PSYCHOLOGYเช้าแล้วยังอยู่บนที่นอน! “โรคเสพติดการนอนหลับ” มีจริงหรือแค่ชอบนอน?

เช้าแล้วยังอยู่บนที่นอน! “โรคเสพติดการนอนหลับ” มีจริงหรือแค่ชอบนอน?

“เช้าแล้วยังอยู่บนที่นอน อยากอยู่อย่างนี้เงียบๆ คนเดียว ไม่ทำอะไร ไม่คุยกับใคร”

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยมี ‘วันเตียงดูด’ ที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าไม่อยากลุกออกจากเตียง ไม่พร้อมออกไปใช้ชีวิต ขอนอนสบายๆ อีก 5 นาทีค่อยลุก แล้วก็เผลอใจอนุญาตให้ตัวเองต่อเวลาออกไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็หมดวัน ภารกิจที่มีหรือสิ่งที่ควรจะต้องทำ ก็ต้องเลื่อนและยกไปไว้วันถัดไปแทน กลายเป็นว่าต้องผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จากอาการไม่อยากลุกจากเตียงของเรา

และอย่างที่เรารู้กันดีว่า มนุษย์อย่างเราๆ จำเป็นที่จะต้องได้นอนวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคนอาจมีความรู้สึกอยากนอนมากกว่านั้น รวมถึงการหลับระหว่างวันที่มากเกินความจำเป็น จนดูเหมือนกับว่ากำลัง “เสพติดการนอน” ไม่ต่างจากติดเหล้าหรือติดยา เพียงแต่เปลี่ยนวิธีเสพเป็น ‘การนอน’ เท่านั้น

จริงอยู่ที่การชอบนอนไม่ใช่เรื่องผิด แต่การนอนมากจนเกินไป ก็ส่งผลเสียได้ไม่แพ้การอดนอนด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจะชวนทุกคนที่กำลังเคลิบเคลิ้มไปกับการได้นอนทั้งวัน หาคำตอบว่าอาการเสพติดการนอนหลับมีจริงไหม แล้วเราควรเป็นกังวลมากแค่ไหนกันกับอาการนี้?

เข้าใจพฤติกรรมการเสพติด

จากคำอธิบายทางการแพทย์ระบุว่า “การเสพติด” คือภาวะที่เกิดจากการใช้ ‘สาร’ หรือการทำ ‘พฤติกรรม’ บางอย่างโดยไม่สามารถหยุดหรือห้ามตัวเองได้ ทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่าอาจเกิดผลเสียที่อันตรายทั้งต่อตนเองหรือคนอื่น

แต่ในขณะที่การนอนหลับคือ ‘กลไก’ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด ซึ่งต่างจากการติดยาหรือแอลกอฮอล์ซึ่งส่งผลเสียและอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นอาการเสพติดการนอนหลับจึง ‘ไม่มีจริง’ และไม่ถือเป็นการเสพติด เจ็บป่วยหรือโรคร้ายใดๆ

Advertisements

ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนมากเกินไป

การนอนเยอะเกินไปหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องดี ได้นอนเยอะขึ้น การพักผ่อนก็ย่อมได้เยอะขึ้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย เพราะการนอนเยอะ อาจส่งผลเสียกับร่างกายกว่าที่เราคิด

ในส่วนของผลข้างเคียงในระยะยาว การนอนเยอะกว่าปกติ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากภาวะฮอร์โมนแปรปรวน ทำให้ระดับของ ‘เซโรโทนิน’ และ ‘เอ็นโดรฟิน’ นั้นลดต่ำลง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น โรคหัวใจและโรคอ้วน โดยจากการวิจัยหนึ่งพบว่า กลุ่มคนที่นอนหลับ 9-10 ชั่วโมงในทุกๆ คืน ในระยะเวลา 6 ปี มีโอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนมากกว่าคนที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงกว่า 21 เปอร์เซ็นต์

ในระยะสั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจากการนอนเยอะเกินความจำเป็นคือร่างกายไม่สดชื่น สมองเฉื่อยชา ปวดหลัง หรือบางคนอาจมีอาการปวดหัวตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน การมีสติจดจ่อกับงานตรงหน้าของเราลดลงเช่นกัน

แต่ถึงแม้การเสพติดการนอนหลับจะไม่ใช่โรคโดยตรง แต่ผลกระทบก็ร้ายแรงไม่น้อยเลย ทำให้เราจะต้องมาดูกันที่ “สาเหตุ” ว่าการที่เรานอนมากเกินไปนั้นเกิดจากอะไรกันแน่

Advertisements

นอนมากเกินไปเกิดจากอะไรได้บ้าง

นอกจากความต้องการของเราที่อยากจะนอนมากขึ้นแล้ว อีกสาเหตุของการนอนเยอะกว่าปกติ อาจเกิดมาจาก ‘ความผิดปกติของการนอน’ หรือ Sleep Disorders ที่ร้ายแรงละควรระวังเป็นอย่างยิ่ง

โดยอาการความผิดปกติของการนอน (Sleep Disorders) สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป

[ ] ‘Hypersomnia’ โรคนอนมากเกินไป
ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากนอนแทบจะตลอดเวลา สามารถงีบระหว่างวันได้หลายครั้ง

[ ] ‘Narcolepsy’ โรคลมหลับ
ผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะมีลักษณะที่เผลอหลับไปโดยไม่ทันตั้งตัว ปราศจากอาการเตือนล่วงหน้า

[ ] ‘Idiopathic Hypersomnia’ โรคนอนกลางวัน
ส่งผลให้เราอยากนอนระหว่างวันตลอดเวลา และมีปัญหาในการพยายามตื่น

[ ] ‘Sleeping Beauty Syndrome’ โรคนอนนานเกินไป (เจ้าหญิงนิทรา)
เกิดจากความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้บางคนอาจต้องนอนนานเป็นวัน ไปจนถึงสัปดาห์

[ ] ‘Dysania’ โรคติดเตียง (เตียงดูด)
รู้สึกอยากนอนตลอดเวลา ไม่อยากลุกออกจากเตียง ตื่นยาก อ่อนเพลีย ซึ่งไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ แต่เป็นอาการทางจิตเวช

หลับเยอะเกินไปไม่ใช่โรค

อาการผิดปกติทางการนอนหลับเหล่านี้ ยากที่จะจำแนกและรักษาด้วยตัวเองได้ ซ้ำยังส่งผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะความอ่อนล้า ปัญหาสุขภาพ รวมถึงกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อไรที่การนอนหลับและสภาพร่างกายของเรามีปัญหา ก็ไม่ควรมองข้าม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องในระยะยาว โดยปัจจุบันมีวิธีการ Sleep Test ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับได้

ดังนั้น แม้ว่าอาการเสพติดการนอนหลับจะไม่ถูกนับเป็น ‘โรค’ อย่างเป็นทางการ แต่ที่มาของความรู้สึกนอนไม่พอ หรืออยากนอนมากผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นจากพฤติกรรม ความเครียด ไปจนถึงความผิดปกติของการนอน ก็เป็นสิ่งที่น่าให้ความกังวลและจัดการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

อ้างอิง
https://bit.ly/3Pa3YEa
https://bit.ly/3vKTyDh
https://bit.ly/38VkXco

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Pannawit Thavarawuth
Pannawit Thavarawuth
นักหิวข้าวมันไก่ ที่ชอบเรื่องสนุก ๆ และเชื่อในคำว่า "Now or Never"

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า