มนุษย์เกิดมาคู่กับสัญชาตญาณการใช้ความรุนแรงมาแต่สมัยอดีต ควบคู่กับชุดความคิดที่ว่า “ใครที่เป็นผู้แข็งแกร่งที่สุด ผู้นั้นจะอยู่รอดปลอดภัย”
แนวคิดถูกตีแผ่แปรเปลี่ยนไปในรูปแบบของสงคราม การแก่งแย่งชิงดี วัฒนธรรมประเพณีสืบต่อ หรือแม้แต่ในแง่ของความบันเทิงเริงใจ เช่น การใช้ความรุนแรงในโลกแห่งกีฬาที่มีกติกาการแข่งขัน
‘กลาดิเอเตอร์’ คือชื่อเรียกนักต่อสู้ในอดีต และเป็นหนึ่งในกีฬายอดฮิตที่สุดของชาวโรมัน เรียกได้ว่า คนโรมันในอดีตอาจเสพย์ติดความรุนแรงและการนองเลือด มันคือเกมกีฬาแห่งการต่อสู้ที่ใช้ความเป็นความตายเป็นผลของการตัดสินชัยชนะ
ประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า กษัตริย์ติตุสแห่งโรม เคยจัดงานเทศกาลการแข่งขันด้วยเลือด เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับประชาชนต่อเนื่องถึง 100 วัน สัตว์ป่าถูกฆ่าตายไปถึง 9 หมื่นตัว! นี่ยังไม่นับรวมถึงชีวิตมนุษย์ที่ร่วมเทศกาลครั้งนั้น
ซึ่งสถานที่ประชันฝีมือของกลาดิเอเตอร์ คือ “โคลอสเซียม” ที่ได้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 72 หรือกว่า 2,000 ปีที่แล้ว ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน โดยเดิมทีเป็นที่ตั้งของพระราชวังของจักรพรรดิเนโร ซึ่งพระองค์ไปยึดมาจากที่ดินของประชาชน
จนกระทั้งจักพรรดิเนโรได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 68 เกิดการชิงพระราชบัลลังก์ระหว่าง จักรพรรดิเนโร และ จักรพรรดิเวสปาเซียน จนกระทั่งจักรพรรดิเวสปาเซียนทรงได้รับชัยชนะในการรบ และสถาปนาตนขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงมีความประสงค์จะเรียกความนิยมจากชาวโรมันกลับมา จึงสั่งให้ทุบพระราชวังเดิมของจักรพรรดิเนโรทิ้ง แล้วสร้างใหม่เป็นสนามกีฬาเพื่อให้เป็นศูนย์รวมการแข่งขันกีฬาในยุคนั้น ลานประลองโคลอสเซียมจึงได้เริ่มต้นขึ้น
โคลอสเซียม ยังทำให้นักประวัติศาสตร์หลายต่อหลายคน ต้องตกตะลึงในความสามารถของผู้คนสมัยนั้น เพราะใช้เวลาก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์เพียงแค่10 ปี และเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่มหึมาที่สามารถจุคนได้มากถึง 75,000 ที่นั่ง
นักสู้กลาดิเอเตอร์ส่วนใหญ่ เริ่มต้นจากการเป็นทาสหรือเชลยสงคราม และต้องโทษประหารชีวิต โดยจักรพรรดิจะสั่งให้นำมาต่อสู้กันเอง ฆ่ากันให้ตายเพื่อความสนุกสนาน กีฬาประเภทนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเต็มไปด้วยความสมจริง ของการนำเอาชีวิตมาเป็นเดิมพัน บางครั้งมีให้อาวุธอีกฝ่าย กับอีกฝ่ายต้องต่อสู้มือเปล่า บางครั้งให้สู้กับสัตว์ที่ดุร้าย อย่าง สิงโต เสือ หมี หรือกระทิงป่า เป็นต้น
เมื่อเกมกำลังจะจบลง ฝ่ายที่แพ้จะถูกคู่ต่อสู้ฆ่าทิ้งกลางสนาม จากนั้นฝ่ายผู้ชนะก็จะต้องไปต่อสู้กับกลาดิเอเตอร์คนต่อไป สู้ต่อไปเรื่อยๆ ล้มคู่ต่อสู้ไปเรื่อยๆ ชนะไปให้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะไม่เหลือคู่ต่อสู้อีก เพื่อเป็นนักสู้ยอดฝีมือเพียงหนึ่งเดียว และรางวัลที่จะได้มา คือ “อิสรภาพของชีวิต”
การต่อสู้จะเห็นผลแพ้ชนะก็ต่อเมื่อคู่ต่อสู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลมหายใจเสียชีวิตไปในที่สุด แต่ในบางการแข่งขันก็มีผู้ที่ขอยอมแพ้เกิดขึ้น จะมีการโหวตจากเหล่าผู้ชมในสนาม ว่าจะไว้ชีวิตผู้ที่ขอยอมแพ้ด้วยการโหวต อย่างการทำสัญลักษณ์ “ชูนิ้วโป้งเยี่ยม” เป็นการไว้ชีวิต หรืออีกสัญลักษณ์คือการ “ชูนิ้วโป้งคว่ำลง” เป็นสัญญาณให้ส่งมันให้ไปสู่สุขคติ และตะโกนอย่างสะใจว่า “ฆ่ามัน ฆ่ามัน ฆ่ามัน!”
เกล็ดน่าสนใจคือในอดีตนักสู้ที่เก่งๆ จะได้รับการยอมรับ และเป็นที่สนใจของสาวๆ ในเมืองเป็นจำนวนมาก สาวๆ เหล่านั้นยกย่องให้เขาเป็นดั่งฮีโร่ และจะนำกิ๊บติดผมของตัวเอง ไปแตะกับเลือดของตัวนักสู้ผู้ที่ชนะ และนำมันมาติดที่ผมของตัวเองเพื่อแสดงออกถึงการยอมรับยกย่องเชิดชู
ในเวลาต่อมามีการเปลี่ยนเกมกติกาใหม่ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อความสนุกเร้าใจมากกว่าเดิม องค์จักรพรรดิทรงอนุญาติให้คนธรรมดา หรือเหล่าทาสที่อยากได้รับการยอมรับ มีชื่อเสียง ยศฐาบรรดาศักดิ์และอิสรภาพในสังคม ให้ได้ประลองต่อสู้กับทหารยอดฝีมือของพระองค์ ถ้าชนะจะได้รางวัลเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นนักรบ และเงินรางวัลตอบแทน ทำให้คนเข้ามาร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก และต้องล้มตายจากความฝันเหล่านี้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน
ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมายมายเกี่ยวกับนักรบกลาดิเอเตอร์ และเรื่องราววัฒนธรรมยุครุ่งเรืองของชาวโรมันผู้เกรียงไกร โดยสามารถติดตามฟังต่อได้ในรายการ
Sport Journey Podcast EP.3 – Gladiator กีฬาโรมันที่เล่นกันเอาถึงตาย!
Author: Supakorn Thepvichaisinlapakun
Illustrator: Arisara Wanapan
อ้างอิง: