สร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สอดรับกับความยั่งยืน

1982

MISSION TO THE MOON X HP Managed Print Services

เป็นที่รู้กันดีว่า โจทย์ของการทำธุรกิจมี Requirement ที่หลากหลาย แต่เมื่อพูดถึง ความยั่งยืน (Sustainability) สิ่งที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงเป็นหลักนอกเหนือจากเรื่องของกำไร คือ ประเด็นเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อ “สังคม” และ “สิ่งแวดล้อม”

โดยต้องสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือเอื้อประโยชน์แก่ส่วนรวม ผ่านการวางกลยุทธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้

Advertisements

หากองค์กรล้มเหลวในความรับผิดชอบนี้ ก็อาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม รวมไปถึงความขัดแย้งกับคนในพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรไปในทางที่ไม่ดี

ฉะนั้นหนึ่งในโจทย์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีให้หลัง คือเรื่องของการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไรให้ Sustainable ทำให้เราต้องหาวิธีการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สอดรับกับความยั่งยืน

จากบทความของ Harvard Business School Online เรื่อง WHAT DOES “SUSTAINABILITY” MEAN IN BUSINESS? ได้เสนอวิธีการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ดังนี้

1. ประเมินปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์

การจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนแรก จะต้องประเมินว่า “ความยั่งยืน” มีความหมายต่อทีม บริษัท อุตสาหกรรม รวมไปถึงลูกค้าของเราอย่างไร โดยให้พิจารณาปัญหาที่แต่ละกลุ่มเห็นว่ามีความสำคัญ ผ่านการตั้งคำถาม เช่น องค์กรสร้างขยะมากแค่ไหน? ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือใครบางกลุ่มหรือไม่? บริษัทของเรามีผลกระทบหรือบริบทต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างไร? แล้วมาคิดต่อว่า ภายใต้บริบทของความยั่งยืน องค์กรตอบคำถามประเภทนี้ว่าอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ต่อไป

2. สร้างพันธกิจขององค์กร

พันธกิจจะช่วยเน้นในเรื่องของ “การลงมือทำ” ให้เกิดขึ้นจริง โดยคำแถลงพันธกิจควรสอดคล้องกับหลัก 5Ws คือ who, what, when, where และ why ซึ่งจะช่วยชี้แนะได้ว่าเหตุใดเราถึงลงมือทำสิ่งนั้น

ธุรกิจที่มีพันธกิจชัดเจน เช่น Patagonia แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาเอาต์ดอร์ กับพันธกิจที่ว่า

“สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายโดยไม่จำเป็น ใช้ธุรกิจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม”

ซึ่งนอกจากจะชี้ให้เห็นว่า “ธุรกิจกำลังให้คุณค่ากับอะไร” ยังสามารถบอกได้ว่า “ต้องดำเนินการอย่างไรกับค่านิยมเหล่านั้น” ผ่านแคมเปญต่างๆ เช่น The Footprint Chronicles แคมเปญที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าไปติดตามดูข้อมูลตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขนส่งสินค้าของบริษัท ว่ามีการทิ้งร่องรอยหรือปล่อยของเสียต่อสิ่งแวดล้อมไปแค่ไหน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจอย่างชัดเจน

3. สร้างกลยุทธ์ของตัวเอง

ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าองค์กรนั้นยังคง “ทำกำไร” เพราะกำไรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้ และสามารถต่อยอด พัฒนาเป็นกลยุทธ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันตามพันธกิจของแต่ละองค์กร

เมื่อก่อน เราอาจจะคุ้นชินกับการทุ่มเงินทำกิจกรรม Corporate Social Responsibility (CSR) เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อันสวยหรูถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร

แต่ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว ชนิดที่ว่า หากมีเรื่องใดที่สังคมรู้สึกเคลือบแคลงใจ ก็อาจถูกขุดคุ้ยจนแทบไม่มีชิ้นดี แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

Advertisements

ดังนั้น “ความจริงใจ” ที่จะดำเนินธุรกิจไปพร้อมๆ กับกลยุทธ์ในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงนับเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชุมชน สังคม หรือแม้แต่คนในองค์กรเอง

หากไม่รู้จะไปในทิศทางไหนอาจเริ่มจาก เรื่องง่ายๆ ภายในองค์กรก่อน แล้วค่อยขยายเป็นกลยุทธ์ที่ใหญ่ขึ้นตามศักยภาพ เช่น โดยทั่วไป บริษัทมักจะเปิดไฟไว้ด้วยเหตุผลที่ว่าเดี๋ยวก็มีคนมาใช้ต่อ ลองนึกดูว่าจะประหยัดพลังงานได้มากแค่ไหน หากคนที่เดินออกจากห้องเป็นคนสุดท้ายปิดไฟทุกครั้ง

นิสัยเล็กๆ ที่สามารถต่อยอดไปในเรื่องอื่นได้นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกลยุทธิ์ที่นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพภายในองค์กรแล้ว ยังสามารถขับเคลื่อนคุณค่าทางสังคมไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้อีกด้วย

4. ผลลัพธ์

เป็นเรื่องของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะถูกพูดถึงและเป็นจูงใจให้ทำสิ่งที่ดีต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมทบทวนผลของการทำงานเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ ภารกิจ และความคืบหน้าของธุรกิจยังคงสอดคล้องกันอยู่

ผูกทั้งหมดเข้าด้วยกัน 4 ขั้นตอนนี้ ตั้งแต่วัตถุประสงค์ไปจนถึงผลลัพธ์ จะเป็นการสร้างธุรกิจที่ทั้งประสิทธิภาพ และยั่งยืน

เมื่อวัตถุประสงค์กลายเป็นจุดมุ่งหมาย เรื่องราวที่ทรงพลังจะถูกสร้างขึ้น ภายใต้แผนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยผลักดันผลลัพธ์ ทำให้คุณเป็นผู้ขับเคลื่อนอย่างแท้จริง แม้ผลลัพธ์อาจไม่แสดงให้เห็นในทันที แต่เชื่อเถอะว่าหนทางสู่ความยั่งยืนที่แสนยาวนานนั้น สุดท้ายจะสร้างอิมแพคให้ส่วนรวม และนั่นคือประโยชน์สูงสุด ที่ไม่ใช่เฉพาะเพียงองค์กร แต่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย

HP ใส่ใจความยั่งยืน

HP Planet Partners เป็นหนึ่งในแคมเปญที่แสดงให้เห็นถึงการใส่ใจความยั่งยืน โดย HP ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2000 ด้วยการให้ชาวบ้านที่ประเทศเฮติรวบรวมนำขวดพลาสติกที่ไม่ได้ใช้แล้วมาขายให้กับตน เพื่อนำกลับมาหลอมเป็นตลับหมึกใช้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งนอกจากจะลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้มาดูแลครอบครัวด้วย และยังทำให้เกิดการบอกต่อจนกลายเป็นการลดขยะและลดมลภาวะให้กับประเทศได้

โครงการ HP Planet Partners สามารถผลิตตลับหมึกได้มากกว่า 3,000 ล้านชิ้น จากการใช้พลาสติกรีไซเคิลกว่า 199 ล้านปอนด์ หรือราว 90 ล้านกิโลกรัม อีกทั้งยังช่วยลดขยะขวดพลาสติกกว่า 1 ล้านขวดต่อวัน ซึ่งเป็นการลดปริมาณพลาสติกที่ต้องขนส่งด้วยแทรกเตอร์-เทรลเลอร์ได้กว่า 5,000 คัน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนขยะที่ต้องเผาหรือทิ้งลงมหาสมุทรได้อย่างมหาศาล

อีกทั้งผู้บริโภคยังสามารถส่งคืนตลับหมึกของ HP ไปยัง HP Planet Partners เพื่อรีไซเคิลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโลกด้วย

และสิ่งที่ผู้บริโภคไม่สนไม่ได้เลย คือ การพัฒนาเทคโนโลยี PageWide ที่นอกจากจะทำให้ PageWide MFP สามารถพิมพ์งานได้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังพัฒนาหมึกพิมพ์แบบ Pigment Base ซึ่งทำให้งานพิมพ์ที่ออกมาสามารถกันน้ำ แถมยังไร้กลิ่น ไร้ฝุ่น จึงไม่สร้างมลภาวะ รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานลงกว่าแบบปกติเกือบ 50% ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟให้กับเราหรือองค์กรได้

เรียกได้ว่า HP ทำอย่างครบวงจร ผ่านกระบวนการคิดและบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ และทำให้เห็นว่า sizing ของการทำงานไม่ใช้แค่โปรเจคที่ทำมาแล้วจบไป แต่มันสามารถสร้างอิมแพคต่อสังคมและสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมได้จริง

อ้างอิงจาก: https://online.hbs.edu/blog/post/what-is-sustainability-in-business

Advertisements