SOCIETY5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “การเลือกตั้ง” จาก 5 ประเทศทั่วมุมโลก

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “การเลือกตั้ง” จาก 5 ประเทศทั่วมุมโลก

หลังกระแส “การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ” ผ่านไป หลายคนคงคิดถึงภาพของบรรยากาศการเลือกตั้งและการนับคะแนน วันนี้ Mission To The Moon เลยจะพามาส่งท้ายบรรยากาศการเลือกตั้ง ผ่านการสำรวจเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งจาก 5 ประเทศทั่วทุกมุมโลก

1. ระบบสุ่มรายชื่อไปนั่งเฝ้าหีบเลือกตั้งที่ประเทศสเปน

เรื่องนี้คนไทยอาจจะยังไม่คุ้นชิน หากรัฐบาลหรือหน่วยงานเลือกตั้ง จะขอความร่วมมือจากประชาชนให้มาช่วยเหลือในหน่วยเลือกตั้ง แตกต่างกับประเทศสเปน ที่ทางรัฐบาลจะทำการสุ่มชื่อใครก็ตามที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ให้มาช่วยงานในคูหา โดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินราว 65 ยูโร (ประมาณ 2,400 บาทไทย) แต่สามารถผ่อนผันได้หากมีเหตุจำเป็นมากพอ

เท่ากับว่า ‘ประชาชนคนไหนก็ได้’ สามารถถูกสุ่มให้มาช่วยในหน่วยเลือกตั้ง

หนึ่งเหตุการณ์ที่คนพูดถึงกันมาก ก็คือ เมื่อนักเตะดังอย่าง มาร์เซโล่ ดา ซิลวา (Marcelo da Silva) ของสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด ในลีกลาลิกาสเปน เคยถูกสุ่มชื่อให้ไปเฝ้าหีบเลือกตั้ง ถึงแม้ว่ามาร์เซโล่จะถือสัญชาติบราซิลเป็นหลัก แต่ด้วยความที่ลงเล่นอยู่ในลีกสเปนนานหลายปี ทางรัฐบาลจึงให้สิทธิ์เป็นพลเมืองที่นี่ด้วย

นั่นทำให้มาร์เซโล่ต้องไปทำหน้าที่พลเมืองเฝ้าหีบเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าเขาจะต้องพลาดลงแข่งก็ตาม และยังมีนักเตะในลีกสเปนอีกหลายคนที่เคยโดนสุ่มชื่อไปรับใช้ชาติ เช่น ไอตอร์ เฟร์นันเดซ หรือ อินากิ วิลเลียมส์ ล้วนแล้วแต่เป็นนักเตะที่เคยโดยเรียกตัวไปเฝ้าคูหามาแล้วทั้งสิ้น

2. หากคุณมีชื่ออยู่ในรัฐเท็กซัสจะสามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ แม้ว่าจะอาศัยอยู่บนอวกาศ

เรารู้กันดีว่าเมื่อการเลือกตั้งมาถึง เราต้องเดินทางไปเลือกตั้งที่เขตทะเบียนบ้านของตนเอง หรือไม่ก็ทำเรื่องเลือกตั้งนอกเขตมายังหน่วยเลือกตั้งที่สะดวกเดินทางไป จากที่อยู่ปัจจุบัน

แต่ถ้าหากที่อยู่ปัจจุบันของเราเกิดอยู่บน “อวกาศ” ล่ะจะทำอย่างไร

กฎหมายรัฐเท็กซัสที่เริ่มใช้ในปี 1997 อนุญาตให้นักบินอวกาศชาวอเมริกันที่อยู่ในอวกาศ สามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งผ่านอีเมลได้ โดยผลการเลือกจะถูกส่งไปยังเขตที่นักบินอวกาศรายนั้นอาศัยอยู่อย่างปลอดภัย

แล้วทำไมรัฐเท็กซัสต้องถึงกับออกกฎหมายนี้ขึ้นมา? สาเหตุเป็นเพราะนักบินอวกาศส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ใน Johnson Space Center เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ NASA ใช้พัฒนาจรวดและฝึกนักบินอวกาศนั่นเอง

Advertisements

3. ชาวบราซิลเลือกแรดให้เป็นสภาเทศบาลเมืองเซาเปาโล

ในการเลือกตั้งสภาเมืองปี 1958 ชาวเมืองเซาเปาโล แห่งประเทศบราซิลรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทุจริตและการรับสินบนของสภาเมือง พวกเขาเริ่มไม่พอใจและออกประท้วง จนเมื่อเวลาเลือกตั้งมาถึง พวกเขาจึงเลือกโหวตให้ เจ้า “Cacareco” แรดตัวเมียที่อาศัยในสวนสัตว์เซาเปาโล

และนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะเจ้าแรดตัวนี้ได้คะแนนเสียงไปมากกว่า 100,000 เสียงเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ชนะการเลือกตั้ง แต่การที่ประชาชนเลือกแรดแทนผู้สมัครคนอื่นๆ ถือเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อบอกว่า เราจะไม่ขอเลือกคนโกงเข้าสภา ถ้าต้องเลือก เราขอเลือกแรดเสียดีกว่า!

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดศัพท์ใหม่อย่างคำว่า “Voto Cacareco” ขึ้นมา ซึ่งมีความหมายคือ การโหวตประท้วง นั่นเอง

Advertisements

4. เกาหลีเหนือก็มีการเลือกตั้ง

หลายคนอ่านข้อนี้แล้วอาจจะสงสัยว่า ประเทศเผด็จการเต็มรูปแบบนั้นมีการจัดการเลือกตั้งด้วยหรือ? ใช่แล้ว เกาหลีเหนือมีการเลือกตั้งจริงๆ โดยการเลือกตั้งรัฐสภาจะถูกจัดขึ้นในทุกๆ 5 ปี แน่นอนว่าแต่ละเขตมีผู้สมัครเพียงแค่คนเดียว ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคิมจองอึนเป็นการส่วนตัว

หากใครที่ไม่ต้องการจะเลือกผู้สมัครรายดังกล่าว สามารถลงคะแนนใส่กล่องพิเศษ ที่จะเปิดเผยให้รัฐบาลรู้ว่าคุณไม่เห็นด้วยกับคนที่ท่านผู้นำเลือกมาให้ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธอยู่ดี

ส่วนพลเมืองที่ไม่มาปรากฏในการเลือกตั้งจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง แม้กฎจะชัดเจน แต่ก็มีคนใจกล้าไม่มาเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2014 มีผู้มาใช้สิทธิ์ 99.97% ซึ่งลดลงจากปี 2009 ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ 99.98%

5. เมื่อมีการเลือกตั้งที่นิวซีแลนด์ เราจะไม่พูดถึงการเลือกตั้ง

ข้อนี้อาจจะคล้ายๆ กับกฎหมายของบ้านเราและที่อื่นๆ ซึ่งก็คือ เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ผู้สมัครทุกคนจะต้องยุติการหาเสียงในทุกช่องทางและในทุกกรณี

แต่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในวันเลือกตั้ง แม้แต่การพูดถึงเรื่องการเลือกตั้งก็ถือว่าผิดกฎหมาย มีการห้ามโฆษณาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพจโซเชียลมีเดียของผู้สมัครถูกห้ามเคลื่อนไหว นักวิเคราะห์และสำนักข่าวเองก็ห้ามรายงานข่าวการเลือกตั้ง หรือแม้แต่โพลผลสำรวจก็ห้ามนำเสนอ

ทั้งหมดเป็นเพราะความกลัวว่าข้อมูลถูกที่เผยแพร่ (เช่น ‘โพลและนักวิเคราะห์คาดเดาว่า นาย A จะชนะการเลือกตั้ง’) อาจมีอิทธิพลต่อผู้ลงคะแนนที่เลือก หรือถูกชักจูงตามกระแสสังคม จึงมีกฎห้ามพูดคุยถึงการเลือกตั้ง ซึ่งมีโทษปรับสูงถึง 10,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (หรือประมาณ 221,000 บาท) เลยทีเดียว

แม้แนวคิดและจุดประสงค์ของการเลือกตั้งนั้นจะเหมือนกันทั่วโลก แต่ว่าแต่ละประเทศก็มีนโยบายการเลือกตั้งที่แตกต่างกันไป ทำให้เราได้รู้ว่า แม้จะเป็นเรื่องสากลอย่าง “การเลือกตั้ง” แต่ละประเทศเองก็มีวิธีคิด และจัดการนโยบายให้สอดคล้องรับกับบริบทของสังคมและแนวคิดของประเทศนั้นๆ


แปลและเรียบเรียงจาก
https://bit.ly/39MAgEM
https://bbc.in/3yN87YI

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Thongtong Mahavichit
Thongtong Mahavichit
Don't try this at home

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า