self development“โตแล้ว ไม่ร้องนะ” ความเป็นผู้ใหญ่กำลังทำร้ายคุณอยู่หรือเปล่า?

“โตแล้ว ไม่ร้องนะ” ความเป็นผู้ใหญ่กำลังทำร้ายคุณอยู่หรือเปล่า?

ตอนเด็กๆ เวลาเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกโกรธหรือเสียใจ แน่นอนว่าเรามักจะแสดงอารมณ์ออกมาทันทีด้วยการร้องไห้ ไม่ก็โวยวายเสียงดัง แต่พอโตขึ้นมา สังคมต่างคาดหวังให้เราเป็น “ผู้ใหญ่” และผู้ใหญ่ต้องไม่แสดงอารมณ์เช่นนั้น

เสียใจแค่ไหน ก็ได้แต่ตบบ่าตัวเองแล้วบอกว่า “โตแล้ว ไม่ร้องแล้วนะ”
โมโหมากๆ แต่ก็ไม่กล้าพูดออกมา เพราะไม่อยากให้คนอื่นมองว่า “ไม่เป็นมืออาชีพ”

สังคมหล่อหลอมให้เราเพิกเฉยต่อความรู้สึก อยู่เงียบๆ และใช้ชีวิตต่อไป ผ่านคำพูดที่คล้ายจะให้กำลังใจ แต่อีกนัยก็เหมือนบังคับให้เราต้องทนเท่านั้น เช่น ‘โตแล้วต้องอดทน’ ‘ฮึบไว้’ ‘Suck it up’ หรือ ‘Get over it’ แม้แต่ในเรื่องความรัก เราก็ถูกคาดหวังให้ไม่ฟูมฟายและ ‘มูฟออน’ แบบห้ามเป็นวงกลม ราวกับว่าการที่ระบายความรู้สึกเป็นเรื่องผิดเสียเต็มประดา

จริงอยู่ที่การใช้ชีวิตในสังคม เราต้องรู้จักเก็บอารมณ์บ้างเป็นเรื่องปกติ (และถือเป็นเรื่องดีในบางสถานการณ์เสียด้วยซ้ำ) แต่การเก็บกดความรู้สึกไว้จนเกินพอดีต่างหากที่ทำร้ายเราโดยไม่รู้ตัว ทั้งร่างกายและจิตใจ

ผลเสียต่อสุขภาพจิต

ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ลบที่เก็บไว้ ไม่ระบายออกมา (Suppressed emotion) หรืออารมณ์ที่เราเมินเฉยโดยไม่ได้ตั้งใจ (Repressed emotion) ทั้งคู่ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา และอาจหนักถึงขั้นก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลได้

งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนมักพบปัญหาเกี่ยวกับ “ความโกรธที่ซ่อนเอาไว้” เกี่ยวข้องอยู่ด้วย เนื่องจากผู้ป่วยมองว่าการแสดงความรู้สึกโกรธนั้นดูเป็นเรื่องไร้สาระและไม่เป็นผู้ใหญ่ ท้ายที่สุดแล้วความโกรธที่หาที่ลงไม่ได้ก็มักจะย้อนมาทำร้ายพวกเขาเอง จนเกิดอาการซึมเศร้า

อีกงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรคซึมเศร้าและการแสดงออกทางอารมณ์ มีข้อสรุปไปในทางเดียวกันว่า “กลุ่มคนที่ต้องเก็บกดความรู้สึก มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้ามากกว่า” โดยในงานวิจัยระบุอีกด้วยว่า คนเหล่านี้มักมีอำนาจต่อรองทางสังคมน้อย (เช่นเป็นผู้หญิง อายุน้อยกว่าคู่กรณี หรือฐานะด้อยกว่า) เลยเลือกที่จะไม่ระบายความรู้สึกออกมา

#ผลเสียต่อสุขภาพกาย

การเก็บความรู้สึกไว้ทำให้เราเสี่ยง “ตายเร็ว” และเป็น “มะเร็ง”

งานวิจัยจาก Harvard School of Public Health และ University of Rochester ได้สำรวจกลุ่มคนที่ไม่ชอบระบายความรู้สึก จำนวน 800 คน ในปี ค.ศ.1996 และติดตามผลในอีก 12 ปีให้หลัง พบว่า การเก็บกดความรู้สึกนั้น เพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 30% และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งถึง 70%

งานวิจัยดังกล่าวยังได้ยกตัวอย่างถึงการศึกษาอื่นๆ ในอดีต ที่มีผลใกล้เคียงกัน โดยผู้ทดลองที่มีแนวโน้มว่า “เวลาโกรธมักจะไม่แสดงออกให้คนอื่นรู้” และ “กลัวที่จะบอกความรู้สึกให้แก่ผู้อื่น” จะมีความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตาม เรารู้กันดีว่าปัญหาสุขภาพอย่างมะเร็งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เรื่องเล็กๆ อย่างการระบายอารมณ์ไม่เป็น ก็สามารถนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มมึนเมาเพื่อระบายความเครียด หรือการกินไม่หยุดเพราะความเครียด (Binge eating) ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งนั้น

Advertisements
Advertisements

#รู้จักระบายอารมณ์ให้ถูกวิธี

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเผยว่า คนเรานั้นยิ่งเก็บ ยิ่งโกรธ ยิ่งซ่อนความรู้สึก ยิ่งเสียใจ
ดังนั้น ขั้นตอนแรกของการระบายอารมณ์ให้ถูกวิธีคือ “เลิกมองข้ามและยอมรับความรู้สึกของตัวเอง”

แม้ว่ามันจะดูน่าอาย หรือไม่เป็นผู้ใหญ่แค่ไหนก็ตาม แต่เราต้องให้เกียรติความรู้สึกและยอมรับว่าสิ่งที่เรารู้สึก ณ ตอนนี้เป็นข้อเท็จจริง พอรับรู้แล้ว เราถึงจะสามารถทำความเข้าใจสาเหตุ และเดินหน้าต่อในการหาทางออกของอารมณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นพูดคุยกับคู่กรณี หรือระบายให้ใครสักคนฟัง

แต่ถ้าอยากจะเก็บเรื่องนี้ไว้ไม่บอกใคร การ “สื่อสารกับตัวเอง” ก็เป็นเรื่องสำคัญ เราอาจใช้วิธีพูดระบายกับตัวเอง หรือจดบันทึกเล่าให้ตัวเองฟัง สิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้เราระบายความรู้สึกออกมาแล้ว อาจจะเปลี่ยนมุมมองของเราต่อสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ก็ได้

จะเห็นได้ว่า การไม่ระบายความรู้สึกส่งผลต่อสุขภาพหลายอย่าง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องปล่อยอารมณ์ให้เต็มที่และลุกขึ้นมาตะโกนให้เต็มสูบทุกครั้งที่รู้สึกโมโห เราแค่อยากชวนให้คุณรู้จักตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีความรู้สึก เจ็บได้ ร้องไห้เป็น และรู้จักที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างถูกวิธีต่างหาก 🙂

อ้างอิง
– The Connection Between Depression and Anger : Arlin Cuncic, Verywell Mind – https://bit.ly/2Ted8qt
– Emotion Suppression and Mortality Risk Over a 12-Year Follow-up
: National Library of Medicine – https://bit.ly/2QRre0b
– CAN ALWAYS STAYING POSITIVE BE BAD FOR OUR HEALTH?
: Lucy Cousins, HCF – https://bit.ly/3i7aLjZ
– Social Hierarchy and Depression: The Role of Emotion Suppression : Carrie A. Langner, Elissa Epel, Karen Matthews, Judith T. Moskowitz, and Nancy Adler – https://bit.ly/3hTU9f7

#selfdevelopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า