PSYCHOLOGYเช็กความเป็น Introvert ในตัวคุณ ด้วยหลักการ “STAR” 

เช็กความเป็น Introvert ในตัวคุณ ด้วยหลักการ “STAR” 

คนประเภท Introvert เป็นคนที่ขี้อาย ไม่กล้าเข้าสังคม คิดมาก… จริงๆ เหรอ? เคยสงสัยในตัวเองกันไหมว่า ปกติก็เป็นคนที่ชอบเข้าสังคม แต่ท้ายที่สุดของวันก็อยากพักเหนื่อยด้วยการอยู่คนเดียว ตกลงแล้ว เราเป็นคน Introvert หรือ Extrovert กันแน่?

เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า Introvert คืออะไร

คน Introvert ไม่ได้แปลว่าต้องเข้าสังคมไม่เป็นเสมอไป มีนิยามของความเป็น Introvert อยู่หลายแบบ บางที่ก็อธิบายไว้สั้นๆ แค่ว่า คือ ‘คนที่ชอบอยู่คนเดียว’ แต่ถ้าให้อธิบายภาพรวมถึงสาเหตุทั้งหมดเลยก็คือ คนประเภท Introvert คือการเป็นคนที่รับสิ่งเร้าได้ดี ไม่ว่าจะเป็นแสง สี หรือเสียง การอยู่ท่ามกลางผู้คน จึงเป็นเหมือนการอยู่ท่ามการสิ่งเร้าต่างๆ จำนวนมาก ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกเหนื่อย และหมดพลังงาน การได้อยู่คนเดียวจึงกลายเป็นความสบายใจมากกว่าของคนกลุ่มนี้

หรือถ้าให้อธิบายง่ายๆ เลยก็คือ หากเปรียบว่า คุณมี ‘เหรียญ 10 เหรียญ’ เทียบเป็น ‘จำนวนพลังงานในตัวเอง’ ของแต่ละวัน ถ้าเป็นคนประเภท Extrovert การอยู่บ้านคนเดียวเฉยๆ จะเป็นเหมือนการลดทอนจำนวนเหรียญลงไปเรื่อยๆ แต่การออกไปพบเจอผู้คนข้างนอก จะเป็นเหมือนการได้รับเหรียญพลังงานเหล่านี้กลับมาอีกครั้ง ตรงกันข้ามกับคน Introvert สำหรับคนประเภทนี้ การออกไปเจอคนข้างนอก ก็เปรียบเสมือนการถูกดึงเหรียญเหล่านี้ออกไปทีละนิด การจะได้เหรียญเหล่านี้กลับคืนมาก็ต่อเมื่อตอนที่ได้กลับมาอยู่คนเดียวเท่านั้น

การเป็น Introvert จึงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่เงียบ ขี้อาย หรือเข้าสังคมไม่เป็นเสมอไป แต่หมายถึง การเป็นคนที่จะรู้สึกได้รับพลังงาน ก็ต่อเมื่ออยู่คนเดียวกับตัวเอง ถึงแม้จะเป็นคนที่เข้าสังคมเป็น ก็อาจเป็นคน Introvert ได้เช่นกัน หากนิยามการ ‘พักผ่อน’ หรือการ ‘รีชาร์จ’ พลังของเขา คือ ‘การอยู่คนเดียว’

ถ้าอย่างนั้น มาลองเช็กความเป็น Introvert ในตัวเองด้วย STAR โมเดลของนักจิตวิทยา Jonathan Cheek จาก Wellesley College กันดีกว่า!

Advertisements

Introvert แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดย Introvert แต่ละคนก็อาจมีทั้ง 4 ลักษณะนี้มากน้อยต่างกันออกไป

S- Social Introvert

การเป็น Introvert ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบเข้าสังคมเสมอไป แต่การเป็นคน Introvert ก็อาจชอบเข้าสังคมได้ แค่จะเลือกที่จะสังสรรค์หรืออยู่กับกลุ่มเพื่อนเล็กๆ ที่สนิทด้วยเท่านั้น ไม่ได้ชอบที่จะอยู่พบปะผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกับใครที่ไม่สนิท และเมื่อหมดวัน การฮีลความเหนื่อยล้าจากการพบเจอคนทั้งวันที่ดีสุดเลยก็คือ การอยู่กับตัวเอง อย่างเช่น การนั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดในมุมหนึ่งของห้องสักพักก็คลายความเหนื่อยสะสมทั้งวันได้เป็นอย่างดี

T- Thinking Introvert

คนประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นคนช่างเพ้อฝัน มักใช้เวลาไปกับการจมอยู่กับความคิดภายในหัวของตัวเอง จึงมักจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบริเริ่มอะไรใหม่ๆ มีหนทางในการจัดการสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างจากคนทั่วไป

Advertisements

A- Anxious Introvert

ตรงกันข้ามกับ Social Introvert ที่คนประเภทนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ประหม่าเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่รู้จัก เพราะมักจะคิดมาก วิตกกังวลกับสายตา คำพูด ท่าทีของคนอื่นว่ากำลังคิดอะไร จะทำอะไร มองมาอย่างไร และระมัดระวังตัวอย่างดี เมื่อทำอะไรผิดพลาดไปก็มักจะคิดเรื่องเดิมอยู่ซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำอยู่ตลอดเวลา

R- Restrained Introvert

คนประเภทนี้อาจดูเป็นคนเฉื่อยชา เพราะภายนอกอาจดูแล้วเป็นคนที่ไม่ค่อยพูด หรือแสดงความคิดเห็น แต่ความจริงแล้วคนประเภทนี้เป็นนักวิเคราะห์ชั้นยอด เพียงแค่เพราะว่ามักจะวางแผน และคิดก่อนพูดหรือทำอะไรเสมอ จึงจำเป็นต้องตัดสินใจให้รอบคอบดีก่อนจึงจะพูดหรือทำออกไป

การแบ่งคนตามประเภทเหล่านี้จึงมีไว้เพื่อให้ทำความเข้าใจถึงความหลากหลายว่าแต่ละคนก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป และแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้มีประเภทไหนดีกว่าใคร ไม่ว่าจะเป็นคนประเภท Introvert หรือ Extrovert ก็ตาม

การที่บอกว่า Introvert เป็นคนละเอียดอ่อนก็ไม่ได้หมายความว่า Extrovert จะเป็นคนชุ่ยๆ แต่อย่างใด อย่างในการทำงานแต่ละครั้ง เราอาจต้องการคนที่โฟกัสปลายทาง มองเห็นภาพรวมกว้างๆ แบบคน Extrovert เพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้สะดวก และคนที่ใส่ใจรายละเอียด คอยอุดรูรั่วระหว่างทาง และวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แบบคน Introvert มาช่วยซัพพอร์ตกันและกัน

เพราะคนแต่ละคนล้วนแตกต่าง และต้องการได้รับการปฏิบัติต่อกันที่แตกต่างกันไป ในการทำงานร่วมกัน จึงต้องช่วยกันหาวิธีการอยู่ร่วมกับความแตกต่างเหล่านี้ให้ได้อย่างเหมาะสม

ในโลกนี้ที่คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับคนที่เป็น Extrovert เสียมากกว่า คนทั่วไปมักผลักดันให้คนเราต้องเป็นคนกล้าแสดงออก คาดหวังว่าจะต้องเข้าสังคมเก่ง เพื่อให้มีอนาคตที่ดี เป็นคนดัง หรือเป็นที่รู้จักนับหน้าถือตาในสังคม

จึงเป็นเหมือนการบังคับชาว Introvert กลายๆ ให้ต้องเปลี่ยนโหมดเป็น Extrovert เพื่อให้เข้ากับคนอื่นได้ กดทับให้คน Introvert ต้องแบกรับและหลบซ่อนความเป็นตัวของตัวเองไว้

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนเรานั้นมีหลากหลายประเภท บางทีโลกของเราอาจแค่ต้องการบาลานซ์การมีอยู่ของคนทุกประเภทเหล่านี้ และเลือกใช้คนแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับแต่ละงาน ไม่ใช่ต้องให้ทุกคนเป็นคนประเภทเดียวกันเหมือนๆ กันหมด

นอกจากนี้ในปัจจุบัน ก็ยังคงมีการถกเถียงถึงนิยามความเป็น Extrovert หรือ Introvert อีกหลายทฤษฎี แต่ว่าการเป็น Introvert หรือ Extrovert นั้น ก็เป็นเหมือนกับ Spectrum เพราะเราทุกคนล้วนมีความเป็น Extrovert และ Introvert อยู่ในตัวเองกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมีประเภทไหนมากกว่ากัน อีกทั้งยังมีนิยามตรงกลางระหว่าง 2 ส่วนนี้ สำหรับคนที่ชอบเข้าสังคม แต่ก็ชอบอยู่คนเดียว ว่าเป็นคนประเภท Ambivert ด้วยเช่นกัน

แต่ไม่ว่าจะเป็นคนประเภทไหน จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการแบ่งประเภทคนเหล่านี้เลยก็คือ “การทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่น” เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานที่เหมาะกับตัวเอง และทำออกมาร่วมกันให้ดีที่สุด

อ้างอิง:
https://bit.ly/3MNc4kN
https://bit.ly/37gJiss
https://bit.ly/35RHFBf
https://bit.ly/3KC3mE4

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#psychology

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Naphatsawan Sitthitham
Naphatsawan Sitthitham
นักศึกษาฝึกงานจากคณะศิลปศาสตร์ แต่ใจอยากเทิร์นมาสายธุรกิจ สนใจด้านการตลาดและจิตวิทยา

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า