เมื่อความยั่งยืนคือ “อนาคต” ของธุรกิจ

9145

มาวันนี้เรื่องของ “Sustainability” หรือ “ความยั่งยืน” ได้กลายเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ไปแล้ว เรียกว่าไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันเลยก็ว่าได้

เพราะถ้าหากธุรกิจหรือผู้ประกอบการใดๆ ที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของความยั่งยืนก็อาจส่งผลเสียในระยะยาวต่อสังคมส่วนรวมและตัวธุรกิจเอง ส่งผลให้เกิดการผลักดันให้ภาคธุรกิจมุ่งหน้าสู่ความยั่งยืนกันมากขึ้น

และในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ “Sustainability in Business” กันครับ ว่ามีวิธีคิดอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจในรูปแบบไหนได้บ้าง

Advertisements

ธุรกิจแห่งความยั่งยืน

เมื่อขึ้นชื่อว่า “ความยั่งยืน” แล้ว สิ่งที่ธุรกิจต่างๆ ต้องคำนึงถึงเป็นหลัก คือเรื่องเกี่ยวกับประเด็นทาง “สังคม” และ “สิ่งแวดล้อม” ที่ตัวผู้ประกอบการเองต้องเอื้อประโยชน์แก่ส่วนรวม และวางกลยุทธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาความยั่งยืน

จนท้ายที่สุด สิ่งที่สร้างไว้ให้แก่สังคมจะกลับมาทำให้ตัวธุรกิจเองได้รับประโยชน์เช่นกันในระยะยาว อาทิ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การลดปริมาณการผลิตและปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงานมาผสานกับกระบวนการผลิตเดิมที่มีอยู่

ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจมีความ Sustainability ได้ ต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป แบ่งเป็น 4 ข้อ ประกอบด้วย

1. Enterprise Integration หรือ ผสานองค์กรกับความยั่งยืน
2. Market Transformation หรือ ปรับกลยุทธ์การตลาดกับความยั่งยืน
3. Systemic Corporate Strategies หรือ การจัดระบบความยั่งยืนแบบสมบูรณ์
4. Invest Sustainable Innovation หรือ การลงทุนกับนวัตกรรมอย่างยั่นยืน โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

Enterprise Integration | ผสานองค์กรกับความยั่งยืน

ในส่วนแรกของการทำ Business Sustainability ธุรกิจต้องมองควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด และด้วยกระแสการเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอด 3-4 ปีหลัง ที่ต้องการให้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผสานแนวคิด Sustainability ลงไปในระดับ Macro Scale เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

จุดนี้เองที่ธุรกิจสามารถมองหาโอกาสและสอดแทรกตัวเองลงไปเป็นหมากตัวหนึ่ง  ที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืน และเป็นกระบอกเสียงให้สังคมในการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรต้องผสานหลักคิด ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี

ตัวอย่างการทำ Enterprise Integration เช่น ธุรกิจประกันภัยทำการผสานองค์กรเข้ากับความยั่งยืน หัวข้อการรักษาสิ่งแวดล้อมจะถูกจัดเป็นหนึ่งในการ Management Checklist ในโมเดลธุรกิจ หรือ ธุรกิจซัพพลายเออร์ หากต้องการผสานองค์กรกับความยั่งยืน โมเดลการทำระบบโลจิสติกส์ต้องถูกปรับเปลี่ยน เพื่อให้ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

ปกIPRC 695x345 1
Market Transformation | ปรับกลยุทธ์การตลาดกับความยั่งยืน

ปัจจุบันกลยุทธ์การตลาดกับความยั่งยืนกำลังเป็นกระแสหลักของโลก เพราะผลกระทบที่มนุษย์ได้ทำไว้กับธรรมชาติส่งผลออกมาเป็นรูปธรรม ทั้งอากาศหายใจที่มีมลพิษสูง ภาวะภูมิอากาศแปรปรวน หากเราไม่เร่งมือปรับกลยุทธ์แก้ไข ธุรกิจอาจโดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบได้ในไม่ช้า

อย่างไรก็ดี กลยุทธ์การตลาดแบบเดิมถูกออกแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมมนุษย์และตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งเราต้องมาพิจารณากันใหม่ เพราะกลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทุกอย่างจะไม่ได้ถูกกำหนดโดยความต้องการลูกค้าเพียงอย่างเดียว

Advertisements

ธุรกิจต่างๆ ต้องมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่เคยใช้ทรัพยากรอย่างไร้ขีดจำกัด และการจัดการของเสียที่ถูกวิธี ไม่กระทบต่อส่วนรวม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น Common Mindset ของการสร้างความยั่งยืนอยู่แล้ว

แต่ยังมีความเข้าใจผิดอยู่เกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนในธุรกิจ เช่น หากกลุ่มธุรกิจพลังงาน มีการจัดทำฟาร์มกังหันลม และเรียกตัวเองว่าเป็น Sustainability Business มันอาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะการปรับเปลี่ยนให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน เราต้องย้อนไปดูตั้งแต่กลยุทธ์การเริ่มจัดหา Resource ว่าได้แหล่งพลังงานมาจากไหน? มีผลกระทบกับใครบ้าง? และถูกต้องตามหลักการทำ CSR ที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่? ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องถูกเปิดเผยอย่างโปร่งใสให้สังคมส่วนรวมสามารถตรวจสอบตามข้อกำหนดกฎหมายได้ ถึงจะสามารถเรียกสิ่งนี้ว่า Sustainability Business ได้

Systemic Corporate Strategies | จัดระบบความยั่งยืนแบบสมบูรณ์

เมื่อธุรกิจได้เริ่มวางกลยุทธ์ หรือ โมเดลธุรกิจที่สอดคล้องกับความยั่งยืนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือการลงรายละเอียดลงไปในแผนงานที่ธุรกิจต้องวางระบบให้ได้จนครบ Business Ecosystems ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ระบบ ได้แก่ 1. การดำเนินงาน 2. พาร์ทเนอร์ 3. การมีส่วนร่วมของภาครัฐ และ 4. การตรวจสอบความโปร่งใส ดังนี้

การดำเนินงาน: เมื่อทำการ Market Transformation ระบบ Logistics Supply-Chain จะถูกปรับตาม เพื่อลดปัญหาการกระทบต่อทรัพยากรในปัจจุบันและอนาคต สร้างความยืดหยุ่นในภาคธุรกิจและสังคม ควบคุมต้นทุนของปัจจัยการผลิต การจัดหาทรัพยากร และการกระจายความรู้ในองค์กรให้มี Mindset เรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน

พาร์ทเนอร์: นอกเหนือจากการดำเนินงานของ Internal ภายในองค์กร บริษัทยังต้องหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่มีมุมมองด้านความยั่งยืนตรงกัน และพร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไปด้วยกัน โดยไม่แสวงหาผลกำไรเป็นที่ตั้ง

การมีส่วนร่วมของภาครัฐ: การสร้างหรือปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ สร้างข้อตกลงร่วมกัน วาง Framework ให้กลุ่มธุรกิจภาคเอกชน ช่วยเหลือในเชิงข้อกำหนด หรือนโยบาย ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

การตรวจสอบความโปร่งใส: การเปิดเผยข้อมูลอย่างซื่อตรง โปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้าง Brand Awareness ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ มีความเชื่อใจว่าธุรกิจที่กำลังทำเพื่อสังคมส่วนรวมจริงๆ และเป็นผลดีในอนาคตอย่างแน่นอน

IRPC3 695x345 1
Invest Sustainable Innovation | การลงทุนกับนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

เมื่อการผสานความยั่งยืน กลายเป็น “อนาคต” ในการทำธุรกิจที่ไม่อาจมองข้ามได้ ทำให้เหล่าธุรกิจต้องเกิดการ Transformation ให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้จากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อาทิ การลงทุนกับนวัตกรรมที่ออกแบบมาช่วยสิ่งแวดล้อม

อย่างในบ้านเราเอง ก็มีบริษัทอย่าง IRPC ที่พัฒนาเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพลังงานสะอาด โดยบริษัทฯ ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมเม็ดพลาสติกสำหรับทุ่นโซลาร์ลอยน้ำด้วยเม็ดพลาสติก​ HDPE เกรดพิเศษ (โพลีเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง) สีเทา มีคุณสมบัติสามารถช่วยลดอุณหภูมิใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 5-8 องศา ส่งผลให้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูง มีความแข็งแรงทนทาน และรับประกันอายุการใช้งานของวัสดุยาวนานถึง 25 ปี สามารถนำไปรีไซเคิลได้ รวมทั้งปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการทดสอบ Food Grade ขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา  (US FDA) ปัจจุบันสวนโซลาร์ลอยน้ำ IRPC มีกำลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 12.5 เมกะวัตต์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และยังสามารถเป็นพื้นที่รับน้ำ หรือ “แก้มลิง” ช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองการเติบโตของธุรกิจพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน

นวัตกรรมทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ เมื่อนำมาประกอบและติดตั้งควบคู่กับแผงโซลาร์เซลล์ จะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง 10,510 ตันต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกป่าราว 10,000 ต้นต่อปี ถือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจที่ต้องการทำ Enterprise Integration

“ความยั่งยืนไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง แต่เป็นเรื่องของวิธีคิด วิถีชีวิต และหลักการที่เราต้องร่วมกันสร้างมันขึ้นมา”

Glulio Bonazzi ประธานบริหาร Aquafil Group
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่