Omotenashi กลยุทธ์สำคัญ เบื้องหลังงานออกแบบของญี่ปุ่น

2764

(Sponsored Post)

ในยุคนี้การทำธุรกิจมีการแข่งขันที่สูงมาก ทำให้แทบทุกองค์กรต้องหันมาวางแผน วางกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้แบรนด์เติบโตจนเป็นที่รู้จัก และที่สำคัญคือ ต้องสามารถเอาชนะใจลูกค้า 

และหนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับการสร้าง Branding ที่หลายคนอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญมากพอ นั้นก็คือเรื่องของ “การออกแบบ”

Advertisements

แล้วทำไมงานออกแบบถึงสำคัญกับธุรกิจ?

นั่นก็เพราะงานออกแบบไม่ได้หมายถึง ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่การออกแบบมีบทบาทแทบทุกองค์ประกอบของธุรกิจ เช่น การออกแบบกระบวนการผลิต การออกแบบการวิจัย การออกแบบประสบการณ์ลูกค้า หากธุรกิจให้ความสำคัญกับการออกแบบ “น้อยเกินไป” ก็อาจพลาดโอกาสสำคัญ

“การออกแบบ” เรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้าม

เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับการออกแบบของหน้าเพจ Google ที่ดูเรียบๆ แต่ใช้งานง่าย การดีไซน์มีดพับของ Swiss Army ที่มีหลายฟังก์ชั่นในอันเดียว หรือแม้แต่ดิสนีย์แลนด์ที่สามารถออกแบบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้คนที่มาเที่ยว ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดนี้ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่ทุกคนรู้กัน 

เคสเหล่านี้จะเป็นการเตือนเราทุกคนได้ว่า การออกแบบที่ดี จะเป็นหัวใจของความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทสินค้า การบริการ หรืองานในโลกดิจิตอลก็ตาม

McKinsey ได้ทำการติดตาม การออกแบบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดกว่า 300 แห่ง จากหลายประเทศ และหลายอุตสาหกรรม และบันทึกการออกแบบมากกว่าแสนรายการในปี 2018 เพราะต้องการรู้ว่า บริษัทที่มีการออกแบบที่ดี มีผลอย่างไรกับประสิทธิภาพทางด้านการเงิน  

ผลก็คือ ผู้ที่มีคะแนนการออกแบบสูงสุด มักจะมีผลประกอบการที่ดี และยังมีผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น (TRS) ได้เร็วกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างมาก และมีการเติบโตของรายได้ถึง 32% และสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ถึง 56% ทำให้เห็นว่า “การออกแบบที่ดี” สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้

แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อให้การออกแบบนั้นเป็นการออกแบบที่ดีได้ ?

เพื่อให้ใกล้บ้านเราเข้ามาหน่อย ขอยกตัวอย่างกรณีธุรกิจรถหรูสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Lexus ที่ใช้หลัก Omotenashi มาเป็นปรัชญาตั้งต้นในการออกแบบรถยนต์

Toyota Motor Kyushu quality control

เนื่องจาก Lexus ต้องการให้ผู้ที่ใช้รถทุกคันทั้งในฐานะคนขับ หรือแม้แต่ผู้โดยสาร ได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีที่สุด แนวคิด Omotenashi จึงถูกหยิบมาใช้ในการดีไซน์รถยนต์ในทุกองค์ประกอบและในทุกๆ ขั้นตอน รวมถึงด้านการบริการในศูนย์บริการของเลกซัส

Omotenashi ความใส่ใจในทุกรายละเอียด

เพื่อให้เข้าใจปรัชญา Omotenashi มากขึ้น ให้นึกถึงพิธีการชงชาของคนญี่ปุ่น ที่เจ้าบ้านจะมีพิธีการชงชาที่เป็นขั้นเป็นตอน ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อให้เหมาะสมกับแขกแต่ละคน จุดประสงค์ก็เพื่อสร้างความประทับใจในแบบที่ผู้รับนั้นคาดไม่ถึง

omotenashi philosophy

การใช้ Omotenashi ผสานกับการออกแบบรถยนต์ของ Lexus นั้นก็คือ ก่อนจะทำการออกแบบรถแต่ละรุ่น หรือออกแบบชิ้นส่วนแต่ละชิ้น จะต้องมีการคิดโดยละเอียดมาก่อนว่า สิ่งนี้ตอบโจทย์อะไร ผู้ใช้งานมีความต้องการจริงๆ หรือเปล่า ? 

แต่การที่จะตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ แน่นอนว่า Lexus ต้องลงไปสำรวจตลาดอย่างจริงจัง สำรวจพื้นที่แต่ละประเทศ เช็คสภาพการจราจร ภูมิอากาศและพฤติกรรมการขับขี่ของคนแต่ละท้องที่ ซึ่งผลก็คือ Lexus สามารถสร้างรถที่มีทัศนวิสัยไร้จุดบอด มีวงเลี้ยวที่แคบ ให้สัมผัสที่นุ่มลึก และมีการจัดวางอุปกรณ์ตามหลักสรีระศาสตร์ของผู้ใช้งาน 

ดังนั้นการที่ Lexus ใช้หลักปรัชญา Omotenashi นั่นก็หมายถึง “ทุกการดีไซน์จะคิดเผื่อผู้ใช้งานเสมอ”

Advertisements

L-Finesse แนวคิดการออกแบบรถของเลกซัส ที่ใช้หลัก Omotenashi

Lexus L Finess Design

การจะยกระดับให้รถฝั่งเอเชียเป็นที่รู้จักในตลาดโลกไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ใช่รถยนต์ที่ดีที่สุดจริงๆ ก็ยากที่จะเรียกเงินจากอีกฝากโลกได้ Lexus จึงได้พัฒนาหลักการออกแบบของตัวเอง โดยเรียกว่า “L-Finesse” โดยยังคงวิถีของ Omotenashi แต่ใช้เทคโนโลยีและความครีเอทีฟในงานดีไซน์เพิ่มเข้ามา 

L-Finesse ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

1) ทำให้มากกว่าที่คนคาดหวัง :

การลงลึกในทุกรายละเอียด แบบ Omotenashi เพื่อค้นหาความต้องการของผู้ขับ และต้องสร้างความประทับใจได้ในทุกช่วงเวลา เช่น เลือกช่างที่เป็นยอดฝีมือ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะชั้นสูงในแบบของญี่ปุ่น โดยจะแฝงงานฝีมือ (Craft) เหล่านี้ไว้ในส่วนต่างๆ ของรถ 

ตัวอย่างงานดีไซน์ เช่น แผงประตูที่ผสานระหว่างศิลปะการตัดแก้วคิริโกะ และผ้าพับจีบด้วยมือจากศิลปะ Origami ใน Lexus LS 500h หรือการนำรูปแบบงานศิลปะโบราณของญี่ปุ่น มาสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น 

งานศิลปะชั้นสูงนี้จะสร้างความรู้สึกพิเศษให้ผู้ที่ใช้งาน ซึ่งจริงๆ แล้วจะใช้เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งหมดเลยก็ได้ แต่ Lexus มีความเห็นว่า การมีงานคราฟต์จากฝีมือมนุษย์ จะสามารถส่งต่อความรู้สึกที่พิเศษได้มากกว่า เฉกเช่นเดียวกับพิธีชงชา

2) โดดเด่นด้วยความเรียบง่าย :

Lexus พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและการออกแบบยานยนต์อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ก่อให้เกิดความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้คนขับนั้นรู้สึกใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน 

ทาง Lexus จึงพยายามลดความซับซ้อนยุ่งยากในส่วนที่ไม่จำเป็น เหลือไว้เฉพาะส่วนสำคัญที่คนขับต้องการ ยกตัวอย่างรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกแบบมาสำหรับการขับขี่ในเมือง Lexus ออกแบบแผงควบคุมคอนโซลกลาง ให้ทุกอย่างควบคุมง่ายๆ แค่การขยับนิ้วมือเพียงข้างเดียว แล้วผลลัพธ์ก็คือ ความเรียบง่ายได้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ Lexus นั้นโดดเด่นขึ้นมา เพราะการออกแบบที่ไม่ให้เหลือส่วนเกินนี้เอง ที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสัมผัสที่แตกต่างให้กับผู้ขับขี่ 

3) ความสง่างามที่สะกดสายตา :

นักออกแบบของ Lexus ได้พูดถึงการดีไซน์รถยนต์ว่า ต้องการให้คนที่มองรู้สึกถึงความน่าค้นหา มี Dynamic ไม่น่าเบื่อ ดังนั้นการดีไซน์จะต้องเพิ่มความละเอียด เพื่อให้สามารถสร้างความรู้สึกที่สะกดสายตา

ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องสี Lexus ให้ความสำคัญกับการเพ้นท์สีมาก เพราะนั่นคือสิ่งที่ผู้คนจะเห็นด้วยตาในทันที สีรถจึงต้อง coating มากถึง 5 ชั้น ใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง เพื่อให้สีของรถมีมิติ ที่ไม่ว่าจะสะท้อนแสงแบบไหน ก็ต้องออกมาสวย สง่า สะกดสายตาผู้ที่พบเห็น 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Lexus ได้ที่ http://bit.ly/2wLZnV2

Lexus Car

L-finesse ของ Lexus หากพูดให้ง่ายคือ ใช้ความรู้สึกของคนมาเป็นตัวตั้งต้นในการออกแบบนั่นเอง โดยคงความเป็นตัวเองด้วย Omotenashi ทำให้ Lexus เป็นรถที่มีเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบ และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แม้จะมีอายุแบรนด์แค่ 30 ปี เพราะเขาใส่ใจในเรื่องของการออกแบบที่มาจากความต้องการของลูกค้าจริงๆ ทำให้ทุกขั้นตอนผ่านการคิดมาอย่างละเอียด 

หลายครั้งเราอาจจะเผลอมองข้ามเรื่องของการออกแบบไป ทั้งที่จริงแล้วมันควรอยู่ในทุกกระบวนการของธุรกิจ 

ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีชื่อเสียงในเรื่อง ความพิถีพิถัน และความประณีตค่อนข้างสูง ส่งผลให้หลายธุรกิจ สามารถตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้ใครๆ ต่างก็ประทับใจและพูดถึง 

ดังนั้นถ้าอยากให้การออกแบบเป็นการออกแบบที่ดี เราก็ต้องใส่ใจในรายละเอียดให้มากพอและหาทางที่จะฟังเสียงของลูกค้าให้ได้ 

โคจิ ซาโตะ หัวหน้าวิศวกรผู้ออกแบบรถสปอร์ตคูเป้ LC 500 ได้กล่าวว่า

นักออกแบบรถของ Lexus ไม่ได้เข้าใจแค่เทคโนโลยี แต่ต้องเข้าใจสิ่งที่คนต้องการจริงๆ<span class="su-quote-cite">โคจิ ซาโตะ</span>
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่