SOCIETYเลือกตั้งแล้วไปไหน? ชวนดู 5 ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งรัฐบาล

เลือกตั้งแล้วไปไหน? ชวนดู 5 ความเป็นไปได้ของการจัดตั้งรัฐบาล

หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา สิ่งที่หลายคนตั้งคำถามในตอนนี้ คือ “เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อ” ผลอย่างไม่เป็นทางการถูกประกาศออกมาแล้ว แต่เราจะทราบผลอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่ ไปจนถึงคำถามอื่นๆ อย่างการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นไปได้ไหม หรือจะเกิดการชุมนุมขึ้นหรือเปล่า ในบทความนี้ Mission To The Moon จะพาไปดูความเป็นไปได้หลังการเลือกตั้งกัน

ตามปฏิทินการเลือกตั้ง การประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการจะเกิดขึ้นภายในเวลา 23:00 น. ของวันเลือกตั้ง จากนั้น “ผลคะแนนอย่างเป็นทางการ” จะถูกประกาศภายใน 60 วันต่อมา ซึ่งก็คือภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 หลังจากนั้นแล้วจะมีการกำหนด “การประชุมรัฐสภา” วันแรก และ “ประกาศนายกรัฐมนตรีใหม่” ภายในเดือนดังกล่าวเช่นกัน

ส่วนในเรื่องของ “การจัดตั้งรัฐบาล” รายงานจาก SCB EIC ได้วิเคราะห์ 5 ฉากทัศน์ หรือความเป็นไปได้ของการจัดตั้งรัฐบาล พร้อมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ไว้ดังนี้

📌 กรณีที่ 1 : ฝ่ายเสรีนิยมจัดตั้งรัฐบาล (ความเป็นไปได้ : ปานกลาง)

ในกรณีที่ฝ่ายเสรีนิยมได้เสียงข้างมากของ ส.ส. (สูงกว่า 250 เสียง) อาจรวมตัวกับพรรคการเมืองที่ยินดีจะเข้าร่วมด้วย และอาจได้รับเสียงจาก ส.ว. บางส่วน ทำให้มีคะแนนเกิน 375 เสียง ผลที่ตามมาคือสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 ไม่ล่าช้ามาก (3-4 เดือน) ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าอาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองขนาดเล็กขึ้น

📌 กรณีที่ 2 : รัฐบาลผสมสองฝ่าย (ความเป็นไปได้ : ปานกลาง)

หากฝ่ายเสรีนิยมได้เสียงข้างมากจาก ส.ส. (สูงกว่า 250 เสียง) แต่โดยรวมยังไม่ถึง 375 เสียงและไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ อาจต้องร่วมมือกับฝ่ายอนุรักษนิยมบางส่วน เพื่อก่อตั้งรัฐบาลผสมสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางความคิดจากทั้งสองฝั่ง จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารมากนัก แม้รายงานคาดการณ์ว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 จะไม่ล่าช้ามาก (3-4 เดือน) แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่มากกว่ากรณีอื่นๆ

ในส่วนของผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการจัดตั้งรัฐบาลและการตอบรับของประชาชน

📌 กรณีที่ 3 : รัฐบาลอนุรักษนิยมเสียงข้างน้อย (ความเป็นไปได้ : ปานกลาง)

ฝ่ายเสรีนิยมได้เสียงข้างมากจาก ส.ส. (สูงกว่า 250 เสียง) ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษนิยมและพรรคการเมืองอื่นที่จะเข้าร่วมรวมกันได้ไม่ถึง 250 เสียง แต่เมื่อรวมกับ ส.ว. แล้วเกิน 375 เสียง ทำให้จัดตั้งรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้จะมีข้อเสียหลายอย่างและจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เช่น
[ ] รัฐบาลจะมีความเปราะบางสูง
[ ] อาจทำให้การประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 ล่าช้า หรือไม่สามารถออกได้
[ ] มีความเสี่ยงว่าต้องเลือกตั้งใหม่สูง
[ ] อาจมีฝ่ายอนุรักษนิยมเป็นรัฐบาลรักษาการนานเกินควร
[ ] อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่

Advertisements

📌 กรณีที่ 4 : ฝ่ายอนุรักษนิยมจัดตั้งรัฐบาล (ความเป็นไปได้ : น้อย)

ฝ่ายอนุรักษนิยมได้เสียงข้างมากจาก ส.ส. และ ส.ว. จัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งจะเป็นรัฐบาลที่มีความแข็งแกร่งในการบริหารราชการแผ่นดิน การประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 จะไม่ล่าช้ามาก แม้จะยังมีความเสี่ยงในการเกิดการชุมนุมขนาดเล็ก แต่โดยภาพรวมแล้วกรณีนี้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย

📌 กรณีที่ 5 : นายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อ (ความเป็นไปได้ : น้อย)

ฝ่ายเสรีนิยมได้เสียงข้างมากจาก ส.ส. (สูงกว่า 250 เสียง) แต่ไม่ถึง 375 เสียงจึงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงต้องร่วมมือกับฝ่ายอนุรักษนิยมบางส่วน คล้ายกับกรณีที่ 2 ที่กล่าวไป อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถจัดสรรตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้อย่างลงตัว จนในท้ายที่สุดต้องเลือกนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อของบุคคลที่ไม่ใช่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฯ ปี 2560

ผลที่ตามมาคือรัฐบาลใหม่มีความเปราะบางสูง การประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 ล่าช้า และส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย


รายงานระบุไว้ว่า ผลกระทบจากผลการเลือกตั้งต่อเศรษฐกิจไทยจะยังไม่เห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 3 ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

1) พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2023 นั้นครอบคลุมจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินงานตามนโยบายที่วางไว้ต่อไปได้

2) รัฐบาลที่ผ่านมาได้อนุมัติหลายเรื่องสำคัญก่อนยุบสภา เช่น กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2024, โครงการลงทุนสำคัญ, และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรรม

3) เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรก โดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 ยังได้รับแรงสนับสนุนจากเม็ดเงินที่นำมาใช้ในการหาเสียงก่อนเลือกตั้ง ที่กระจายไปในหลายธุรกิจและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งนั้นจะชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 จากความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 โดยจะส่งผลต่อไปยังเศรษฐกิจไทยในปี 2024 หากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่น ก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่หากการจัดตั้งล่าช้า เกิดการชุมนุม หรือการเลือกตั้งใหม่ ก็จะทำให้การประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2024 เป็นไปอย่างล่าช้าและส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

อ่านรายงานจาก SCB EIC ฉบับเต็มได้ที่ : https://bit.ly/3B554v0

#society
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า