SOCIETYรับมือกับอาการ PMDD ในที่ทำงานอย่างไร?

รับมือกับอาการ PMDD ในที่ทำงานอย่างไร?

เคยเป็นไหม ทำงานอยู่ดีๆ ก็อยากร้องไห้ขึ้นมาดื้อๆ? ไม่มีสมาธิทำงานและน้อยอกน้อยใจไปเสียทุกอย่าง แค่หัวหน้าคอมเมนต์งานก็น้ำตาจะไหล

หรือเคยสังเกตเห็นไหมว่าเพื่อนร่วมงานหญิงของเราเปลี่ยนไป จากที่เคยพูดหยอกล้อกันเบาๆ ได้ วันนี้เรากลับทำให้เธอหงุดหงิดขึ้นเสียอย่างนั้น!

หากตอบว่าใช่ อย่าเพิ่งรีบตัดสินว่าเป็นที่ ‘นิสัย’ ของผู้หญิงที่ ‘เจ้าอารมณ์’ และ ‘อ่อนไหวง่าย’ อคติต่อเพศหญิงเช่นนี้เป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก! จริงๆ แล้ว คุณหรือเพื่อนผู้หญิงในที่ทำงานอาจจะกำลังเผชิญกับอาการ “PMDD” หรือ ลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนอยู่ต่างหาก!

Advertisements

ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก PMDD ว่าคืออะไร ต่างกับ PMS อย่างไร เราจะรับมืออย่างไร และบริษัทจะช่วยได้อย่างไร

PMDDคืออะไร และต่างจากอาการอย่าง PMS อย่างไร

PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) คืออาการผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์ อย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน งานวิจัยพบว่า 1 ใน 20 ของคนที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิงต้องเผชิญกับอาการนี้ 

อาการของ PMDD ได้แก่ หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า ร้องไห้บ่อย ตั้งสมาธิได้ยาก หลงลืม นอนไม่หลับ หรือ นอนมากเกินไป ร่างกายอ่อนเพลียเป็นพิเศษ สับสน งุนงง ปวดหรือเวียนศีรษะ ไปจนถึงเจ็บปวดตามร่างกาย โดยบางคนอาจมีอาการรุนแรงมาก จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน และบางคนอาจมีอาการทางกายควบคู่ไปด้วย

หากให้สรุปอย่างสั้น PMDD ก็คืออาการ PMS ที่รุนแรงกว่ามากนั่นเอง ผลสำรวจพบว่า 15% ของผู้ที่มีอาการ PMDD มีความพยายามในการฆ่าตัวตาย

ใครที่เคยคิดว่าเพศหญิง ‘เจ้าอารมณ์’ ในช่วงก่อนประจำเดือน อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องเจอในแต่ละเดือนนั้นหนักหนาและอันตรายกว่ามาก!

ทำไมPMDDถึงเป็นประเด็นที่ควรพูดถึง

มีหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้หญิงและที่ทำงาน เช่น เรื่องการเผชิญกับอคติทางเพศ (Sexism) การคุกคามทางเพศ (Sexual Harrassment) ไปจนถึงค่าแรงที่ไม่เท่าเทียม (Gender Pay Gap) แต่วันนี้ประเด็นที่เราจะหยิบยกมาพูดถึงคือ “PMDD”

อาการหลายอย่างของ PMDD อาจทำให้การทำงานกลายเป็นเรื่องยากลำบาก เช่น ไม่สามารถตั้งสมาธิได้ เหนื่อยล้า วิตกกังวล และมีอาการซึมเศร้า เผชิญกับอาการเหล่านี้ยังไม่พอ รายงานพบอีกว่าเมื่ออาการเหล่านี้หายไป ผู้หญิงหลายคนมักจะ ‘รู้สึกผิด’ และรู้สึกว่าตนต้องชดเชย โดยบางคนทำงานเกินชั่วโมงงาน หรือบางคนตั้งเป้าหมายการทำงานที่ยากเกินไป

เหนื่อยทั้งกายและใจเพราะเจอ PMDD พอหายแล้วก็รู้สึกว่าต้องทำงานหนักทดแทน หากวงจรเช่นนี้ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นใครหรือว่าเพศไหน อาจเจอปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้

งานวิจัยพบว่า หาก “พนักงานสุขภาพดี” มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะขยันและทำผลงานออกมาได้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน หาก “พนักงานมีปัญหาสุขภาพ” ประสิทธิภาพการทำงานอาจลดลงด้วย ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งต่อความเป็นอยู่ของพนักงานและองค์กรเอง

Advertisements

รับมือกับPMDD

การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารให้ดีตั้งแต่ช่วง 1 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนอาจช่วยได้ หากต้องเข้าบริษัทมาทำงานในช่วงเวลานั้น การสวมเสื้อผ้าที่สบาย การปลีกตัวออกมานั่งเงียบๆ และหมั่นพักเพื่อคลายเครียดเป็นระยะก็ช่วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงมาก การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคือคำตอบที่ดีที่สุด

องค์กรจะให้ความช่วยเหลือได้อย่างไร

1) ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการนี้ (PMDD Awareness)

สามารถทำได้ตั้งแต่การให้ทีม HR ได้รับ PMD Awareness Training, จัดกิจกรรม PMD Awareness Month (ตามหลักสากลแล้วคือเดือนเมษายน) ไปจนถึงสนับสนุนให้หัวหน้าทีมคอยถามไถ่พนักงานเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ เพื่อจะได้เข้าใจและหาทางช่วยเหลือได้

ความไม่เข้าใจว่าอาการร้ายแรงและส่งผลกระทบแค่ไหน อาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมแย่ๆ ในที่ทำงานได้ เช่น พนักงานชายแซวพนักงานหญิงว่า ‘เรื่องแค่นี้เอง’ หรือ หัวหน้าไม่อนุญาตให้ลาพัก เป็นต้น 

2) ปรับงานให้เอื้ออำนวยความสะดวก

เมื่อเข้าใจแล้วว่าอาการส่งผลต่อพนักงานอย่างไร อาจช่วยได้โดย…

  • การย้ายงานที่ไม่หนักมากมาให้ทำก่อนในช่วงนั้น
  • เปลี่ยนหน้าที่ชั่วคราว
  • อนุญาตให้ทำงานจากที่บ้าน
  • อนุญาตให้สวมชุดลำลองที่สวมใส่สบาย (ในกรณีที่บริษัทบังคับใส่เครื่องแบบ) เพราะนอกจากอาการทางอารมณ์แล้ว PMDD ยังทำให้เจ็บปวดทางกายอีกด้วย
  • มีห้องเงียบๆ สำหรับการทำงานที่ใช้สมาธิ (ดีต่อทั้งพนักงานทั่วไปและพนักงานที่มีอาการ PMDD)

ในประเทศอังกฤษ ตามกฎหมายความเท่าเทียมและเสมอภาคแล้วนั้น อาการ PMDD ถูกจัดเป็นอาการที่ทำให้ไร้ความสามารถ หรือ ความพิการ (Disability) ทำให้บริษัทต้องมีมาตราการช่วยเหลือพนักงานที่เผชิญกับอาการนี้ หากเพิกเฉยถือว่าผิดกฎหมายแรงงาน ในฐานเลือกปฏิบัติ (Discrimination)

อาการอย่าง PMDD นั้นส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพนักงานอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกประเทศจะมีกฎหมายเช่นนี้ สิ่งที่เราพอจะทำได้ก็อาจจะเป็นการทำความเข้าใจ ช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกบางอย่าง และให้ความรู้กับพนักงานคนอื่นๆ เพื่อจะได้เข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดของแต่ละคน

อ้างอิง

https://on.wsj.com/39YFu0H
https://bit.ly/3nott7R

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Pattraporn Hoy
Pattraporn Hoy
นักศึกษาเอกวรรณกรรมจีนผู้เชื่อว่าวันที่ดีเริ่มต้นด้วยการกินของอร่อย

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า