Advertisements

SOCIETY

“สูญสิ้นความเป็นมนุษย์” เบื้องหลังอันดำมืดของอาชีพ Content Moderator

คำเตือน : เนื้อหาในบทความพูดถึงความรุนแรง การทำร้ายร่างกาย และการฆ่าตัวตาย ในวันแรกของการทำงานเขาต้องดูวิดีโอของชายคนหนึ่งซึ่งกำลังฆ่าตัวตายต่อหน้าลูกวัย 3 ขวบ “เด็กน้อยคนนั้นกำลังเล่นของเล่นอยู่บนพื้นโดยไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้น” เขากล่าว “ผมรู้สึกแย่มากๆ ผม.. คุณนึกออกไหม ผมถึงกับอาเจียนออกมา เพราะไม่เข้าใจเลยว่าทำไมมนุษย์เราถึงทำเรื่องแบบนี้” เทรวิน บราวนี ชายชาวเคนยาบอกเล่าประสบการณ์การเป็น Online Content Moderator หรือ “ผู้คัดกรองวิดีโอ” ให้แก่แพลตฟอร์มดังอย่าง Facebook ที่ทำให้เขารู้สึกช็อกตั้งแต่วันแรกกับการต้องเห็นคนฆ่าตัวตาย และในวันทำงานวันอื่นๆ ก็ไม่ต่างกันนัก เขาเผยว่าตลอดการทำงานในฐานะคนคัดกรองวิดีโอเขาได้เจอกับด้านที่มืดที่สุดของมนุษยชาติ ทั้งความรุนแรงในเด็ก การทารุณกรรม ไปจนถึงการระเบิดพลีชีพ เขาเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้เผชิญในการทำงานทำให้ความรู้สึกของเขาตายด้าน และทำให้เขาสูญเสียส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ไป เขาเห็นความตายบ่อยเสียจนความตายดูเป็นเรื่องปกติ เทรวินเป็นเพียงหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ทำหน้าที่คัดกรองเนื้อหา เพื่อกรองเนื้อหาที่มีความรุนแรงและผิดกับนโยบายของแพลตฟอร์มออกไป เขาเป็นหนึ่งในเบื้องหลังที่ต้องทนดูสิ่งที่คนจำนวนมากไม่อยากเห็น เพื่อป้องกันไม่ให้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบ และเขาก็เป็นเพียงอีกหนึ่งคนในปี 2023 ที่ฟ้องร้องเพื่อความยุติธรรมจากโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่กำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกับเขา

ปัญหาการศึกษาไทย เรียนหนัก เหลื่อมล้ำ อำนาจนิยม รวิศ คุยกับ ไอติม พริษฐ์ | MM EP.1835

หนึ่งปัญหาใหญ่ของไทยที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ได้แก่ปัญหาเรื่อง “การศึกษา” ที่มีตั้งแต่ ปัญหานักเรียนไทยเรียนหนักเกินไป ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไปจนถึงการละเมิดสิทธิของนักเรียน จะปฏิรูปการศึกษาอย่างไร ให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ต่อตัวนักเรียนและคุณครู? ใน EP. นี้ รวิศ หาญอุตสาหะ พูดคุยกับ “ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ” ผู้จัดการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายแห่งพรรคก้าวไกล ในเรื่องปัญหาด้านการศึกษา หนทางแก้ปัญหา และนโยบายต่างๆ ของพรรคก้าวไกล ที่จะมาเปลี่ยนการศึกษาไทยให้ดีกว่าเดิม เชิญรับฟังพร้อมๆ กันได้ใน MM Podcast EP.1835 │ ปัญหาศึกษาไทย เรียนหนัก เหลื่อมล้ำ อำนาจนิยม รวิศ คุยกับ ไอติม พริษฐ์

ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม-พลังงานและทางออกของไทย รวิศ คุยกับ รวมไทยสร้างชาติ | MM EP.1833

ในวันที่ประเทศถูกถาโถมไปด้วยปัญหา ทั้งหนี้ครัวเรือน สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาจากสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ไทยจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้ และสร้างชาติที่ดีกว่าเดิมได้อย่างไร ใน EP. นี้ รวิศ หาญอุตสาหะ พูดคุยกับ คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ที่ปรึกษาหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แห่งพรรครวมไทยสร้างชาติ ในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ สังคม พลังงาน และทางออกของประเทศไทย เชิญรับฟังพร้อมๆ กันได้ใน MM Podcast EP.1833 | ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม-พลังงานและทางออกของไทย รวิศ คุยกับ รวมไทยสร้างชาติ

Middle-Class Crisis ฝันร้ายของชนชั้นกลางมีอะไรบ้าง | MM EP.1826

ในอดีตเราเคยเชื่อกันว่า หากตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงาน จะสามารถมีบ้าน มีรถ และซื้อของที่อยากได้ โดยไม่ลำบากอะไรมาก ไม่ได้มีมากมาย แต่ก็ไม่ได้ขัดสน ความฝันของชนชั้นกลางนี้ไม่ไกลเกินเอื้อม แตกต่างกับปัจจุบันที่แม้คนยุคนี้ จะตั้งใจเรียนและทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของบ้านหรือรถได้ และหลายๆ คนใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน ทำไม “ชนชั้นกลาง” ถึงกลายเป็นสิ่งที่เอื้อมถึงยาก? และจำนวนค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อวิกฤตนี้? เชิญรับฟังพร้อมๆ กันได้ใน MM Podcast EP.1826 │ Middle-Class Crisis ฝันร้ายของชนชั้นกลางมีอะไรบ้าง #missiontothemoon #missiontothemoonpodcast #society

ผู้นำแบบไหนที่คุณอยากได้มาบริหารองค์กรและประเทศ?

“อยากได้คุณ…เป็นนายกฯ!” ช่วงใกล้เลือกตั้งเช่นนี้ หลายคนคงมีความคิดแบบนี้กันอยู่ แต่ละคนก็จะมีคนที่ตัวเองเชียร์แตกต่างกันไป เพราะผู้นำแต่ละคนก็จะมีนโยบาย ความสามารถ รวมถึงภาวะผู้นำที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจชอบผู้นำที่มีกลยุทธ์ บางคนอาจชอบผู้นำที่เปิดกว้างทางความคิด หรือบางคนอาจชอบผู้นำที่พร้อมจะสร้างการเปลี่ยนแปลง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าผู้นำของประเทศไทยแต่ละยุคสมัยนั้นมีภาวะผู้นำที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ซึ่งภาวะผู้นำนี้จะเป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมของผู้นำว่าเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติกับประชาชนอย่างไร รวมถึงจะมีวิธีการแบบไหนในการบริหารประเทศ โดยในปี 1930 มีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยนักจิตวิทยาที่มีชื่อว่า Kurt Lewin ออกเดินทางเพื่อทำการวิจัยในเรื่องการแบ่งภาวะผู้นำออกเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจนมากขึ้น ในช่วงแรกๆ Kurt Lewin ได้กำหนดรูปแบบความเป็นผู้นำไว้ 3 รูปแบบ ซึ่งเราสามารถพบเจอได้ทั้งในโลกการทำงานและโลกการเมือง ในบทความนี้ เราจะพาไปทำความรู้จัก 3 รูปแบบของความเป็นผู้นำที่พบเจอได้บ่อย เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจว่าผู้นำแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร

16 เรื่องกระทบต่อชีวิตคนไทยที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลือกตั้ง (PART 3) | MM EP.1819

Mission To The Moon EP. นี้เราจะมาแบ่งปันรายงานเรื่อง 16 ความคิดเพื่อชีวิตคนไทย จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ได้มาสรุป “สิ่งที่เป็น” หรือสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมสะท้อน “ปัญหาที่เห็น” โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้างและนำเสนอ “ประเด็นชวนคิด” ที่สามารถนำไปพิจารณา หรือพูดคุยกันเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์กันต่อไป

16 เรื่องกระทบต่อชีวิตคนไทยที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลือกตั้ง (PART 1) | MM EP.1817

“นโยบายสาธารณะ” กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่คนตื่นตัวก่อนช่วงเลือกตั้งเช่นนี้ แต่ก่อนที่จะเลือกหรือเห็นด้วยกับนโยบายใดๆ ลองมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ณ ปัจจุบัน มีประเด็นเชิงนโยบายอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบ ต่อ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของคนไทย ใน Mission To The Moon EP. นี้เราจะมาแบ่งปัน รายงานเรื่อง 16 ความคิดเพื่อชีวิตคนไทย จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ได้มาสรุป “สิ่งที่เป็น” หรือสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมสะท้อน “ปัญหาที่เห็น” โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้าง และนำเสนอ “ประเด็นชวนคิด” ที่สามารถนำไปพิจารณา หรือพูดคุยกันเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์กันต่อไป รับฟังสรุปรายงาน 16 ความคิดเพื่อชีวิตคนไทย ตอนที่ 1 ได้ใน EP. นี้ เชิญรับฟังพร้อมๆ กันได้ใน MM Podcast EP.1817 │ 16 เรื่องกระทบต่อชีวิตคนไทยที่ต้องรู้ไว้ก่อนเลือกตั้ง (PART 1)

อินเดียแซงจีนขึ้นแท่น “ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก” ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,428 ล้านคน

ในวันพุธที่ 19 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา รายงานจาก UN เผยว่า อินเดียได้กลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,428 ล้านคน ขึ้นนำประเทศจีนที่กลายเป็นอันดับสอง ซึ่งมีจำนวนประชากร 1,425 ล้านคน ปัจจุบันอินเดียมีประชากรมากกว่าทวีปยุโรป แอฟริกา หรืออเมริกาทั้งทวีป มีการคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะ 1,668 ล้านคนภายในปี 2050 และจากประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย จะกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในอนาคต

ทำไมคนถึงยังสนใจ เรื่อง Self-Help ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นเดิม? | MM EP.1814

สำหรับคนที่ชอบหนังสือหรือเนื้อหาแนว “จิตวิทยาพัฒนาตนเอง” หรือ “Self-Help” จะเห็นได้ว่าใจความของสิ่งที่ต้องการจะสื่อ สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องเดิมๆ มาโดยตลอด แต่ทำไมอุตสาหกรรมการพัฒนาตนเองนี้ ยังดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ผลิตหนังสือและเนื้อหาออกมามากมาย ยังให้กำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้อยู่? เชิญรับฟังพร้อมๆ กันได้ใน MM Podcast EP.1814│ไม่มีอะไรใหม่ทำไมยังขายได้? สิ่งที่น่าสนใจในธุรกิจ Self-Help #missiontothemoon #missiontothemoonpodcast #society

PODCAST

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า