Mission to the Moon EP.59: เล่าประสบการณ์เขียนหนังสือให้ฟังครับ

2584
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • เริ่มต้นเป็นนักเขียนด้วย 4 ข้อ ควรปฏิบัติ
  • 1. เตรียมพร้อมสำหรับบันทึกความคิดไอเดียต่างๆ คนเราหลายครั้งอยู่ๆ ก็มีไอเดียผุดขึ้นมาในหัว สิ่งที่เราต้องทำก็คือเตรียมพร้อมที่จะบันทึกมัน ง่ายสุดเลยก็ สมุดจดติดตัวไว้เสมอ
  • 2. รู้ว่าเราจะเขียนงานประเภทไหน เข้าใจผู้อ่าน
  • 3. หาแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจ อ่านให้เยอะ ฟังให้มาก ก็จะช่วยได้ครับ
  • 4. วินัยข้อนี้สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ต้องพยายามฝึกให้เรามีวินัย เขียนอย่างสม่ำเสมอครับ

ผมได้รับคำถามมาว่า “อยากเป็นนักเขียนช่วยบอกหน่อยว่าเขาทำกันยังไง” เลยจะมาเล่าถึงประเด็นนี้ครับ

ต้องบอกก่อนว่าถ้าอยากจะเป็นนักเขียนแบบมืออาชีพอย่าง พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันทร์ หรือ เอ๋ นิ้วกลม อาจจะถามกันมาผิดคนนะครับ เพราะทั้งสองท่านเป็นมืออาชีพ ส่วนตัวผมยังเรียกได้ว่าเป็นมือสมัครเล่นอยู่

การเขียนไม่จำเป็นจะต้องเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะหนังสือก็เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการส่งมอบเนื้อหาเท่านั้น เราจะเขียนบล็อก เขียนบนแฟนเพจ เขียนบนเว็บไซต์ อะไรก็ได้หมดนะครับ

มีวิธีการที่จะเขียนและรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายมาก วิธีที่ผมจะแชร์ก็เป็นเพียงหนึ่งในร้อยวิธี แต่ก็มาดูกันนะครับว่าวิธีที่ผมใช้มีอะไรบ้างทำยังไง

1. บันทึกความคิด

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่อยากจะเขียนอะไรสักอย่าง คือสมุด หรืออุปกรณ์ในการจด หรืออะไรก็ตามที่สามารถบันทึกความคิดของคุณได้ ผมใช้ทุกอย่างเลยครับ ตั้งแต่ ไอแพด โดยใช้ App Notability สมุดจด เครื่องอัดเสียงที่ไม่ใช้มือถือ อีเมลหาตัวเอง เพราะคนเราบางครั้งอยู่ๆ ก็นึกไอเดียอะไรขึ้นมาได้ และอยู่ๆ ก็ลืมมันไป ฉะนั้นเราต้องมีวิธีที่จะบันทึกไอเดียที่เกิดขึ้นในทุกเหตุการณ์

2. รู้ว่าคุณเขียนงานประเภทไหน

คุณต้องรู้ว่าคุณเขียนงานประเภทไหน ตามความรู้ของผมนะครับ อันนี้ไม่มีอะไรอ้างอิงทั้งสิ้น คือ นิยายเขียนยากสุด เพราะเป็นของที่ต้องใช้จิตนาการสูง และต่อเนื่อง เพราะอะไรที่ต้องต่อเนื่องกันมันมักจะเขียนยาก ยากรองลงมาคือ เรื่องยาว อันที่เขียนง่ายที่สุดก็คือที่ผมเขียนนี่ล่ะ คือ เรื่องสั้นๆ ไม่ต่อกัน เป็นเรื่องเดี่ยวๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และอย่าลืมเรื่องสำคัญคือเราต้องรู้ด้วยนะครับว่า คนอ่านของเราเป็นใคร

3. แหล่งที่มาของแรงบันดาลใจ

แหล่งที่มาของแรงบันดาลใจของทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น ผมคิดว่าใหญ่สุดก็มาจากหนังสือของคนอื่นนี่ล่ะ ไม่ใช่ว่าเราจะไปก๊อปปี้เขามา แต่ที่เราทำก็คือเราอ่าน เอาเรื่องมาเล่าในแบบของเรา หรือบางทีแรงบันดาลใจก็อาจจะมาจากตัวเราเองก็ได้ หรือการที่ได้ไปพูดคุยกับคนอื่นๆ หรือการไปงานประชุมต่างๆ และอีกอันก็คือเหล่าแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ที่คุณ Subscription ไว้

Advertisements

ตัวอย่างเว็บที่ผม Subscription ไว้

  • TIME
  • Monocle Daily
  • Entrepreneur
  • Inc.
  • HBR
  • The innovation group
  • Fast Company
  • Co.Design
  • Ad Age
  • Cosmetics Design
  • eu
  • CBinsight
  • Mckinsey Insights
  • Business Insider
  • อื่นๆ ฯลฯ

ตัวอย่างแอปพลิเคชันที่ผมมีไว้

  • Ted
  • HuffPost
  • Mckinsey Insights
  • Fast Company
  • Entrepreneur
  • HBR
  • Blinkist

4. วินัย

วินัยในการเขียน อันนี้สำคัญสุดๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คิดเรื่องที่จะเขียนไม่ได้ทุกวันหรอก มันต้องฝึกครับ ถ้าคุณเคยอ่านเรื่องราวของนักเขียนระดับโลก คุณก็จะพบว่าคนเหล่านี้เขียนเกือบทุกวัน ผมก็พยายามทำเช่นกัน แม้บางวันอาจจะเขียนอะไรมาก็ไม่รู้ห่วยมากและก็เอาไปใช้อะไรต่อไม่ได้ แต่ก็ให้คิดซะว่านี่คือการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของเรา


ตอนที่ผมเริ่มเขียนหนังสือเล่มแรก ผมก็ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าจะมีหนังสือเป็นของตัวเอง เพราะตอนที่ผมเขียนบล็อกอันแรก มีคนมาไลค์เพียงสองสามคนเท่านั้นล่ะ และไม่เคยคิดว่าจากจุดนั้นมันจะกลายเป็นหนังสือ หรือจะเดินทางมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ต้องขอบคุณทุกท่านที่ติดตามมาตลอดนะครับ

สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ ตอนที่คุณเริ่มในช่วงแรก คุณจะรู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อ แต่อย่าเพิ่งถอดใจนะครับ ของแบบนี้มันต้องทำอย่างต่อเนื่องเดี๋ยวสักวันมันจะดีเอง แต่ต้องทำอย่างมีกลยุทธ มีการเรียนรู้ด้วยนะครับ ว่าคนอ่านชอบอ่านหรืออยากอ่านแบบไหน

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่