PSYCHOLOGYworklifeเรียนรู้การปฏิเสธ เพราะเคล็ดลับการทำงานให้เสร็จเร็วที่สุดคือการ “ไม่ทำ”

เรียนรู้การปฏิเสธ เพราะเคล็ดลับการทำงานให้เสร็จเร็วที่สุดคือการ “ไม่ทำ”

เคยตอบ “ได้ค่ะ/ได้ครับ” ทั้งๆ ที่ในใจไม่ได้อยากทำงานนั้นไหม?

เชื่อว่าในช่วงที่ก้าวเข้าสู่โลกการทำงานปีแรกๆ หลายคนคงเคยเป็นคนที่ไม่รู้จักการปฏิเสธ และตอบตกลงทุกงานแม้ว่างานนั้นจะไม่ใช่หน้าที่ของเรา

ไม่ว่าเราจะตอบตกลงเพราะอยากแสดงความกระตือรือร้น หาโอกาสในการพัฒนาตัวเอง หรือเพราะเกรงใจหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานก็ตาม คำว่า “ทำได้” ย้อนกลับมาทำร้ายเราเสียเกือบทุกครั้ง

จากงานที่มีจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นงานงอกเต็มไปหมด จนเราต้องอดหลับอดนอนเพื่อทำทั้งงานเดิมและงานใหม่ที่รับมาให้เสร็จ และอย่าพูดถึงเรื่องคุณภาพงานเลย บางครั้งแค่ทำให้เสร็จตรงเวลาก็ยากพอแล้ว

สำหรับคนที่เผชิญสถานการณ์เช่นนี้อยู่ รู้ไหมว่ามี “เคล็ดลับ” ในการทำงานทั้งหมดนี้ให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าเดิม?

เคล็บลับที่ว่า คือ “การปฏิเสธ” นั่นเอง

เข้าใจคำว่า “ไม่” กันใหม่

เจมส์ เคลียร์ ผู้เขียนหนังสือชื่อดังเรื่อง Atomic Habits บอกว่า แม้ความหมายของคำว่า “Yes” กับ “No” เหมือนจะตรงตัวและตรงข้ามกันชัดเจน แต่จริงๆ แล้วคำว่า “Yes” (ตกลง) มีความหมายมากกว่าการรับงานตรงหน้า และคำว่า “No” (ไม่ตกลง) นั้นก็มีความหมายมากกว่าการปฏิเสธงานตรงหน้า

เมื่อเราตอบว่า “Yes” เท่ากับว่าเราตกลงรับผิดชอบงานนั้นๆ พร้อมกับงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันที่อาจจะตามมา และยังเท่ากับว่าเราปฏิเสธ “เวลา” ในการทำงานอื่นๆ ไปด้วย!

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราตกลงเป็นสตาฟในงานอีเวนต์ของบริษัท เราอาจคิดว่าเราคงใช้เวลากับงานนี้เพียง 8 ชั่วโมงในวันงานจริงเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเราลืมไปว่า เรายังต้องเสียชั่วโมงในการเข้าประชุมตั้งแต่การ Kick-Off โปรเจกต์ การประชุมหลายต่อหลายครั้ง ไปจนถึงการบรีฟครั้งสุดท้ายก่อนวันงานจริง

แถมชั่วโมงที่ใช้ไปเหล่านี้ยังเบียดเบียนเวลาทำงานหลักของเรา จนเรามีเวลาทำงานน้อยลงอีกด้วย ทิม ฮาร์ฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียน เคยกล่าวไว้ว่า “ทุกๆ ครั้งที่เราตอบตกลงคำขอ เรากำลังปฏิเสธสิ่งอื่นๆ ที่เราอาจทำให้เสร็จในช่วงเวลานั้น”

ในทางตรงกันข้าม การปฏิเสธไม่ใช่เพียงแค่การไม่รับงานตรงหน้า แต่ยังหมายความว่าเราได้รักษาเวลาอันล้ำค่าไว้สำหรับความรับผิดชอบอื่นๆ และโอกาสดีๆ อื่นๆ ด้วย

ฝึกปฏิเสธเริ่มต้นอย่างไร

เปโดร โซเรนติโน นักลงทุน เคยกล่าวไว้ว่า “If you don’t guard your time, people will steal it from you.” (หากเราไม่ปกป้องเวลาของเรา คนอื่นจะมาขโมยจากเราไป)

จริงที่เวลานั้นมีค่าราวกับสกุลเงินในโลกการทำงาน แต่ก็ต้องยอมรับว่าการปฏิเสธนั้นเป็นเรื่องยากกว่าสำหรับพนักงานตัวเล็กๆ ที่พึ่งเริ่มทำงาน และง่ายกว่าสำหรับพนักงานที่มีอำนาจและตำแหน่งสูง อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธเป็นทักษะที่พนักงานทุกคนควรฝึกไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

แต่จะเริ่มอย่างไร? ในบทความ The Ultimate Productitivity Hack is Saying No ของเจมส์ เคลียร์ ได้แนะนำวิธีการปฏิเสธฉบับ ทิม ฮาร์ฟอร์ด ซึ่งก็คือ เมื่อเราได้รับคำขอให้ทำงานบางอย่าง ให้ถามตัวเองว่า..

“ถ้าต้องทำสิ่งนั้นในวันนี้เลย ยังจะตกลงอยู่ไหม”

ถ้ายังรู้สึกกระตือรือร้นกับโอกาสนี้จนถึงขนาดอยากหยุดงานที่ทำอยู่มาเพื่อทำงานนี้ เท่ากับว่ามันอาจคุ้มค่าในการตอบตกลง แต่ถ้าไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น อาจต้องมาพิจารณากันอีกทีว่า เรามีเวลาพอในการทำงานนี้โดยไม่กระทบงานอื่นหรือเปล่า

นอกจากนั้นแล้ว บทความ 3 Ways to Say “No” to Your Boss จาก Harvard Business Review ยังได้แนะนำอีก 3 เคล็ดลับในการรู้จักการปฏิเสธ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Advertisements

1) อย่าตอบตกลงทันที

เมื่อได้รับคำขอ เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องไม่ตกลงทันทีและใช้เวลาคิดอย่างน้อยหนึ่งวัน โดยให้ถามตัวเองว่า
[ ] โอกาสในการทำงานนี้จะให้อะไรเราบ้าง
[ ] จะช่วยพัฒนาทักษะที่เราต้องการไหม
[ ] เป็นโอกาสสำคัญให้เราเรียนรู้ในเรื่องที่ต้องการหรือเปล่า
[ ] เรามีเวลาพอในการทำงานนี้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่องานอื่นและสุขภาพของเราไหม

Advertisements

2) หากต้องปฏิเสธ ให้บอกเหตุผลด้วย

การพูดว่า “ไม่ได้/ไม่สะดวก” เฉยๆ อาจฟังดูมะนาวไม่มีน้ำไปสักหน่อย เราอาจต้องใส่เหตุผลเพิ่มด้วย เช่น มันอาจกระทบกับงานอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับเรามากกว่า เป็นต้น

3) ต่อรองด้วยข้อมูล

หากเรารู้สึกว่าเหตุผลที่ให้ไปอาจไม่พอ ลองสมมุติว่าตัวเองรับงานนั้นมาทำและวางทามไลน์ดู ก่อนจะนำทามไลน์ไปเสนอให้หัวหน้าดูอย่างเห็นภาพว่า ความรับผิดชอบในตอนนี้ของเรามีอะไรบ้าง และการรับงานเพิ่มเข้ามานั้นจะส่งผลกระทบต่อทามไลน์อย่างไรบ้าง

หรือถ้าหากเรายังรู้สึกอยากทำอยู่บ้าง แต่แค่ไม่มีเวลาว่าง เราอาจให้หัวหน้าดูทามไลน์และลองถามดูว่า หากเราอยากตอบตกลงและทำงานนี้ให้ออกมาดีจริงๆ พอจะเลื่อนหรือขยับงานอื่นออกไปได้ไหม เพื่อที่เราจะได้ทำงานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

จริงที่การตอบตกลงนั้นอาจช่วยให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนขยัน กระตือรือร้น หรือชอบเรียนรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในการประเมินการทำงาน อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า “การปฎิเสธ” ก็เป็นทักษะสำคัญที่จะพาเราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ เพราะมันช่วยรักษาสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานของเรา

ซึ่งก็คือ “เวลาอันมีค่า” นั่นเอง


อ้างอิง
3 Ways to Say “No” to Your Boss http://bit.ly/3JAeEKn
The Ultimate Productitivity Hack is Saying No http://bit.ly/3mUfB8j

#worklife
#softskill
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า