PSYCHOLOGYอ๊ะ อ๊ะ ตาวิเศษเห็นนะ! งานวิจัยเผยยิ่งจับตามอง พนักงานยิ่งไม่อยากทำงาน

อ๊ะ อ๊ะ ตาวิเศษเห็นนะ! งานวิจัยเผยยิ่งจับตามอง พนักงานยิ่งไม่อยากทำงาน

เช็กอินทุกๆ สามชั่วโมง..

เจ้านายใช้ Remote Access แอบเข้ามาดู..
ต้องขยับเมาส์ตลอด จะได้รู้ว่าทำงานนะ..

และอื่นๆ อีกมากมาย! ปัจจุบันมีสารพัดวิธีที่บริษัทคิดค้นเพื่อ “จับตามอง” (หรืออาจจะเป็น “จับผิด”) พฤติกรรมของพนักงาน ในช่วงที่ต้อง Work From Home
การสำรวจพบว่าในช่วงเดือนเมษายนปี 2020 บริษัทต่างพากันหาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจับตามองพนักงาน จนการค้นหาบนเว็บไซต์นั้นเพิ่มขึ้นถึง 1,705% และยอดขายของระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เช่น ระบบเฝ้าสังเกตหน้าจอ ระบบติดตามการพิมพ์บนคีย์บอร์ด หรือระบบติดตาม GPS เป็นต้น
แต่การจับตามองเช่นนี้ทำให้พนักงานขยันและตั้งใจทำงานขึ้นจริงหรือ?
งานวิจัยบอกว่าไม่เลย! เพราะยิ่งทำแบบนี้พนักงานยิ่ง “ไม่อยากทำงาน”

Advertisements

ทำไมการจับตามองถึงส่งผลเสียมากกว่าผลดี

บทความเรื่อง Monitoring Employees Makes Them More likely to Break Rules จากเว็บไซต์ Harvard Business Review เล่าถึงงานวิจัยของดอกเตอร์เชส ธีล และทีมงาน ในงานวิจัยแรก พวกเขาสำรวจพนักงาน 100 คนทั่วสหรัฐอเมริกา ทั้งคนที่ถูกบริษัทจับตามองตอนทำงาน และ คนที่ไม่ถูกจับตามอง
ผลพบว่าพนักงานที่ถูกจับตามองนั้น มีแนวโน้มที่จะแอบอู้งาน ไม่ทำตามคำสั่ง ทำลายข้าวของบริษัท แอบขโมยของในออฟฟิศ และจงใจทำงานช้าๆในงานวิจัยต่อมาพวกเขาสำรวจพนักงานอีก 200 คน โดยให้พนักงานเหล่านี้ทำภารกิจบางอย่าง โดยบอกบางคนว่าพวกเขาถูกจับตาดูอยู่ ผลพบว่าพนักงานที่ ‘รู้ตัว’ ว่าถูกจับตามองมีแนวโน้มว่าจะ ‘โกง’ มากกว่าพนักงานคนอื่นๆ ที่ไม่รู้ว่าถูกสอดแนม

Advertisements

ทำไมยิ่งถูกสอดส่องยิ่งอยากแหกกฎ

โดยปกติแล้วมี 2 ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ทำในสิ่งที่ถูกต้อง 1) ถูกบังคับจากปัจจัยภายนอก เช่น กฎ การลงโทษ หรือการให้รางวัล และ 2) ทำเองเพราะมีศีลธรรมในใจ
ในกรณีนี้ ผลวิจัยแสดงให้เราเห็นว่า เมื่อพนักงานรู้ตัวว่าถูกจับตามอง พวกเขามักจะรู้สึกว่าบริษัทไม่เชื่อใจ และ มองว่าพวกเขาไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ทำให้พวกเขาเลือกที่จะทำผิดกฎนั่นเอง
ในการทดลอง พนักงานบางคนมองว่า คนที่ต้อง ‘รับผิดชอบ’ การกระทำนั้นไม่ใช่พวกเขา แต่เป็น ‘หัวหน้าที่คอยสอดส่อง’ พวกเขาต่างหาก ในทางตรงกันข้าม พนักงานที่ไม่ถูกสอดแนมมักจะรับผิดชอบการกระทำของตนเองมากกว่า ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด

แล้วบริษัทต้องใช้วิธีไหนในการติดตามการทำงานของพนักงาน

แม้การจับตามองพนักงานจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทต้องเปลี่ยนวิธีใหม่ทั้งหมด! เพราะงานวิจัยยังพบอีกว่า หากพนักงานรู้สึกว่าพวกเขาได้รับ ‘ความยุติธรรม’ พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมต่อต้าน
เช่น การอธิบายให้ชัดเจนว่าบริษัทจะสอดส่องอย่างไรบ้าง จะได้ข้อมูลอะไรไปจากพนักงานบ้าง และบริษัทจะนำข้อมูลอย่างนี้ไปใช้งานอย่างไร หากเป็นไปได้ ควรให้สิทธิ์พนักงานในการเข้าดูข้อมูลที่ถูกเก็บไปได้ด้วย
และถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น ข้อมูลที่เก็บไปควรสร้างประโยชน์ให้แก่พนักงาน เช่น ข้อมูลพบว่าพนักงานใช้เวลาในการทำงานพาร์ต A นานเกินจำเป็น บริษัทควรวิเคราะห์ต่อว่า ‘เพราะอะไร’ ถึงใช้เวลานาน
ถ้าเป็นเพราะความจุกจิกของงาน อาจมีการแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น หรือ ถ้าเป็นเพราะพนักงานไม่ถนัดงานนั้นๆ บริษัทควรอนุญาตให้พนักงานลงเรียนเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาตนเอง

แม้จะไม่ใช่วิธีที่หลายคนชอบนัก แต่การจับตามองพนักงานเป็นสิ่งที่หลายบริษัทจำเป็นต้องทำ ดังนั้นควรใช้อย่างระมัดระวังและถูกต้อง สื่อสารกับพนักงานอย่างชัดเจนและโปร่งใส ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีนะ!

อ้างอิง
https://bit.ly/3Injrxr

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Tanyaporn Thasak
Tanyaporn Thasak
ผู้โดยสารคนหนึ่งบนยาน Mission To The Moon ที่หลงใหลในวรรณกรรม ภาพยนตร์ บทกวี การอ่าน การเขียน และการนอน

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า