จะเป็นอย่างไร หากมนุษย์ไม่สามารถอยู่ในโลกที่เปรียบเสมือน “บ้าน” ได้อย่างปลอดภัยอีกต่อไป?
ในปัจจุบันนี้ เราจะพบเห็นข่าวสารที่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนมนุษย์เริ่มได้รับผลกระทบ โลกร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาพอากาศแย่ลง และที่น่าเจ็บปวดใจไปมากกว่านั้นก็คือ “เราอาจจะไม่สามารถปรับตัวได้ ถ้าหากยังปล่อยสถานการณ์ให้เป็นแบบนี้อีกต่อไป”
หากย้อนไปที่นิยามของโลกและบ้าน เราจะเปรียบโลกให้เสมือนกับ “บ้าน” ซึ่งเป็นที่ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่อาศัย ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข แต่ตรงกันข้าม หากโลกใบเดิมที่เคยเป็นบ้านของเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เราเริ่มรู้สึกว่าที่นี่ “ไม่ใช่ที่ปลอดภัย” แล้ว มนุษย์ในอนาคตก็คงจะมีความสุขได้ยากขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งประเด็นของการปรับตัวและช่วยกันดูแลรักษาโลกให้ดีขึ้นนั้น กลายเป็นเรื่องที่ประชากรโลก “พลาดไม่ได้” และ “ช้าไม่ได้อีกต่อไป” เพราะสุดท้ายแล้วเรามีโลกให้อยู่อาศัยเพียงแค่ใบเดียว
แต่การที่จะผลักดันให้โลกใบเดิมของเราดีขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เรื่องของประชากรโลกตัวเล็กๆ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ผู้ที่สามารถกำหนดทิศทางของโลกผ่านการเคลื่อนไหวของตัวเองได้นั้น กลับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่แม้ธุรกิจจะขับเคลื่อนเพียงแค่นิดเดียว ก็สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้กับโลกได้มากกว่าประชากรตัวเล็กๆ หลักหลายแสนคน ดังนั้น การกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนโลกให้น่าอยู่ สร้างความสุขให้กับทุกๆ คนบนโลก และสร้างความยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป จึงเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่กลุ่มบริษัท Toyota ต้องการจะผลักดันโลกใบนี้ โดยเฉพาะอย่างจากกระบวนการตลอดวงจรของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นจนสิ้นอายุการใช้งาน
กรณีศึกษา Toyota: จุดเริ่มต้นเพื่อบ้านหลังใหญ่ที่สดใสขึ้น
หากใครที่ติดตามข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ จะเห็นการเคลื่อนไหวหนึ่งของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Toyota ที่มีการนำเอา “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) ขึ้นมาเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของกลุ่มบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า 2050 “Toyota 6 Environment Challenge 2050”
เพราะอะไร? บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในไทยอย่าง Toyota จึงต้องหยิบเอาเป้าหมายของการลดคาร์บอนมาเป็นเป้าหมายใหญ่ของธุรกิจ? คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนทางสภาพภูมิอากาศคือ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ” ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจใหญ่ๆ โดยหนึ่งในนั้น คืออุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งถ้าหากดูข้อมูลของความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก จะพบว่าประเทศส่วนใหญ่มีนโยบายที่ตอบรับกับการแก้ไขสถานการณ์ของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์ขั้นวิกฤตของการเปลี่ยนผ่านจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) เข้าสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตมากขึ้น ส่วนในประเทศไทยเองก็มีการประกาศแผนในการไปถึงเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065 เพื่อขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ร่วมกับประชาคมโลก
แต่จะทำอย่างไรให้การมุ่งไปสู่เป้าหมายของ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Nuetral)” สามารถใช้ได้จริงในประเทศไทย ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเป็นทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจากทั่วโลก
Toyota ประเทศไทยจึงมีการนำเป้าหมายนี้มาใช้เช่นเดียวกันกับกลุ่มบริษัท Toyota ทั่วโลก เพื่อให้เกิดการผลักดัน “ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Nuetral)” ผ่านการดำเนินงานทุกกระบวนการของอุตสาหกรรมการผลิตของ Toyota และยังเป็นการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
Life Cycle Assessment พลังเปลี่ยนโลกจากทุกวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) เป็นหนึ่งใน Key Actions ที่ Toyota กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นการใส่ใจกับ “ทุกการกระทำ” สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดหาชิ้นส่วน กระบวนการผลิต การขนส่งและจัดจําหน่าย ไปจนถึงการกําจัดผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งานอย่างถูกวิธี
โดย Toyota เริ่มจากการให้ความสำคัญกับกระบวนการภายในบ้านของตัวเองอย่างโรงงานเป็นหลัก จากการ “กระบวนการผลิต” โดยตั้งเป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Nuetral) ในกระบวนการผลิตภายในปี 2035
Toyota จึงเดินทางเข้าสู่เป้าหมายนี้โดยพลิกกระบวนการการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Nuetral) ภายในโรงงานผ่าน 3 ขั้นตอนหลักคือ
[ ] ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการ Daily Kaizen เพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน เช่น ระบบ KARAKURI หรือระบบกลไกที่ไม่ใช้พลังงาน และใช้กลไกพื้นฐานอย่างรอก พื้นเอียง คาน สปริง เฟือง ลาน ตุ้มนํ้าหนัก และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่น กระบวนการพ่นสี ที่มีการนําลมร้อนจากความร้อนที่เหลือจากเตาเผา (RTO) กลับมาใช้ และการลดการใช้ทินเนอร์ในการพ่นสีรถยนต์ ด้วยการใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย (Water-borne Paint) แทน
จุดที่น่าสนใจคือระบบ KARAKURI ที่เน้นใช้กลไกที่ไม่ใช้พลังงานนั้น ทำให้ Toyota ค้นพบข้อดีต่ออุตสาหกรรม รวมถึงกระบวนการทำงานของพนักงานมากมาย อย่างแรกคือเมื่อมีการใช้กลไกอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานทุกคนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดปัญหา ต่อมาคือการใช้พลังงานน้อยลง ทำให้ต้นทุนการผลิตใช้งบประมาณที่น้อยและมีส่วนประกอบน้อย ที่สำคัญคือ Toyota สามารถปรับปรุงในด้านความปลอดภัย และคุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
[ ] ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้ Sustainable Technology เพื่อลดการใช้พลังงานลง โดยนำอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้พลังงานตํ่ามาใช้ เช่น อุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย Servo อย่าง Robot และ Servo Spot Welder ที่ช่วยลดการใช้พลังงานและสะเก็ดไฟ, Friction Dolly ระบบลำเลียงชิ้นส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับการผลิตโดยใช้พลังงานตามความเหมาะสม
[ ] ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้ Green Energy (Renewable Energy) หรือการใช้พลังงานสีเขียว โดยติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในรูปแบบโซลาร์รูฟ (Solar Roof) และโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสําหรับใช้ภายในสายการผลิตของโรงงานโตโยต้าทั้ง 3 แห่ง
เมื่อเกิดการทำ Life Cycle Assessment แล้ว Toyota ก็ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างแรกคือเมื่อสายงานผลิตของโรงงาน Toyota บ้านโพธิ์ มีการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ทำให้ในปี 2023 สายการผลิตของ Toyota มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ถึง 21% จากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด
ทำให้จากการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดภายในกระบวนการผลิตของโรงงาน Toyota บ้านโพธิ์ ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2023 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 125,692 ตัน สามารถลดจากปี 2013 (10 ปีที่ผ่านมา) ไปได้ถึง 66,586 ตัน คิดเป็น 34.6% หรือลดการปล่อยก๊าซนี้ได้ถึง 1 ใน 3 ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดได้เลยทีเดียว
ความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เพื่อโลกที่ค่อยๆ สดใส
นอกจากกระบวนการปรับเปลี่ยนการผลิตภายในบ้านแล้ว Toyota ยังมีการร่วมมือกับเพื่อนบ้านที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่มีส่วนร่วมผ่านการขนส่งและจัดจําหน่าย ตลอดจนถึงการกําจัดผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน
ตัวอย่างหนึ่งของการร่วมมือกับเพื่อนบ้านเพื่อโลกคือ การร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้ง 239 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำหลัก “Green Purchasing” หรือการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว สำหรับการสนับสนุนการจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการร่วมมือกับผู้ให้บริการขนส่งทั่วประเทศ เพื่อจัดเส้นทางขนส่ง (Route Optimization) และเพิ่มจำนวนการขนส่ง (Load Efficiency) ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ของ Toyota ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
นอกจากการร่วมมือด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และผู้ให้บริการขนส่งแล้ว Toyota ยังมีการดำเนินการร่วมมือกับผู้แทนจำหน่าย ในเรื่องการมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโชว์รูมและศูนย์บริการ 455 แห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
หรือแม้แต่การกำจัดผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน ก็ต้องดำเนินไปอย่างถูกวิธีเช่นกัน โดย Toyota ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการริเริ่มโครงการและนำกระบวนการ 3R (Rebuilt, Reuse และ Recycle) มาใช้งาน อย่างเช่น “การบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดใช้แล้วแบบครบวงจร” ที่นำแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฮบริดใช้แล้ว มาเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ 3R ต่อไป
ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากการดำเนินงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน ทำให้แนวโน้มในการปล่อยคาร์บอนของ Toyota ลดลงเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามการดูแลโลกนั้นเป็นเป้าหมายในระยะยาว ไม่ใช่เป้าหมายระยะสั้น Toyota จึงยืนยันที่จะดำเนินการเพื่อช่วยให้โลกของเราดีขึ้น สามารถอยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข และเป็นบ้านที่ปลอดภัยสำหรับทุกๆ คน
ทั้งหมดนี้ก็คือตัวอย่างของการพลิกฟื้นโลกทั้งใบให้สดใสขึ้นมาด้วยพลังของยักษ์ใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง Toyota ที่ถ้าหากลองศึกษาดูแล้วจะพบว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกมากมายเลยทีเดียวและ Mission To The Moon ก็จะยังคงพาผู้อ่านไปทำความรู้จัก ศึกษาวิธีคิด วิธีปฏิบัติของธุรกิจนี้ไปพร้อมๆ กันในบทความหน้า ใครที่สนใจก็สามารถติดตามเนื้อหาสุดเอ็กคลูซีฟนี้จาก Mission To The Moon ได้ต่อไป
Mission To The Moon x Toyota