อย่าทำเยอะเกินไป

5997
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้น ๆ
  • Google มีกระบวนการที่เข้มข้นมากๆ ในการคัดเลือกที่จะเพิ่มฟีเจอร์ใดๆ เพราะการเลือกที่จะไม่เพิ่มฟีเจอร์ก็ถือเป็นการ ตัดสินใจที่สำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน
  • ในการดำเนินชีวิตของเราเองก็เช่นกัน เราควรที่จะเลือกทำเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลกับเป้าหมายของเรา ณ ขณะนั้น
  • การทำเป้าหมายหรือความฝันให้สำเร็จ ไม่ใช่แค่การเลือกที่จะลงมือทำ แต่การเลือกที่จะไม่ทำนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน

เราอาจจะเคยใช้แอปพลิเคชั่น หรือ อุปกรณ์ (Device) บางอย่าง ที่บางทีเราก็สงสัยเหลือเกินว่าทำไมผู้พัฒนาหรือผู้ผลิตไม่ยอมเพิ่มฟังก์ชั่นนี้ (ที่เราต้องการ) เข้ามาให้สักทีนะ ทั้งที่เป็นฟังก์ชั่นที่ง่ายๆ และเล็กน้อยมาก

ขอยกตัวอย่างสิ่งที่เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง Google ซึ่งเป็นระบบ Search Engine ที่เรียบง่ายมากคือมีแค่ช่องเดียวไว้ให้ใส่ข้อมูลเพื่อค้นหา (มีฟังก์ชั่นอื่นๆ ซ่อนไว้บ้างนิดหน่อย)

อย่าง Dark Mode (โหมดที่สีดำที่ช่วยประหยัดแบตและช่วยถนอมสายตาเราเล็กน้อยเมื่อใช้ตอนกลางคืน) ที่ผมรอมาเนิ่นนานทาง Google ก็เพิ่งจะมาเริ่มพัฒนาให้กับแต่ละแพลตฟอร์ม (Platform) เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เพราะแต่ก่อน Google มุ่งเน้นการพัฒนาไปที่โทนสีขาวเป็นหลัก

แต่จริงๆ แล้วภายใต้ความเรียบง่ายนั้นมีกระบวนการคัดเลือกที่เข้มข้นมากๆ ในการที่จะเพิ่มหรือคัดเลือกสิ่งที่จะใส่เข้าไปในหน้าเว็บ ส่วนใหญ่หากมีฟีเจอร์ (Feature) ใหม่ๆ ที่น่าสนใจเขาจะไปลองทดสอบใน Advanced Search Google ดูก่อน (https://www.google.com/advanced_search)

Advertisements

แต่ไม่ว่าจะฟีเจอร์นั้นจะน่าสนใจมากแค่ไหน Google ก็ยังคงใช้กระบวนการที่เข้มข้นมากๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำอะไรที่เยอะเกินไป (โฟกัส)

ซึ่งเราอาจจะพอแยกวิธีคิดของเรื่องนี้ออกมาได้เป็น

  1. มีการวางแผนที่ดี
  2. มีระบบที่ดี
  3. มีความสามารถในการบอกว่าไม่ (การปฏิเสธในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องไม่รับฟัง Feedback หรือข้อเสนอแนะ)

และเราเองก็สามารถนำวิธีคิดเหล่านี้มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของเราได้เช่นกัน

The Dilution Effect

The Dilution Effect (ขอแปลเป็นไทยว่า ผลกระทบจากความเจือจางล่ะกันครับ) เป็น วิธีคิดรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่บอกว่า ถ้าเรามีของเยอะขึ้น มีตัวเลือกเยอะขึ้น เราจะต้องมีชีวิตที่มีความสุขมากแน่ๆ เลย แต่ในความจริงบางทีมันกลับไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะเมื่อเรามีของเยอะขึ้น มีตัวเลือกเยอะขึ้น มันกลับทำให้ตัวเราต้องตกอยู่ในกระบวนการของการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา

กลับกลายเป็นว่าเราถูกทำให้ไขว้เขว (distraction) ไปจากสิ่งสำคัญที่เป็นจุดประสงค์หลัก (objective) ของเป้าหมายที่เราต้องจริงๆ

Advertisements

มี 2 คำถามที่เราควรถาม เมื่อต้องตัดสินใจเลือกว่าอะไรที่ควรเก็บไว้เพื่อทำต่อ และอะไรเป็นสิ่งที่จะต้องตัดออกหรือต้องปฏิเสธ

  1. อะไรคือเป้าหมายของเราจริงๆ ใน ณ เวลานี้
  2. มีอะไรบ้างที่เราต้องทำ เพื่อทำให้เป้าหมายที่เราต้องการนั้นสำเร็จ

สมมุติว่า เรามีความฝันที่อยากจะเป็นนักร้อง แน่นอนเราต้องซ้อมร้องเพลง เรียนร้องเพลง เวลาว่างก็ไปออกกำลังกาย กินอาหารที่ดี ซึ่งมันอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับสิ่งที่เราต้องการที่จะทำ เพราะการซ้อมร้องเพลง ร่างกายก็ต้องแข็งแรง ต้องมีพลังเสียงที่ดี การออกกำลังกายและกินอาหารที่ดีก็ต้องช่วยเรื่องนี้อยู่แล้ว

แต่ถ้าเกิดเราอยากเป็นนักร้องด้วย อยากเป็นนักภาพวาดด้วย อยากเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์ด้วย เวลาของเราก็จะถูกแบ่งไปให้กับหลายๆ เรื่อง ซึ่งอาจจะทำให้เราตกอยู่ใน The Dilution Effect ได้

เรื่องนี้ฟังดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไร ก็แค่ทำให้น้อยลงและโฟกัสให้มากขึ้นเท่านั้นเองใช่ไหม ใช่ครับมันมีเท่านั้นจริงๆ

แต่ถ้าเราสังเกตตัวเราหรือคนรอบข้าง หลายครั้งเวลามีเป้าหมายที่จะทำอะไรสักอย่างที่จริงจัง แต่เรากลับเลือกที่จะเพิ่มหรือไม่ปฏิเสธองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องกันกับเป้าหมายนั้นเข้ามาในการกระทำของเรา จนในที่สุดมันก็ทำให้เราไขว้เขว้ไปจากสิ่งที่เราต้องการที่จะทำ

การทำเป้าหมายหรือความฝันให้สำเร็จ จึงไม่ใช่แค่การเลือกที่จะลงมือทำ แต่การเลือกที่จะไม่ทำนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน

ข้อแตกต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จ กับ คนที่ประสบความสำเร็จจริงๆ คือ คนที่ประสบความสำเร็จจริงๆ พูดคำว่า “ไม่” เกือบแทบจะกับทุกสิ่ง<span class="su-quote-cite">วอร์เรน บัฟเฟตต์</span>

Source : https://medium.com/@melissachu/to-get-more-out-of-life-choose-to-do-less-eba77c42cb6c

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่