PSYCHOLOGYคิดมากไปก็ปวดหัว! รวม 7 เทคนิค “หยุดคิดมาก” เมื่อสมองคิดแต่เรื่องเดิมซ้ำ ๆ

คิดมากไปก็ปวดหัว! รวม 7 เทคนิค “หยุดคิดมาก” เมื่อสมองคิดแต่เรื่องเดิมซ้ำ ๆ

‘เพื่อนร่วมงานจะไม่ชอบในสิ่งที่เราพูดหรือเปล่านะ’
‘ทำไมคนคุยถึงตอบสั้นจัง เขาไม่อยากคุยแน่เลย..’

ไม่แปลกหากเราจะเคยมีความคิดเช่นนี้ บางครั้งมนุษย์เราก็ “คิดมาก” เป็นเรื่องปกติ แม้แต่การกระทำเล็กๆ หรือสีหน้าของคนอื่น ก็กลายมาเป็นคำถามใหญ่ให้เราครุ่นคิดได้ทั้งวัน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าการคิดมากจนเกินไปนั้น อาจส่งผลเสียต่อความเป็นอยู่ที่ดีและก่อปัญหาสุขภาพจิตได้

รู้ทั้งรู้ว่าไม่ดี แต่จะให้เลิกคิดมากนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย!

“ก็ไม่ต้องไปคิดถึงมันสิ” นี่อาจเป็นคำตอบที่คุณได้จากการปรึกษาเพื่อน ซึ่งฟังดูง่าย แต่จริงๆ แล้วทำยากมากๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อ่อนไหวเป็นพิเศษ (Highly Sensitive People) เพราะการไม่คิดนั้นยากพอๆ กับการห้ามไม่ให้พวกเขากะพริบตาเลย

เพราะคนเราต่างกัน วิธีที่ได้ผลจึงต่างกันไป วันนี้ Mission To The Moon จึงได้รวบรวมสารพัดวิธีหยุดคิดมากมาฝาก เรามาลองดูดีกว่าว่านอกจากการพยายามไม่คิด จะมีวิธีอะไรอีกบ้าง

1) สำรวจความคิดและเขียนระบายออกมา

Advertisements

หลายคนมี “Automated Negative Thoughts” (ANTs) หรือความคิดลบในการตอบสนองโดยอัตโนมัติ ราวกับระบบประสาทที่ทำให้เข่าของเราเด้ง เมื่อถูกคุณหมอเคาะ

แต่แทนที่จะหมกมุ่นกับความคิดลบๆ และจินตนาการถึงสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น (หรือที่เรียกกันว่า Worst-case Scenario นั่นเอง) ลองถอยออกมาและสำรวจตัวเองก่อนว่า วิธีที่เราตอบสนองต่อสถานการณ์เป็นอย่างไร

เรารู้สึกอย่างไรและตอบสนองอย่างไร? ลองจดความคิดและความรู้สึกของตัวเองลงในกระดาษ วิธีการนี้เองเรียกว่า “Brain Dump” ซึ่งเป็นการย้ายความคิดอันยุ่งเหยิงในหัวไปใส่กระดาษ และให้สมองของเรามีพื้นที่ในการจัดการสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบัน

การตระหนักรู้ฟังดูเป็นเรื่องเล็ก แต่สิ่งนี้เองจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการรับมือให้แก่เรา

2) หาอะไรมาดึงความสนใจและลงมือทำทันที!

เคยทำอะไรที่เราอินมากๆ แล้วรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วไหม? อย่างการเล่นเกม ทำอาหาร ออกกำลังกาย หรือออกไปพบปะเพื่อน ลองหันมาทำกิจกรรมที่ชอบเหล่านี้ดู แม้จะรู้สึกว่าตัวเองหยุดคิดไม่ได้แน่ๆ แต่ก็ลองทำสัก 30 นาทีก่อน บางทีมันอาจจะกลายเป็น 1-2 ชั่วโมงโดยไม่รู้ตัวก็ได้นะ

หรืออาจเป็นการล้างจาน ทำงานบ้าน และทำความสะอาดโต๊ะทำงานก็ได้ ลองถามตัวเองว่า มีอะไรเล็กๆ น้อยๆ ที่เราลงมือทำได้ทันทีตอนนี้บ้าง? จากนั้นก็เริ่มลงมือเลย!

3) มองภาพใหญ่

ถามตัวเองว่า “ปัญหานี้จะอยู่กับเราไปตลอด 5-10 ปีเลยหรือเปล่า”
และ “มันจะยังสำคัญกับเราอยู่ไหมถ้าเวลาผ่านไปขนาดนั้น” ในการหาคำตอบ หลายคนอาจจะพบว่าอีก 5-10 เรื่องนี้คงกลายเป็นเรื่องเล็ก หรือไม่ก็ป่านนั้นเราคงแก้ปัญหาได้แล้ว

4) เตือนตัวเองว่าเรารับมือไหว!

เพราะอยู่ในโลกที่คนโพสต์ถึงความสำเร็จของตัวเองตลอดเวลา เราจึงรู้สึกด้อยค่ากว่าอย่างช่วยไม่ได้ แน่นอน ความรู้สึกนี้ช่วยให้เราอยากพัฒนาตนเอง แต่ถ้าหากมากไป ‘ความไม่มั่นใจในตัวเอง’ นี้อาจเป็นสาเหตุให้เราคิดมากบ่อยๆ

เราจะสัมภาษณ์งานผ่านหรือเปล่า? หรือเดตครั้งนี้จะประทับใจอีกฝ่ายไหม? ความคิดเหล่านี้วนในหัวไม่หยุด

อีกวิธีนอกจากการเขียนระบายที่แนะนำไปในข้อ 1 ลองเขียนถึง ‘ข้อดี’ และ ‘ความสำเร็จ’ ที่ผ่านมาของตัวเองดู บางทีสิ่งที่เราต้องการอาจเป็นการย้ำเตือนว่า ฉันเองก็เก่งและมีความสามารถไม่แพ้ใคร ดังนั้นทุกอย่างอาจจะเป็นไปด้วยดีก็ได้นะ (หรือถ้าหากออกมาไม่ดี เราก็หาทางแก้ไขได้แน่ๆ)

Advertisements

5) ช่วยเหลือคนอื่น

เคยไหม? บางทีก็สนใจแต่เรื่องคนอื่นจนเกินจำเป็น ถ้าเคยเป็นบ่อยๆ ทำไมไม่ใช้ประโยชน์จากมันเสียเลย!

การช่วยแก้ปัญหาให้คนรอบตัวก็เป็นการดึงความสนใจจากเรื่องของเราเอง ให้ไปโฟกัสเรื่องของคนอื่นชั่วคราว เราสามารถใช้สมอง สมาธิ หรือแรงกายในการเผชิญหน้ากับความท้าทาย ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องเครียดมากจนปวดหัว เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความท้าทายนั้นก็ไม่ใช่เรื่องของเราเอง

ยิ่งไปกว่านั้น การได้ยื่นมือไปช่วยผู้อื่น แม้จะสำเร็จมากหรือน้อย ก็ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองได้เหมือนกันนะ

6) นั่งสมาธิ

เราอาจเบื่อเพราะได้ยินคนบอกเช่นนี้บ่อยครั้ง แต่ว่าการนั่งสมาธิเป็นวิธีที่ได้ผลจริงๆ! ลองหาเวลาสัก 5-10 นาที พักสมองตัวเองจากความคิดวุ่นวาย และโฟกัสว่าร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ขณะที่สูดลมหายใจเข้า-ออก

7) มี SupportSystem คอยรองรับ

คนในครอบครัวหรือเพื่อนคนไหนบ้าง ที่ปลอบโยนเราได้ดีเวลาเกิดปัญหา? ใครบ้างที่เราสบายใจหากต้องระบายแม้แต่ปัญหาเล็กๆ ประจำวันให้ฟัง? ลองบอกเล่าและขอความช่วยเหลือจากคนเหล่านี้ดู

แม้ในบางครั้งพวกเขาอาจแก้ปัญหาให้ไม่ได้ แต่ในระหว่างที่สมองเรา ‘เรียบเรียง’ เพื่อเล่าออกมา เราอาจได้มองเรื่องราวจาก ‘แง่มุมใหม่’ และนึกได้ว่ามันก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดนะ


อาการคิดมาก แม้จะจัดการยากแต่เราก็ทำให้มันเบาบางลงได้ ดังนั้นแทนที่จะปล่อยให้ตัวเองคิดมากไปเรื่อยๆ จนเสียสุขภาพจิต ลองจัดการกับมันด้วยวิธีเหล่านี้ดู หรือถ้าหากคุณผู้อ่านมี “วิธีหยุดคิดมาก” ที่ตัวเองทำแล้วได้ผล ลองแบ่งปันกันมาในคอมเมนต์ได้เลย

อ้างอิง
https://bit.ly/3PVzupA
https://bit.ly/3zh0HgC

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า