PSYCHOLOGYเลือกแล้วไม่ผิดหวัง! ด้วยเทคนิค “Illeism” ที่ช่วยวิเคราะห์อย่างชาญฉลาด

เลือกแล้วไม่ผิดหวัง! ด้วยเทคนิค “Illeism” ที่ช่วยวิเคราะห์อย่างชาญฉลาด

จะเลือกนายกคนไหนดี?
เย็นนี้จะกินข้าวกับอะไร?
จะเรียนคณะที่หางานได้หรือคณะที่อยากเรียน?
จะย้ายงานใหม่หรือทำที่เดิมต่อไปดี?
ฯลฯ

ชีวิตของมนุษย์เราเต็มไปด้วยเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากมาย ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เช่นมื้ออาหาร ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ อย่างอาชีพการงาน ความสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งการเลือกตั้ง แต่ละตัวเลือกก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ทำให้บ่อยครั้งเราคิดไม่ตกและยืนตัดสินใจตรงทางแยกเสียนาน

หากมีเวลาให้ตัดสินใจตลอดชีวิตก็คงไม่เป็นไร แต่ในความเป็นจริงเวลาของเรามีจำกัด และช่วงเวลาที่เสียไปเพราะไม่ตัดสินใจสักทีก็ถือเป็นราคาที่ต้องจ่าย

พอจะมีวิธีที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่าง “มีเหตุมีผล” และ “ปราศจากอคติ” บ้างไหม?

เดวิด ร็อบสัน นักเขียนจากสำนักข่าว BBC เล่าว่า ตลอดชีวิตในฐานะนักเขียนด้านจิตวิทยา เขาได้เห็นเทคนิคมากมายที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีหรือคิดได้อย่างชาญฉลาดขึ้น แต่ไม่มีเทคนิคไหนที่ใช้งานได้ดีจริงๆ เหมือน “Illeism”

Advertisements

“Illeism” คืออะไร?

เทคนิคนี้คือการพูดคุยกับตัวเองในสรรพนามบุรุษที่ 3 แทนที่บุรุษที่ 1 ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจอปัญหา ปกติเราจะคิดว่า ‘ฉันจะแก้ปัญหาอย่างไรดี’ แต่การใช้เทคนิคนี้คือให้คิดว่า ‘เขา/เธอจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี’ แทน

วิธีการพูดเช่นนี้ทำให้ดูเป็นกลางมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่มักจะถูกใช้โดยนักการเมืองหรือผู้นำ เพราะมันช่วยให้คำพูดของพวกเขาดูสมเหตุสมผลและเที่ยงธรรม เช่น ในอดีตหลังจากที่จูเลียส ซีซาร์ รบชนะในสงครามกอล เขาเขียนไว้ในบันทึกไว้ “จูเลียส ซีซาร์ ได้ล้างแค้นให้แก่ประชาชน” ซึ่งฟังดูเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ มากกว่าการเขียนว่า “ฉันได้ล้างแค้นให้แก่ประชาชน”

การคุยกับตัวเองในสรรพนามบุรุษที่ 3 ฟังดูแปลกและน่าขบขันไม่น้อย แต่รู้ไหมว่างานวิจัยด้านจิตวิทยาพบว่า เทคนิค Illeism นี้แท้จริงแล้วมีประโยชน์ต่อกระบวนการคิดของเรา เพราะมันช่วยให้เรามีความเป็นกลาง ไม่ปล่อยให้อารมณ์ชักนำ ซึ่งจะทำให้เราคิดวิเคราะห์ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้นนั่นเอง

งานวิจัยนี้นำทีมโดยอิกอร์ กรอสแมนน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย The Wisdom and Culture Lab แห่งมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู พวกเขาพบว่า เมื่อเจอปัญหาหรือเกิดความขัดแย้งขึ้น การเปลี่ยนจากสรรพนามบุรุษที่ 1 เป็นบุรุษที่ 3 ช่วยให้คนประเมินสถานการณ์ ประเมินความสามารถ และหาทางออกได้ดีขึ้น

พวกเขาได้ทดลองผ่านการให้โจทย์ที่เกี่ยวกับ “ความขัดแย้งทางสังคม” (Social Conflicts) และให้ผู้ทดลองคิดหาทางแก้ เมื่อได้คำตอบและตอบไปแล้ว พวกเขาจะได้เวลาเพิ่มกลับไปคิดโจทย์นี้ต่อและตกผลึกผ่านการเขียนบันทึก โดยกลุ่มแรกเขียนแบบแทนตัวเองในบุรุษที่ 1 ส่วนกลุ่มที่สองแทนตัวเองในบุรุษที่ 3

เมื่อเวลาผ่านไปครบเดือน ผู้ร่วมการทดลองต้องเข้ารับการประเมินอีกครั้ง ว่าการเขียนแต่ละแบบส่งผลต่อการแก้ปัญหาของพวกเขาแค่ไหน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มที่แทนตัวเองในสรรพนามบุรุษที่ 3 แก้ปัญหาได้อย่างรอบรู้กว่า ในขณะที่อีกกลุ่มยังมีวิธีการแก้ปัญหาที่คล้ายกับในตอนแรก ไม่ได้พัฒนามากนัก

อีกงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน พบว่าเทคนิค Illeism ช่วยให้คนควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า เพราะการใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ช่วงให้พวกเขาแยกตัวเองออกมาจากสถานการณ์ ไม่ยึดติด จึงควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น

ในการทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองต้องดูรูปต่างๆ ที่มีทั้งรูปธรรมดาๆ และรูปที่อาจรบกวนจิตใจ ขณะที่สมองถูกสังเกตการณ์ผ่านเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography) ผลพบว่าเมื่อเจอรูปที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจ (เช่น รูปคนกำลังถือปืนจ่อหัวตัวเอง) การทำงานของสมองในด้านอารมณ์ตอบสนองอยู่สักพัก ก่อนจะกลับมาเป็นปกติอย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเขาเริ่มพูดแทนตัวเองในบุรุษที่ 3

อีกงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ทดลองให้ผู้ร่วมการทดลองนึกถึงประสบการณ์อันน่าเจ็บปวดในอดีต โดยให้แทนตัวเองทั้งในสรรพนามบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 3 ขณะที่สมองถูกสังเกตการณ์ผ่านเครื่อง FMRI และเช่นเดียวกับการทดลองแรกที่กล่าวไป การทดลองนี้ก็พบผลลัพธ์ในทางเดียวกัน ซึ่งก็คือ เมื่อคนแทนตัวเองด้วยสรรพนามบุรุษที่ 3 กิจกรรมภายในสมองด้านอารมณ์ตอบสนองน้อยกว่านั่นเอง

หากการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้พบผลลัพธ์ไปในทางเดียวกันและพิสูจน์ได้ว่าเทคนิค Illeism นี้ช่วยได้จริงๆ คงจะดีไม่น้อย เพราะนั่นเท่ากับว่ามนุษย์เรามีหนทางในการคิดวิเคราะห์ได้มีประสิทธิภาพกว่า แก้ปัญหาได้ดีกว่า ตัดสินใจได้ดีกว่า และควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า การใช้ชีวิตของเราอาจง่ายกว่าเดิมเป็นไหนๆ

หากใครกำลังเผชิญกับปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้นะ อาจช่วยให้เราพบคำตอบในเรื่องที่คิดไม่ตกมาตั้งนานก็ได้

อ้างอิง
– Illeism: The ancient trick to help you think more wisely – BBC Worklife : https://bit.ly/44dp1Nq
– Training to wisely navigate social conflicts — ScienceDaily : https://bit.ly/449tznY
– Talking to yourself in the third person can help you control emotions – ScienceDaily : https://bit.ly/3oVsVu4

#psychology
#selfdevelopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements
Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า