงการนี้เป็นยานยนต์ของโตโยต้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทางเลือกต่างๆ เพื่อมอบทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน ซึ่งทางโตโยต้าเองก็มีการคำนึงถึงบริบทและปัจจัยในการเลือกใช้งานรถยนต์ของผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างรูปแบบการเดินทางที่ทางโตโยต้าจัดเตรียมไว้ให้ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวทดลองใช้งาน
[ ] การเดินทางระยะสั้นด้วยรถยนต์ Toyota C+Pod (BEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันจิ๋ว 2 ที่นั่ง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว
[ ] การเดินทางระยะกลางด้วยรถยนต์ Toyota Prius Prime (PHEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด หรือ Lexus UX300e (BEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางต่างเมือง
[ ] การเดินทางระยะไกลด้วยรถยนต์ Toyota Mirai (FCEV) เป็นรถยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง จะให้บริการในรูปแบบของรถ Airport Limousine ไว้คอยรับ-ส่งผู้โดยสารเส้นทางระหว่างสนามบินอู่ตะเภา-เมืองพัทยา หรือ สนามบินอู่ตะเภา-กรุงเทพฯ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ

ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ เนื่องจากโตโยต้าเล็งเห็นถึงความต้องการของคนในชุมชนที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือยังมีคนในพื้นที่อีกมากที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ในการเดินทาง แต่ก็ยังต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการลดการปล่อยคาร์บอนฯ ดังนั้นจึงมีรูปแบบ “การเดินทางสาธารณะ” ภายในชุมชนด้วยรถยนต์ Hilux Revo-e ซึ่งเป็นรถกระบะพลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) ให้บริการในรูปแบบ “รถสองแถว” เป็นรถไฟฟ้าคันแรกของโตโยต้าที่มีการประกอบในประเทศไทย จะทดลองให้บริการตั้งแต่ช่วงเมษายน 2567 จนถึงธันวาคม 2568 โดยทางโตโยต้าได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่สหกรณ์เดินรถพัทยาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

อีกทั้งโตโยต้ายังผนึกพันธมิตรยักษ์ใหญ่ BIG-PTT-PTT OR เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย ณ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการสร้างระบบนิเวศที่มีทั้งรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย มีโครงสร้างพื้นฐานในการเติมพลังงาน และมีพลังงานทางเลือกให้ใช้

และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่านอกจากเรื่อง Multi Pathway แล้ว โตโยต้ายังให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนภายในกระบวนการผลิตตลอดทั้งวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงการดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งการจัดทำโครงการ “Decarbonized Sustainable City” ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่าน Key Actions ทั้งสามได้เป็นอย่างดี

ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวและประชาชนในเมืองพัทยาสนใจใช้บริการรถยนต์พลังงานทางเลือกของโตโยต้ากว่า 4,500 ครั้ง รวมเป็นระยะทางกว่า 335,000 กิโลเมตร โดยโตโยต้ามีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเมืองพัทยาตลอดทั้งโครงการ จนถึงปี 2568 อยู่ที่ 4,425 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ต้องจับตาดูกันต่อไป แต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้วโครงการนี้ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี

ปัจจุบันเราก้าวข้ามยุคที่เรียกว่าโลกร้อนมาสู่ยุคโลกเดือดอย่างเต็มตัวแล้ว ดังนั้นเราจะเพิกเฉยปัญหานี้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะเป็นปัญหาที่กระทบกับทุกคน เรื่องนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แม้แต่ธุรกิจเองก็ต้องปรับตัว เช่นเดียวกับโตโยต้าที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

แม้ว่าเส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเต็มไปด้วยความท้าทาย แต่กลยุทธ์ Multi Pathway ของโตโยต้านั้นถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และชุมชน หากทุกฝ่ายร่วมมือกันได้ก็มีโอกาสที่จะเอาชนะอุปสรรคและค้นพบแนวทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไปได้

Mission To The Moon X Toyota


อ้างอิง
– Transportation emissions worldwide – statistics & facts : Statista – https://bit.ly/3JZA97I
– Share of consumers likely to walk, cycle, or use public transport instead of driving a car to limit their contribution to climate change in selected countries worldwide in 2022 : Statista – https://bit.ly/4beWFFQ

#toyota
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า