PSYCHOLOGY“มีอะไรก็บอกเราได้เสมอ” 8 วิธีสร้าง Emotional Safety พื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์

“มีอะไรก็บอกเราได้เสมอ” 8 วิธีสร้าง Emotional Safety พื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์

คงจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหม ถ้าเรามีคนที่เล่าให้ฟังได้เกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศร้า น่าโมโห น่ากังวล หรือน่าอาย เราก็บอกได้หมดทุกอย่างแบบไม่ต้องกลัวว่าอีกฝ่ายจะ ‘ตัดสิน’ หรือ ‘วิ่งหนี’ ไปเสียก่อน

ในทางตรงกันข้าม การมีความสัมพันธ์ที่ทั้งสองต้องปกปิดอารมณ์ที่แท้จริงจากอีกฝ่าย ไม่กล้าที่จะอ่อนแอ และต้องเสแสร้งว่า ‘เราโอเค’ เกือบตลอดเวลา ก็ฟังดูแย่ไม่น้อยเลยเช่นกัน

ความสัมพันธ์ที่เป็นราวกับ “พื้นที่ปลอดภัยทางใจ” ในแบบแรก ดูจะเป็นสิ่งที่เกือบทุกคนอยากมีในความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกความสัมพันธ์จะเป็นเช่นนั้น
…และหลายๆ คนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าจะทำให้อีกฝ่ายสบายใจได้อย่างไร

ในบทความนี้เราจะพามารู้จัก “Emotional Safety” หรือความรู้สึกปลอดภัยทางใจในความสัมพันธ์ ที่จะพาเราและคนรักใกล้ชิดกันให้มากขึ้นอีกขั้น มาเรียนรู้กันว่าสิ่งนี้คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ และเราจะสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร

รู้จัก Emotional Safety #พื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์

พื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์ หมายถึง การที่ทั้งสองฝ่ายรู้สึกปลอดภัยที่จะเป็นตัวเอง กล้าที่จะแชร์ความคิดเห็น ความรู้สึก และความกังวลได้ โดยที่รู้สึกว่าอีกฝ่ายรับฟัง ไม่มองข้าม และไม่ได้ตัดสินเรา

ในความสัมพันธ์ที่ดี (หรือ Healthy Relationship) นั้น สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอยู่ฝ่ายเดียว แต่ทั้งสองฝ่ายจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกัน ดังนั้นหมายความว่า นอกจากเราจะรับฟังอีกฝ่ายแล้ว เราต้องกล้าแสดงตัวตนและความรู้สึกจริงๆ ของเราให้อีกฝ่ายเห็นด้วยนะ
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้เราและคนข้างๆ รู้สึกปลอดภัยในความสัมพันธ์

8 วิธีสร้าง #พื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์ 

มีหลากหลายวิธีในการสร้างรักดีๆ ให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ ตั้งแต่การเคารพขอบเขต การเป็นผู้ฟังที่ดี (Active Listener) ไปจนถึงการซื่อสัตย์ต่ออีกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีพื้นฐานเช่นนี้ หลายๆ คนคงรู้กันดีและทำอยู่แล้ว

วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 8 เทคนิคเล็กๆ ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ความสัมพันธ์ แต่เป็นแบบฉบับที่ “ทำได้จริง” และ “ทำได้ตั้งแต่วันนี้” มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง!

Advertisements

1) เริ่มต้นประโยคด้วยคำว่า “ฉันรู้สึก..”

เมื่อรู้สึกหงุดหงิด เสียใจ หรือ น้อยใจ แทนที่จะโพล่งไปเลยว่า “เธอไปไหนมาไหนไม่บอกกันเลย!” ลองเปลี่ยนประโยคเป็นแบบนี้ดู :: ฉันรู้สึก…(ความรู้สึก) + เมื่อเธอทำ… (การกระทำ) + เพราะว่า…(เหตุผลหรือสิ่งที่ต้องการ)

เช่น “ฉันรู้สึกน้อยใจที่เธอไปไหนมาไหนไม่บอก ฉันอยากให้เธอเล่าให้กันฟังบ้าง เพราะฉันอยากรู้ชีวิตประจำวันของเธอ”
ความไม่พอใจหรือความไม่เข้าใจกันเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ ในความสัมพันธ์ แต่แทนที่เราจะบอก อีกฝ่ายด้วยคำพูดที่เน้นการกระทำของอีกฝ่าย ฟังดูแล้วคล้ายกับจะชี้ว่าอีกฝ่ายผิด (อย่าง เธอทำแบบนั้น หรือ เธอทำแบบนี้) ลองเริ่มต้นประโยคด้วยความรู้สึกของเราดู

2) ถามมากกว่ากล่าวโทษ

หากเราสงสัยหรือมีอะไรข้องใจ การถามอย่างจริงใจจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการกล่าวโทษอีกฝ่าย ด้วยสมมติฐานหรือการด่วนสรุป
ยกตัวอย่างเช่น..
“ทำไมถึงไม่สนใจกันบ้างเลย” → “ช่วงนี้เธอยุ่งหรือเปล่าถึงไม่ค่อยได้คุยกัน”

3) เลี่ยงใช้คำที่ฟันธงอย่างเด็ดขาด

ควรเลี่ยงคำที่ฟันธงไปแล้ว (Absolute Words) เช่นคำว่า ประจำ, ตลอด, ไม่เคย เป็นต้น เราอาจจะรู้สึกเสียใจและน้อยใจมากๆ ก็จริง แต่อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบครอบงำ และเลือกใช้คำพวกนี้ เพราะมันอาจแตกต่างจากความเป็นจริงมาก จนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่เอาได้

ตัวอย่างเช่น..
“เธอไม่เคยฟังกันเลย”
“ทำไมต้องตามจิกกันตลอด”
“บอกกี่ครั้งๆ เธอก็ทำแบบนี้ประจำ”

4) เปิดใจฟังแบบไม่พยายามเปลี่ยนความเชื่อของอีกฝ่าย

หากอีกฝ่ายพูดว่า “ฉันรู้สึกเสียใจ..” ในเรื่องที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด เราจะทำอย่างไร?
สัญชาตญาณแรกอาจเป็นการรีบอธิบาย เปลี่ยนความเชื่อของอีกฝ่ายว่าพวกเขา ‘ไม่ควรเสียใจ’ เพราะเรานั้นไม่ได้ทำอะไรผิดเสียหน่อย!

อย่างไรก็ตาม ในความสัมพันธ์นั้น บางปัญหาก็ไม่มีใครผิดใครถูก 100% แต่ไม่ได้หมายความว่า ‘ความรู้สึกเสียใจ’ ของอีกฝ่ายนั้นไม่จริง เราไม่ควรเพิกเฉยและพยายามบอกให้อีกฝ่ายเลิกรู้สึกแย่ เพียงเพราะเราไม่ได้ผิด

Advertisements

5) รู้จักตัวเองและวิธีดึงตัวเองออกจากห้วงอารมณ์

ในการปรับความเข้าใจ หลายครั้งสถานการณ์ก็ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นการโต้เถียง และตัวเรานั้นอาจเต็มไปด้วยหลากอารมณ์ ทั้งความรู้สึกทั้งโกรธและเสียใจ และสุดท้ายก็ถูกอารมณ์ครอบงำในที่สุด

เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ เราควรรู้ตัวว่าเรากำลังใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และควรรู้วิธีดึงตัวเองออกจากอารมณ์นั้น ก่อนที่จะเผลอทำอะไรแบบหุนหันพลันแล่น จนทำร้ายความรู้สึกอีกฝ่าย

6) เติมพลังบวกให้กันและกันเสมอ

“การคุยกันในเรื่องยากๆ” หรือ Hard Conversations กันเป็นเรื่องธรรมดาในความสัมพันธ์ แต่เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดจบลง อย่าลืมดูแลจิตใจตัวเอง ไปพร้อมๆ กับการดูแลจิตใจกันและกัน เช่น ขอบคุณที่อีกฝ่ายที่รับฟัง ขอบคุณที่ใจเย็น หรือ ขอบคุณกันและกันที่ช่วยหาทางออกของปัญหานี้ไปพร้อมๆ กัน

7) มีความเห็นอกเห็นใจ

เห็นอกเห็นใจกันให้มากกว่าสั่งสอนหรือตำหนิ จำไว้เสมอว่าทั้งเราและเขาต่างผิดพลาดกันได้

8) เป็นกำลังใจให้การเติบโตของอีกฝ่าย

นอกเหนือจากเรื่องความสัมพันธ์ แต่ละฝ่ายก็มีเรื่องให้เผชิญและมีเป้าหมายให้วิ่งตาม หลายๆ ครั้งเราอาจไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจในเรื่องงานของเขานัก หรือ บางครั้งเราอาจไม่เข้าใจความชอบของเขาเท่าไร
แต่อย่าลืมว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจและเห็นด้วยกับเขาทุกอย่างก็ได้ แค่เป็นกำลังใจให้กันและกัน ช่วยให้อีกฝ่ายเติบโตอย่างดีในแบบที่เขาอยากเป็น

เส้นทางชีวิตของแต่ละคนเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย ทั้งสุขและทุกข์ หากเรามีใครสักคนเป็นคอมฟอร์ตโซนที่คอยรับฟัง เป็นพื้นที่ให้เราเป็นตัวเองได้อย่างไม่ต้องกังวล และเป็นเพื่อนร่วมทางคอยให้กำลังใจ คงจะดีไม่น้อยเลย
และการที่เราได้เป็นความอุ่นใจของอีกฝ่ายท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย ก็คงจะดีไม่แพ้กัน 🙂

อ้างอิง
https://bit.ly/3Qy7Oa3
https://bit.ly/3JF9xIa
.
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รับมือกับเพื่อนร่วมงานที่มีนิสัย “Passive-Aggressive” อย่างไรดี : https://bit.ly/3zLdWEU
4 รูปแบบของ Gaslighting ที่ต้องระวังในความสัมพันธ์ : https://bit.ly/3I1uVWA

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า