SOFT SKILLจะทำอย่างไรเมื่อต้องฝืนใจทำสิ่งที่ “ไม่อยากทำ” 3 เคล็ดลับช่วยกระตุ้นให้ทำ “สิ่งที่ไม่อยากทำ”

จะทำอย่างไรเมื่อต้องฝืนใจทำสิ่งที่ “ไม่อยากทำ” 3 เคล็ดลับช่วยกระตุ้นให้ทำ “สิ่งที่ไม่อยากทำ”

เชื่อว่าทุกคนต่างมีเรื่องที่ “ไม่อยากทำ” กันทั้งนั้น ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย การทำความสะอาด การรู้จักเพื่อนใหม่ หรือแม้แต่การทำงานก็ด้วย!

แล้วเป็นกันไหม? การที่ไม่อยากทำอะไรก็ตาม ไม่ได้เป็นเพราะขี้เกียจหรือเบื่อ แต่เพียงแค่ไม่อยากทำเฉยๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เรามักพูดกันบ่อยๆ ว่าหากไม่อยากทำสิ่งไหนก็ไม่จำเป็นต้องฝืน ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ทั้งจริงและไม่จริง เพราะบางครั้งเรื่องที่ไม่อยากทำอาจส่งผลดีต่อชีวิตและหน้าที่การงานในระยะยาวได้

Arianna Bradford ผู้เขียนบทความ “3 Ways To Do That Thing You Really Don’t Want to Do” จากประสบการณ์จริงที่เธอเป็นโค้ชที่ดูแลด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตและการทำงานให้กับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น (ADHD) และเธอก็เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคนี้ด้วย

โดย Arianna ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นว่า เกิดจากการที่สมองมีสาร Dopamine ต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้สมองไม่สนใจสั่งการใดๆ กับร่างกาย เมื่อต้องทำสิ่งที่ไม่ชอบและไม่มีความสุข เธอได้แนะนำถึงหัวใจสำคัญที่ช่วยต่อสู้กับอาการเหล่านี้ ซึ่งก็คือ การสร้างทริคเล็กๆ ให้สมอง ด้วยเรื่องราวหรือกิจกรรมที่ประกอบไปด้วย “ICNU” ที่ย่อมาจาก Interest (ความสนใจ), Challenge (ความท้าทาย), Novelty (ความโดดเด่น) และ Urgency (ความเร่งด่วน)

นอกจากนี้ ยังได้แบ่งปัน 3 เคล็ดลับดีๆ ที่เธอมักใช้ทั้งกับผู้ป่วยและตัวเธอเอง เมื่อจำเป็นต้องทำสิ่งที่ไม่อยากทำ มาดูกันว่าเคล็ดลับแต่ละข้อมีอะไรบ้าง และสามารถนำไปปรับใช้อย่างไรได้บ้างกัน

3 เคล็ดลับช่วยกระตุ้นให้ทำสิ่งที่ “ไม่อยากทำ”

1. ทำทุกอย่างให้เหมือนเล่นเกม

ใครกำลังคิดว่ากิจวัตรประจำวัน หน้าที่การงาน หรือความรับผิดชอบต่างๆ ในทุกวันนี้ช่างไร้สีสัน น่าเบื่อ วนเวียนอยู่กับอะไรเดิมๆ ทุกวัน จนรู้สึกว่าไม่มีอะไรมากระตุ้นความตื่นเต้นหรือสร้างความท้าทายให้ชีวิตอยู่ล่ะก็ ลองมาเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือการใช้ชีวิตด้วย “Gamification” ที่ทำทุกอย่างให้เหมือนการเล่นเกมกัน (อ่านบทความ: ทำงานให้เหมือนเล่นเกม! อยากก้าวหน้าในชีวิต ต้องลองคิดแบบเกมเมอร์)

หากพูดแบบง่ายๆ การเล่นเกมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าต้องไปฆ่าใคร เพื่อเป็นที่หนึ่งเหมือนในเกมจริงๆ แต่มันคือการหยิบยกองค์ประกอบของเกมมาปรับใช้ เช่น การเพิ่มความท้าทาย เพิ่มความน่าสนใจ หรือเพิ่มแรงจูงใจในรูปแบบรางวัล เมื่อทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ จะช่วยเปลี่ยนเรื่องธรรมดาและน่าเบื่อให้เต็มไปด้วยความสนุก ความแปลกใหม่ และให้สมองเรารู้ว่าทำไปเพื่ออะไร

เช่น คนที่กำลังเบื่อกับการทำงานอยู่ ลองปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด และทำงานให้เหมือนเล่นเกม ด้วยการรู้จักจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง ตั้งเป้าหมายเพื่อให้รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ใครคือผู้คุมเกม รวมถึงมีอะไรเป็นรางวัลเมื่อผ่านภารกิจได้ การเปลี่ยนมุมมองนี้ไม่เพียงแค่ผลักดันให้เราทำสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่ยังช่วยให้ชีวิตและหน้าที่การงานพัฒนาไปพร้อมกันอีกด้วย

2. เพิ่มความเร่งด่วนให้สิ่งที่ต้องทำ

เชื่อในพลังแห่งเดดไลน์กันไหม? นาทีนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะพลังนี้ศักดิ์สิทธิ์และแรงจริงๆ สามารถทำให้งานที่เหมือนจะเสร็จไม่ทันแน่ๆ กลับเสร็จทันได้ภายในชั่วข้ามคืน (แบบไม่ได้นอน)

ในทางกลับกัน หากงานที่ต้องทำไม่มีการกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน ก็จะทำให้ไม่มีแรงกระตุ้น ไม่มีไอเดีย และไม่มีพลังที่จะทำจริงจัง มีแต่คำว่า “ไว้ทีหลังแล้วกัน” หรือ “เอาไว้ก่อนดีกว่า” จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรือไม่ได้ทำสักที สุดท้ายก็กลายเป็นดินพอกหางหมูจนได้

มาลองเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ที่ค่อยเป็นค่อยไปหรือเอาไว้ก่อนค่อยมาทำทีหลัง ด้วยการเพิ่มความเร่งด่วน (Urgency) ให้ตัวเองกัน เช่น กำหนดตารางเวลาที่ชัดเจนให้กับงานทั้งที่เร่งและไม่เร่ง หรือระหว่างวันลองตั้งนาฬิกาปลุกไว้ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนว่าหมดเวลาทำงานตรงหน้า และได้เวลาไปโฟกัสเรื่องถัดไป ซึ่งการกำหนดเดดไลน์ให้แต่ละเรื่องที่ต้องทำช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว หัวแล่น และสามารถบริหารจัดการเวลาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

Advertisements
Advertisements

3. เริ่มลงมือทำจากสิ่งเล็กๆ ก่อน

โดยส่วนใหญ่แล้วความสำเร็จมักจะเริ่มต้นจากการทำสิ่งเล็กๆ เป็นประจำทุกวัน หรือที่เรียกว่า “Small Win” เช่นเดียวกับการต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ แต่กลับเป็นเรื่องที่จำเป็นและเลี่ยงไม่ได้ อย่างบางคนไม่อยากเรียนว่ายน้ำ ทั้งที่รู้ว่าเป็นทักษะการเอาตัวรอดในน้ำที่สำคัญมากๆ และเป็นการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ แต่ให้ทำยังไงก็ไม่อยากทำ และอยู่ดีๆ จะจับโยนลงสระสุ่มสี่สุ่มห้าก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้ช่วยทำให้ว่ายน้ำเป็นแต่อย่างใด ดังนั้น ควรเริ่มทำจากสิ่งเล็กๆ อย่างท่าพื้นฐาน ให้คุ้นชินก่อนและเมื่อเริ่มเป็นแล้ว จึงค่อยขยายไปสู่ท่าอื่นๆ

หรือ “การทำงานบ้าน” ที่หลายคนมักเบือนหน้าหนีเพราะไม่ชอบทำ แต่หากไม่สะดวกจ้างแม่บ้าน การปล่อยให้ตัวเองอยู่กับพื้นที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่น ขยะ หรืออากาศที่ไม่ปลอดโปร่งก็ดูจะเป็นไอเดียที่ไม่ดีสักเท่าไรนัก ลองมาเริ่มต้นทำสิ่งที่ไม่ชอบด้วยการท้าทายตัวเอง โดยคิดเสียว่าการความสะอาดก็เหมือนการเล่นเกม ตั้งเป้าหมายและแรงจูงใจ กำหนดเวลาชัดเจนว่าจะทำจุดไหนกี่นาที และสลับกับการทำกิจกรรมเล็กๆ อย่างอื่นขั้นเวลา เพื่อไม่เป็นการบังคับและกดดันตัวเองมากเกินไป วิธีนี้อาจทำให้สนุกและเปิดใจกับเรื่องที่เคยมองว่าฝืนใจมากขึ้นก็ได้

เห็นได้ว่าไม่มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะได้ดั่งใจเรา 100% ทำให้บางครั้งเราต้องฝืนทนทำสิ่งที่ไม่อยากทำบ้างเป็นครั้งคราว แต่เชื่อไหมว่าบางอย่างที่เราไม่อยากทำ อาจช่วยพัฒนาชีวิตและหน้าที่การงานให้ดีขึ้นก็ได้ รวมถึงสิ่งที่เราทำได้และควรทำตอนนี้ คือ “การยอมรับว่าชีวิตคือการเรียนรู้ที่ไม่มีสิ้นสุด” เรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งที่ชอบและรักษาไว้ให้นานๆ ควบคู่ไปกับเรียนรู้ที่จะปรับตัวและอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบให้ได้ แล้วเราจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างแน่นอน

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ทำงานให้เหมือนเล่นเกม! อยากก้าวหน้าในชีวิต ต้องลองคิดแบบเกมเมอร์
ไม่อยากทำงาน แต่ก็ต้องทำ! ลอง 10 วิธีที่จะทำให้คุณมี “ความสุขในการทำงาน” มากขึ้น


อ้างอิง:
https://bit.ly/3rTyEiM

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskills

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า