SOCIETYอยากเกษียณเร็วตามเทรนด์ F.I.R.E ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่?

อยากเกษียณเร็วตามเทรนด์ F.I.R.E ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่?

การเกษียณในวัย 60 ถือเป็นเรื่องปกติ เรามักจะเห็นพ่อแม่หรือคนรุ่นก่อนๆ ทำงานประจำอย่างขยันขันแข็ง จนถึงวัยเกษียณอายุ ภาพเหล่านี้ไม่ได้ดูแปลกตาสำหรับเรานัก

อย่างไรก็ตาม พอจินตนาการว่าคนรุ่นเราต้องทำงานประจำเช่นนี้ไปจนถึง 60 กลับรู้สึกไม่เห็นด้วยอย่างบอกไม่ถูก!

นั่นเป็นเพราะสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ตื่นตัวเรื่อง ‘การเงิน’ และ ‘การเก็บเงิน’ ยิ่งกว่าที่เคย เราเห็นคนจำนวนมากทำงานเสริม ทำธุรกิจส่วนตัว เล่นหุ้น หรือลงทุนกับคริปโตฯ ด้วยความหวังว่า เงินที่ได้จะช่วยให้เราออกจากงานประจำ เอาเวลามาทำอะไรที่เรารัก ให้ได้เร็วที่สุด

…แต่ที่น่าสนใจคือ ‘เร็วที่สุด’ ของบางคนนั้นอาจหมายถึงการเกษียณตั้งแต่อายุ 30!

รู้จักเทรนด์ FIRE จุดประกายการเก็บเงินอย่างบ้าคลั่ง

F.I.R.E ย่อมาจาก Financial Independence, Retire Early เป็นเทรนด์การเก็บเงินสำหรับเกษียณ ในจำนวนมาก ราวๆ 50-75% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อจะได้มีอิสรภาพทางการเงิน และเกษียณจากงานประจำได้ตั้งแต่อายุ 30-40
.
ด้วยจำนวนเงินเก็บแต่ละเดือนที่มากเกินครึ่ง คนที่ถือหลักการ F.I.R.E มักจะใช้จ่ายต่อเดือนอย่างประหยัดที่สุด อยู่อย่างมัธยัสถ์ และซื้อเฉพาะของเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
.
ริต้า-โซลีดัด เฟอร์นันเดซ เปาลิโน ผู้เขียนบทความเรื่อง How to Calculate Your Fire Number ในเว็บไซต์ Times.com ก็เป็นหนึ่งคนที่เคยคิดว่า เธอจะเกษียณอายุตอน 65 จนกระทั่งเธอและสามีได้มารู้จักเทรนด์ F.I.R.E

สูตรคำนวณเป้าหมายเงินเก็บ

แบบที่ 1 : รายจ่ายต่อปี x 25 = เป้าหมายของเรา

ระหว่างค้นหาข้อมูลว่าสูตรคำนวณหมายเลข FIRE ที่ดีที่สุดคืออะไร ริต้า-โซลีดัด ก็ได้พบกับสูตรการคำนวณแบบที่ 1 จากมหาวิทยาลัยทรินิตี้ ที่อ้างอิงกฎ 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพูดถึงกฎการถอนเงินจากพอร์ตการลงทุน 4% ไว้สำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณ เป็นหลักการที่หลายคนรู้จักกันดี

ยกตัวอย่างเช่น หากรายจ่ายต่อเดือนของเราอยู่ที่ 30,000 บาท เท่ากับว่ารายจ่ายต่อปีจะอยู่ที่ 360,000 บาท และถ้าหากนำเลขดังกล่าวมาคูณกับ 25 ตัวเลข FIRE ของเราจะเท่ากับ 9 ล้านบาทนั่นเอง

หรือ

แบบที่ 2 : รายจ่ายต่อปี ÷ 0.03 = เป้าหมายของเรา

ยกตัวอย่างเช่น หากรายจ่ายต่อเดือนของเราอยู่ที่ 30,000 บาท เท่ากับว่ารายจ่ายต่อปีจะอยู่ที่ 360,000 บาท และถ้าหากนำเลขดังกล่าวมาหารกับ 0.03 ตัวเลข FIRE ของเราจะเท่ากับ 12 ล้านบาท

การคำนวณแบบที่ 2 นี้ อ้างอิงจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทรินิตี้เช่นกัน แต่เป็นการศึกษาที่ใหม่กว่า โดยศาสตราจารย์ทั้งหลายใช้ข้อมูลของตลาดในอดีต เช่นหุ้นต่างๆ หรือการจัดการสินทรัพย์ เพื่อศึกษาอัตราการถอนเงินที่ปลอดภัยและยั่งยืน พวกเขาพบว่ามีโอกาสสูงมากที่คนมีพอร์ตอย่างน้อย 50% ในตลาดหุ้น สามารถถอนเงิน 3% จากพอร์ตตลอด 40 ปีได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน ทำให้สูตรนี้ใช้การหาร 0.03 นั่นเอง

Advertisements
Advertisements

แล้วรายจ่ายต่อปีคิดจากอะไร

ผู้เขียนคำนวณจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนอย่างละเอียด คูณจำนวน 12 เพื่อให้ได้รายจ่ายต่อปี โดยเธอได้แนะนำลิสต์รายจ่ายต่อเดือนไว้คร่าวๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายสำคัญ :: ค่าเช่าบ้านต่อเดือน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าบำรุงรักษา, ค่าซื้อของใช้ในบ้าน, ค่าภาษีที่ดิน, ค่าประกัน, และค่าบัตรเครดิต
ค่าอาหาร :: ค่าซื้อวัตถุดิบทำอาหาร, ค่าเครื่องดื่ม, ค่าทานอาหารนอกบ้าน
ค่าของใช้ส่วนตัว :: เสื้อผ้า, งานอดิเรก, สมาชิกรายเดือน (เช่น Netflix, Spotify, Cloud Storage), อาหารสัตว์เลี้ยง
ค่าสุขภาพ :: ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, ค่าทำฟัน, ค่าแว่น, ค่าคอนแทคเลนส์
การเดินทาง :: ประกันรถยนต์, ค่าบำรุงรักษา, ค่าน้ำมัน
อื่นๆ :: ของขวัญ และ การบริจาค

ได้เลข FIRE แล้วทำอะไรต่อ

เมื่อรู้ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ ถึงจะเกษียณอายุเร็วๆ ได้ ขั้นต่อมาคือการวางแผนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ถึงจะได้เงินจำนวนนี้มา และเมื่อวางแผนแล้วก็ได้เวลาเข้าสู่ขั้นตอนที่ยากที่สุด ซึ่งก็คือการลงมือทำ

แน่นอน หลายคนที่เก็บเงินอย่างบ้าคลั่งตามเทรนด์ F.I.R.E อาจรู้สึกท่วมท้นและเครียดกับจำนวนตัวเลขที่มากเช่นนี้เป็นธรรมดา แต่แทนที่จะเคร่งเครียดกับมัน ให้หันมาโฟกัสที่ ‘ความสนุก’ ของการหาเงินและการมีเงินเก็บ (ไม่ว่าจะมากหรือน้อย) ดีกว่า

ในท้ายที่สุดแล้ว แม้เราอาจไม่ได้เกษียณในวัยที่ใฝ่ฝันไว้ การเดินทางของเราก็ไม่สูญเปล่าแน่นอน อย่างน้อยก็ถือว่าเราได้เงินก้อนใหญ่ก้อนแรกของการเกษียณแล้วนะ 🙂

อ้างอิง
https://bit.ly/3ncoOG6

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Tanyaporn Thasak
Tanyaporn Thasak
ผู้โดยสารคนหนึ่งบนยาน Mission To The Moon ที่หลงใหลในวรรณกรรม ภาพยนตร์ บทกวี การอ่าน การเขียน และการนอน

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า