ช่วงใกล้ขึ้นปีใหม่แบบนี้ หัวข้อที่มนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนกำลังกังวลกันนอกจากเงินโบนัสและการเที่ยวพักผ่อน ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการ “เสียภาษี” ซึ่งปลายปีก็มักจะเป็นช่วงเวลาที่หลายๆ คนต้องเริ่มต้นการคำนวณภาษีเพื่อวางแผนการจ่ายภาษีและการลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
“ภาษี” คำๆ นี้หากพูดออกมาก็คงมีหลากหลายความรู้สึกจากมนุษย์เงินเดือนที่อยากจะบอก อยากจะถามหรือแม้แต่อยากจะหนีออกจากมันให้ไกล แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากความตายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหนีพ้นได้เลยก็คือ “ภาษี” ตรงกันข้ามเรากลับสามารถวางแผนบริหารการเสียภาษีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลงโดยไม่เป็นการหนีภาษี และนำเงินภาษีที่ได้รับกลับมานั้นไปสร้างประโยชน์ให้กับตัวเอง ครอบครัวและสังคมได้
ซึ่งหากใครที่เคยลองศึกษาเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีก็คงจะพอได้ยินกันมาบ้างว่า เราสามารถลดหย่อนภาษีได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การซื้อประกัน, การลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise, การบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองและการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF และ SSF ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสามารถลดหย่อนได้มากที่สุด โดยการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF และ SSF จะช่วยให้เราลดภาษีได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว
แต่การทำความเข้าใจและรู้จักวิธีการเลือกกองทุน RMF และ SSF ให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดนั้น ก็เป็นเรื่องที่มือใหม่ค่อนข้างสับสนกันพอสมควร วันนี้ Mission To The Moon จะมาลงลึกเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF และ SSF พร้อมทั้งวิธีการเลือกตั้งแต่ 0 จนสามารถเลือกลงทุนได้ด้วยตัวเอง
ทำความเข้าใจ กองทุน RMF และ SSF คืออะไร?
กองทุน RMF และ SSF ย่อมาจากคำเต็มว่า Retirement Mutual Fund (RMF : กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) และ Super Saving Fund (SSF : กองทุนรวมเพื่อการออม) โดยกองทุนทั้ง 2 แบบมีความเหมือนตรงที่เป็นกองทุนส่งเสริมการออมระยะยาวเป็นเวลา 5-10 ปีขึ้นไป แต่มีเงื่อนไขในการซื้อและถือครองที่แตกต่างกันคือ
[ ] ด้านระยะเวลาในการถือครอง : กองทุน SSF ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี เต็มแบบวันชนวัน ส่วนกองทุน RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) ถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรกและขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
[ ] ด้านจำนวนเงินลดหย่อนภาษี : ตามเกณฑ์การลดหย่อนภาษีแล้ว กองทุน RMF และ SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่กองทุน RMF สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนกองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกองทุน RMF, SSF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท
[ ] ด้านเกณฑ์ในการซื้อ : แต่ละบลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำในการเข้าซื้อที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุน SSF ของบลจ.กรุงไทยจะไม่มีจำนวนซื้อขั้นต่ำ มีเงินเพียง 1 บาทก็สามารถซื้อได้ ส่วนกองทุน RMF จะมีขั้นต่ำ 500 บาท แต่ความแตกต่างคือถ้าเราซื้อกองทุน SSF เราไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ในขณะที่กองทุน RMF เราต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี จนถึงอายุ 55 ปี
จากข้อมูลเงื่อนไขต่างๆ จะเห็นได้ว่ากองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาและคิดทบทวนว่าเราเหมาะสมกับกองทุนแบบไหนมากกว่ากัน ถ้าหากเราเสียภาษีในจำนวนเงินที่สูง ต้องการลดหย่อนภาษีให้ได้มากกว่า 200,000 บาท กองทุน RMF อาจจะเหมาะสมกับเรามากกว่า เพราะสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาท
ในขณะที่ถ้าเราไม่อยากซื้อกองทุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ต้องการซื้อครั้งเดียวแล้วถือครองไปให้ครบ 10 ปี การซื้อกองทุน SSF จะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กับเรามากกว่า นอกจากนี้ผู้ซื้อควรพิจารณาเรื่องอายุประกอบด้วยเช่น ถ้าอายุน้อยกว่า 45 อาจจะเหมาะกับ SSF มากกว่า RMF เพราะไม่ต้องรอถึงอายุ 55 ปี ก็ขายได้นั่นเอง
สรุปอินไซท์จาก NEXT INVEST เลือกกองทุนอย่างไรให้เหมาะสมกับสไตล์การลงทุน?
นอกจากเรื่องของจำนวนเงินในการซื้อ ระยะเวลาการถือครอง เกณฑ์ในการซื้อต่างๆ ที่เราควรสำรวจตัวเองก่อนที่จะซื้อกองทุนแล้ว “สไตล์หรือวิธีในการลงทุน” ของแต่ละคนนั้นก็เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจก่อนเพื่อให้เราสามารถเลือกกองทุนในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
ปัจจุบันมีกองทุนลดหย่อนภาษี RMF และ SSF หลากหลายธีมให้เราเลือกซื้อ แต่ถ้าหากเราเป็นมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจากจำนวนกองทุน RMF และ SSF ที่มีอยู่เป็นหลักร้อยกองทุนในตลาดนั้น เราควรเลือกกองทุนแบบไหน? วันนี้เรามีข้อมูลจาก Krungthai NEXT INVEST มาฝากกัน
โดยปกติก่อนที่เราจะลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งนั้น เราต้องรู้จักระดับความเสี่ยงที่เรารับได้และเป้าหมายทางการเงินก่อน ว่าเราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน สามารถสูญเสียเงินได้มากแค่ไหนและอยากให้เงินของเรางอกเงยกี่เปอร์เซ็นต์ หรือเราอาจจะไม่ต้องการผลตอบแทนจากการซื้อกองทุน RMF และ SSF แต่เราซื้อเพื่อสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเท่านั้น เมื่อเรารู้จักตัวเอง เราก็จะสามารถเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมและทำให้เราได้รับประโยชน์ที่มากที่สุดสำหรับตัวเอง
[ ] หากเราเป็นสายความเสี่ยงต่ำ : ไม่ชอบความผันผวนที่สูงและต้องการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ก็แนะนำให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้คุณภาพดี ที่มีความมั่นคงในระดับ Investment Grade และระดับความเสี่ยงควรอยู่ระหว่าง 1 (ความเสี่ยงต่ำ) – 4 (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)
[ ] หากเราเป็นสายเน้นการเติบโต : อยากให้เงินงอกเงยมากกว่าการซื้อตราสารหนี้ สามารถรับความเสี่ยงและความผันผวนได้สูง ก็แนะนำให้ลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ ที่มีโอกาสในการเติบโตสูง โดยต้องคัดเลือกหุ้นที่มีคุณภาพสูง รู้จักศึกษาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นจนรู้ว่าหุ้นนั้นมีพื้นฐานที่ดีและมีโอกาสเติบโต
[ ] หากเราต้องการให้เงินเติบโต แต่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ : ก็แนะนำให้ลงทุนในกองทุนหุ้นไทย ที่มีโอกาสเติบโตและสามารถหาจังหวะที่ดีในการลงทุนได้
[ ] หากเราต้องการสร้างพอร์ตการลงทุนหลักจากการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF : ก็ควรกระจายการลงทุนในหลากหลายธีมกองทุน จากหลากหลายประเทศและอาจจะต้องมองหาผู้บริหารกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถดูแลปรับพอร์ตของเราให้เหมาะสมกับทุกสภาวะตลาดได้
สำหรับมือใหม่แล้ว การเข้าใจสไตล์การลงทุนและลงมือเพื่อเลือกกองทุน RMF และ SSF เพื่อลดหย่อนภาษีด้วยตัวเองนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่จะเป็นอย่างไร? หากเรามีตัวช่วยในการลงทุนกองทุน RMF และ SSF ที่คัดสรรกองทุนลดหย่อนภาษีทั่วประเทศและทั่วโลก พร้อมกูรูมาช่วยแนะนำการลงทุนอย่างฟีเจอร์ NEXT INVEST บนแอปพลิเคชัน Krungthai Next ของธนาคารกรุงไทย
มอบความเชี่ยวชาญ สู่มือใหม่ในการลงทุน ด้วยฟีเจอร์ NEXT INVEST จาก Krungthai NEXT
ฟีเจอร์ NEXT INVEST เป็นฟีเจอร์ใหม่แกะกล่องบนแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทย ที่มีจุดเด่นคือ “การรวมทุกสินทรัพย์การลงทุนไว้ในแอปเดียว” ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุน ตราสารหนี้ พันธบัตรออมทรัพย์ หุ้นกู้และทองคำ โดยเน้นให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ง่ายและยังมีกองทุนรวมที่คัดสรรธีมเด่นจาก 9 บลจ. ชั้นนำมารวมไว้ด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสายตราสารหนี้ เน้นเสี่ยงต่ำ, สายอินเทรนด์เติบโตดีกับหุ้นต่างประเทศ, สารหุ้นไทย เติบโตไว หรือจะเป็นคนที่ต้องการสร้างพอร์ตกองทุนลดหย่อนภาษีให้เป็นพอร์ตการลงทุนหลักของตัวเอง แอปนี้ก็มีกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยบริษัทในเครือของ Fidelity International ที่เป็นมืออาชีพระดับโลกด้านการลงทุนที่คอยปรับพอร์ตให้ สอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจและตลาด ให้ทุกคนเลือกสรรกันมากมาย เช่น
[ ] กองทุนตราสารหนี้สำหรับสายเสี่ยงต่ำ : อย่างกองทุนเปิดกรุงไทยตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF4), กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (ชนิดเพื่อการออม) (KTSTPLUS-SSF)
[ ] กองทุนสายหุ้นต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน : อย่างกองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ เพื่อการออม/การเลี้ยงชีพ (KT-VIETNAM-SSF/RMF), กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ ฟันด์ ชนิดเพื่อการออม/การเลี้ยงชีพ (KT-HEALTHCARE-SSF/RMF) , กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อิควิตี้ ฟันด์ ชนิดเพื่อการออม/การเลี้ยงชีพ (KT-WEQ-SSF/RMF)
[ ] กองทุนสายหุ้นไทย ที่มีโอกาสเติบโต : อย่างกองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี เพื่อการออม (ชนิดเพื่อการออม) (KTESGS-SSF), กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KTSET50RMF)
[ ] กองทุนรวมผสมสำหรับสายบาลานซ์พอร์ตก็มีเช่นกัน : อย่างกองทุนเปิดกรุงไทย World Class Growth ชนิดเพื่อการออม (KTWC-GROWTH-SSF), กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Defensive ชนิดเพื่อการออม (KTWC-DEFENSIVE-SSF)
นอกจากนี้แอปสามารถสมัครใช้งานง่าย เพียง 2 นาทีก็สามารถลงทุนได้ ไม่ต้องใช้เอกสาร อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงทุกสินทรัพย์ทั่วโลกด้วยต้นทุนเพียง 100 บาท (เฉพาะกองที่ไม่มีขั้นต่ำ) และ NEXT INVEST ก็ยังมีกูรูด้านการลงทุนจากทีม Krungthai CIO Office มาช่วยแนะนำการลงทุนให้เราอีกด้วย เรียกได้ว่าไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทางก็สามารถลงทุนได้อย่างมืออาชีพ และหากใครที่ยังไม่รู้จะซื้อกองทุนตัวไหนเพื่อวางแผนจัดการเรื่องภาษีช่วงปลายปีนี้ ทาง NEXT INVEST ก็มีเมนูไฮไลท์กองทุนที่แนะนำสำหรับ SSF และ RMF ในแอปฯ Krungthai NEXT ให้อีกเช่นกัน เรียกได้ว่า “ครบ จบเรื่องการลงทุนในแอปฯ เดียว”
สำหรับผู้ที่สนใจ ตอนนี้ทาง App Krungthai NEXT ก็มีโปรโมชั่นพิเศษ รับกองทุน KTSTPLUS-A มูลค่า 100 บาทฟรี เมื่อซื้อกองทุน SSF/RMF ของ บลจ.กรุงไทยที่ร่วมรายการครบทุกๆ 50,000 บาทและสำหรับลูกค้าใหม่รับ Starbucks Card e-Coupon 100 บาท เมื่อเปิดบัญชีกองทุนผ่าน App Krungthai NEXT จำกัด 20,000 สิทธิแรกเท่านั้น
อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่ใช่บทความแนะนำการลงทุนและ “การเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง” ที่เราต้องนำเงินที่ได้จากการทำงานอย่างหนักมาเปลี่ยนสภาพเป็นสินทรัพย์ในรูปแบบของกองทุน เพราะฉะนั้นผู้ลงทุนก็ควรที่จะรู้จักความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ รู้เป้าหมายทางการเงินของตัวเอง และศึกษาในสินทรัพย์ที่จะลงทุนให้ละเอียด
หากใครที่สนใจก็สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมกันได้ในฟีเจอร์ NEXT INVEST ในแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงเปิดบัญชีลงทุน ได้ที่ https://info.krungthai.com/rgq8