เข้าใจความท้าทายที่ชาว LGBTQ+ ต้องเผชิญในที่ทำงาน จากรายงานของ McKinsey & Company 

868
LGBTQ+

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา องค์กรหรือบริษัทต่างๆ เริ่มมีความเข้าใจและตระหนักในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ทว่า พนักงาน LGBTQ+ จำนวนมากยังคงเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ รู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกไม่ปลอดภัยในที่ทำงาน เพื่อให้พวกเขารู้สึกกลมกลืน และสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ องค์กรจำเป็นต้องมีนโยบายที่ครอบคลุมมากกว่านี้

เพื่อทำความเข้าใจปัญหาของชาว LGBTQ+ ที่เผชิญในที่ทำงาน และเพิ่มความตระหนักรู้ถึงปัญหาสังคมในแง่มุมที่กว้างขึ้น เราจึงหยิบยกข้อมูลงานวิจัยของ McKinsey & Company โดยเป็นข้อมูลจากการสำรวจพนักงาน LGBTQ+ มากกว่า 2,000 คน ในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ผู้ตอบแบบสอบถามมีตั้งแต่ตำแหน่งพนักงานระดับเริ่มต้น ไปจนถึง CEO นอกจากนี้ ยังมีบทสัมภาษณ์ของสมาชิกจำนวนหนึ่งใน The Alliance ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้นำ LGBTQ+ ระดับโลก จากภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานช่วยเหลือสังคม ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ชีวิตการทำงานในฐานะ LGBTQ+ 

Advertisements

และนี่คือ 5 ประเด็นที่ชาว LGBTQ+ ต้องพบเจอในที่ทำงาน

1. ไม่กล้าแสดงตัวตนว่าเป็น LGBTQ+ ให้สังคมรับรู้

Nicola Northway นักกฎหมายและผู้บริหารระดับสูงของ FTSE กล่าวว่า เขาไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงในทำงานได้ เพราะมันมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง  อีกทั้งยังเครียดและทำให้ร่างกายอ่อนแออีกด้วย ซึ่งการวิจัยของ McKinsey พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 37% รู้สึกว่าการแสดงตัวตนที่แท้จริงในที่ทำงานทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายใจและพนักงานทั่วโลกที่เป็น LGBTQ+ มากกว่าหนึ่งในสี่ไม่ได้ออกไปทำงาน ส่วนคนที่จำเป็นต้องออกบ่อยก็ต้องออกซ้ำแล้วซ้ำเล่า และพวกเขามักจะได้ยินคำถามที่กระอักกระอ่วนใจอยู่เสมอ เช่น สามีคุณทำงานอะไร คุณมีลูกหรือเปล่า เป็นต้น

2. รู้สึกโดดเดี่ยวจากผู้อื่น

“ฉันเป็นคนผิวสีเพียงคนเดียวและเป็นหนึ่งในสมาชิก LGBTQ+ จากสองคนเท่านั้น และคณะกรรมการเดียวที่พวกเขาขอให้ฉันเข้าร่วมคือการประชุมความหลากหลาย” 

จะเห็นได้ว่า หนึ่งในปัญหาที่ชาว LGBTQ+ กำลังเผชิญอยู่คือการถูกลดบทบาทและไม่ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร Suresh Raj ผู้บริหาร Global CGO กล่าวว่า “ฉันเหมือนใช้ชีวิตคนเดียวในองค์กร สิ่งนี้ทำให้เขารู้สึกวิตกกังวล โดดเดี่ยว” และความโดดเดี่ยวนี้ทำให้เขาต้องเผชิญกับแรงกดดันในที่ทำงานเพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกัน พวกเขาถูกคนอื่นมองว่าเป็น “คนเดียว” ในองค์กรหรือในทีม เช่น คนข้ามเพศเพียงคนเดียวในแผนก เป็นต้น จากการตอบแบบสำรวจ พบว่า จำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจ LGBTQ+ คิดว่าตัวเองมีผู้สนับสนุนในหน้าที่การงาน และสิ่งนี้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวเช่นกัน

3. มีอุปสรรคต่อการก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

เพื่อนร่วมงานกล่าวกับ LGBTQ+ คนหนึ่งว่า “การสนับสนุนในหน้าที่การงานจะไม่เกิดขึ้น ตราบใดที่คุณเป็นคนผิวดำและเป็น LGBTQ+”

พนักงาน LGBTQ+ มีแนวโน้มว่าจะเจอการเลือกปฏิบัติจากลูกค้า ผู้ขายหรือพันธมิตรทางธุรกิจ อย่างเช่น ที่ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งเล่าถึงเหตุการณ์ที่ลูกค้าขอให้บริษัทถอดเขาออกจากทีม เพราะพวกเขาไม่พอใจที่มีคนหลากหลายทางเพศอยู่ในโครงการ ในขณะเดียวกัน หลายคนเชื่อว่าชาว LGBTQ+ ต้องมีผลงานที่ดีกว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่ใช่ LGBTQ+ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าพนักงานข้ามเพศและผู้ที่เป็น Non-Binary มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานระดับเริ่มต้นมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็น LGBTQ+ อีกด้วย

4. สวัสดิการที่ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกมีส่วนร่วมในที่ทำงาน

“มันไม่เหมาะสมที่จะไม่มีนโยบายการลาเกี่ยวกับครอบครัว ฉันอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวก็ได้”

Jevan Soo Lenox ผู้บริหารด้าน Chief People and Culture จากบริษัท Stitch Fix มองว่าองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีกับพวกเขามากนัก อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลแบบครอบคุลมพนักงาน LGBTQ+  ห้องน้ำแบบไม่จำกัดเพศหรือไม่ระบุเพศ เป็นต้น และที่สำคัญ พนักงาน LGBTQ+ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกมีส่วนร่วมในที่ทำงานมากขึ้น หากผู้นำให้ความสำคัญกับความหลากหลายและรวมสิ่งนี้เป็นหนึ่งในการจัดการในองค์กร 

เพื่อให้เกิดการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้นำมีความสำคัญพอๆ กับนโยบายขององค์กรเช่นกัน ท่ามกลางมาตรการอื่นๆ ผู้นำสามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนโดยเลือกใช้ภาษาที่ครอบคลุมมากขึ้น ให้การฝึกอบรมพนักงานและจัดการกับอคติที่เกิดขึ้นระหว่างกัน

5. ความเจ็บปวดจากคำพูดที่ทำร้ายจิตใจและถูกด่วนตัดสินจากคนรอบข้าง

คำพูดจากคนรอบข้างมักทำร้ายจิตใจพวกเขาอยู่บ่อยครั้ง ชาว LGBTQ+ มากกว่า 60% กล่าวว่าพวกเขาจำเป็นต้องแก้ไขความเข้าใจที่เพื่อนร่วมงานมีต่อชีวิตส่วนตัวของพวกเขา บางคนต้องเผชิญกับประสบการณ์อันน่าเจ็บปวดจากการเรียกเพศผิด หรือถูกอ้างถึงโดยใช้คำสรรพนามที่ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง

เราทุกคนล้วนเป็นพลเมืองคนหนึ่งที่ควรได้รับสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น หรือมีสิทธิ์ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งการที่จะทำให้คนทุกคนรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร คือหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องจัดการ ซึ่งรายงานของ McKinsey & Company ได้เสนอมาตรการ  6 ข้อ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้

Advertisements

1) ไม่ก้าวก่ายหรือตั้งสมมติฐานชีวิตส่วนตัวที่ก่อให้เกิดความอับอาย

2) กล่าวถึงพนักงานที่เป็น LGBTQ+ เหมือนกับการพูดถึงคนทั่วไป

3) จัดอบรมพนักงานในองค์กรเพื่อส่งเสริมเพื่อนร่วมงาน LGBTQ+

4) เสริมสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน LGBTQ+ ด้วยการจ้างพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ ผิวดำหรือบุคคลทุพพลภาพ

5) สร้างเครือข่ายหรือกลุ่มพันธมิตรเพื่อสนับสนุนพนักงาน LGBTQ+

6) จัดทำนโยบาย สวัสดิการให้ครอบคลุมแก่พนักงาน LGBTQ+

จากสัมภาษณ์ของพนักงาน LGBTQ+ และเพื่อนร่วมงานของพวกเขาที่ไม่ได้เป็น LGBTQ+ ล้วนบอกว่า การเปิดกว้างความหลากหลายทางเพศในที่ทำงานทำให้พวกเขามีความเห็นอกเห็นใจและมีใจที่เปิดกว้างมากขึ้น

ประโยชน์ของการเปิดกว้างแก่คนทุกคนนั้นมีผลดีกว่าที่คิด เพราะคนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างที่หลากหลาย และมีความสามารถในแบบของตนเองที่สามารถพัฒนาองค์กรได้ การเปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็สามารถทำให้เกิดผลดีต่อการทำงานทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น ผู้บริหารควรเล็งเห็นความสำคัญและจัดทำนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกเขามากกว่านี้ได้แล้ว


แปลและเรียบเรียงจาก :
https://mck.co/2WUDn7C

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society

ติดตามความเคลื่อนไหวและเนื้อหาน่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/

Advertisements