PODCASTการละเลยเรื่องวางแผนการเงิน คือการก้าวขาสู่ความล้มเหลว

การละเลยเรื่องวางแผนการเงิน คือการก้าวขาสู่ความล้มเหลว

ชักหน้าไม่ถึงหลัง มีใครกำลังเจอกับปัญหานี้อยู่บ้าง?

เชื่อว่าไม่ใครก็ใครคงจะกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ เพราะเรื่องการเงินเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร วันนี้เราอาจใช้ชีวิตสบายๆ ด้วยเงินที่มี แต่วันหนึ่งเราอาจเกิดปัญหาทางการเงินขึ้นมาได้หากไม่มีการวางแผนที่ดี เรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ลูกน้อง เด็กจบใหม่ หรือซีอีโอก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ภายในงาน Mission To The Moon Forum 2024 ของเราจึงมี Session ที่ 3 : “ชักหน้าไม่ถึงหลัง ออกแบบการเงินอย่างไรให้มั่งคั่ง” โดย ธนธร กาญจนิศากร ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคลและนิติบุคคลและเจ้าของเพจการเงิน NamFinance เกิดขึ้นมา เพื่อมอบเคล็ด (ไม่) ลับในการออกแบบการเงินให้กับเหล่าคนสู้งานทุกคน

สำหรับใครที่ไม่ได้ไปในวันงานก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะวันนี้เรามี Key Takeaway มาเสิร์ฟให้กับทุกคนถึงที่ มาสำรวจไปพร้อมๆ กันเลยว่าภายใน Session นี้มีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

ทำไมคนไทยถึงเจอกับปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง

จากการสำรวจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า คนที่มีทักษะทางการเงินสูงสุดคือคน Gen X และ Y ส่วนคนที่คิดเรื่องการเกษียณได้ดีที่สุดคือ Baby Boomer ในขณะที่คนที่ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องการเกษียณเลยคือ Gen Z

ซึ่งการสำรวจนี้ชี้ว่า คนไทยกว่า 75% เก็บเงินเป็นเงินสด 53% เป็นเงินฝาก 12% ยังไม่ได้เก็บเลย และมีคนจำนวนน้อยมากๆ ที่เก็บเงินเป็นเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังชี้ว่าคนที่เก็บเงินในบัญชีธนาคารและเงินสดมากกว่า 6 เดือน จะวางแผนเกษียณได้ดีกว่าคนอื่น ส่วนคนที่เก็บเงินสำรองฉุกเฉินน้อยกว่า 1 สัปดาห์ จะเจอปัญหาเรื่องการชักหน้าไม่ถึงหลังและมีหนี้สิน

โดยคุณน้ำเล่าว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดหนี้คือ
[ ] พฤติกรรมการใช้เงิน
[ ] ค่าครองชีพสูง
[ ] การแสดงออกทางสังคมโดยเชิงเปรียบเทียบ กล่าวคือเมื่อเห็นคนอื่นมีก็อยากมีตาม
[ ] มีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะกับตัวเราหรือครอบครัว

แต่เหนือสิ่งอื่นใดปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ “การไม่วางแผนทางการเงิน”

พฤติกรรมอะไรที่เราควรจะ “เลิก” ได้แล้ว?

1. การให้รางวัลตัวเองบ่อยเกินไป เช่น เมื่อทำงานเหนื่อยก็เปย์ตัวเอง อนุญาตให้ตัวเองไปทานบุฟเฟ่ต์หรือไปเที่ยวบ่อยๆ เพราะมองว่าทำงานมาเหนื่อยๆ การให้รางวัลตัวเองคือเรื่องที่สมเหตุสมผล จนลืมเรื่องการแบ่งงบประมาณสำหรับด้านอื่นๆ ไป
2. ซื้อของตามกระแส เช่น ลาบูบู้  ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถซื้อของตามกระแสได้เลย แต่เราต้องหาเหตุผลให้ได้ว่าซื้อเพราะอะไร ถ้าไม่เดือดร้อนหรือกันเงินไว้แล้วก็ไม่เป็นไร แต่หลายคนไม่ได้เป็นเช่นนั้น
3. ละเลยการเก็บเงินและการลงทุน บางคนหน้าใหญ่ใจใหญ่เลี้ยงทุกคน จนเดือดร้อนตัวเองในภายหลัง
4. ประมาทกับการใช้ชีวิต เพราะคิดว่าแค่ทำงานก็เหนื่อยแล้ว จึงไม่อยากเหนื่อยกับการวางแผนอนาคตอีก

ทั้งหมดนี้คือพฤติกรรมและมายด์เซตที่ทำให้ตัวเราต้องเผชิญกับการชักหน้าไม่ถึงหลัง

ออกแบบการเงินให้มั่งคั่ง ด้วย A “MUST” Framework

1. M = Multiply your money/skill

เราต้องเพิ่มพูนทักษะของเราไปพร้อมๆ กับการเพิ่มเงิน ในฐานะคนทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ต้องบอกว่าสิ่งสำคัญไม่ได้มีแค่เรื่องเงิน แต่เราต้องมองหาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย เช่น มองหาอาชีพเสริม เรียนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอด สร้างคอนเน็กชัน

Advertisements

2. U = Understand Your Risk

เข้าใจความเสี่ยงของตัวเอง โดยความเสี่ยงมี 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ ความเสี่ยงภายใน ความเสี่ยงภายนอก ความเสี่ยงที่เราควบคุมได้ และความเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้
[ ] ความเสี่ยงภายในที่เราควบคุมได้ เช่น การเกษียณที่เราจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่วันนี้
[ ] ความเสี่ยงภายในที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น สุขภาพ โรคร้ายแรง อุบัติเหตุ
[ ] ความเสี่ยงภายนอกที่เราควบคุมได้ช่น การวางแผนหนี้สิน
[ ] ความเสี่ยงภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ภาษี การตกงาน

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่ามีความเสี่ยงทั้งหมดสี่มิติ สิ่งที่เราต้องจัดการต่อไปคือ “ต้องวางแผนการเงิน” อย่างน้อยๆ คือควรรู้ว่าตัวเองต้องใช้เงินเกษียณเท่าไร และควรรู้ว่าถ้าวันนี้เรามีหนี้สิน เราต้องจัดการหนี้ก้อนไหนก่อน

โดยเราสามารถโอนย้ายความเสี่ยงผ่านการซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพได้ หรือหากเป็นความเสี่ยงภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ ก็ต้องมีการกระจายความเสี่ยง ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง

3. S = Save & Safe your money

การเก็บเงินจะต้องแบ่งออกเป็น 3 ก้อนด้วยกัน ได้แก่
1) เงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องเก็บให้ได้ 6 เดือนของรายจ่าย
2) ใช้จ่ายปัจจุบัน ทำไมต้องแยกเก็บ? ถ้าเราไม่กันเงินไว้ เราจะมีพฤติกรรมที่ใช้เงินมากเกินกว่าที่ตั้งงบประมาณไว้
3) วางแผนเพื่ออนาคต สมมติว่ามีตัวละครสองตัว
[ ] A อายุ 25 ปี ลงทุนในกองทุนหุ้นเดือนละ 10,000 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี โดยลงทุนเป็นระยะเวลา 10 ปี เท่ากับว่าในท้ายที่สุดแล้วจะมีเงิน 1,200,000 บาท
[ ] B อายุ 35 ปี ลงทุนในกองทุนหุ้นเดือนละ 10,000 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี โดยลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี เท่ากับว่าในท้ายที่สุดแล้วจะมีเงิน 2,400,000 บาท

คำถามคือ ณ วันที่อายุ 55 ปี ใครจะมีเงินเก็บมากกว่ากัน?

คำตอบคือ A จะมีเงิน 9,013,390 บาท ส่วน B จะมีเงิน 5,890,204 บาท ดังนั้นแล้ว A จะมีมากกว่า ซึ่งต่างกันเกือบครึ่ง เพราะ A มี 3 สิ่งที่ถือเป็นพลังสำคัญของการออมและการลงทุน นั่นก็คือ มีเงินต้น (ยิ่งมากยิ่งดี) ผลตอบแทน (ยิ่งเข้าใจความเสี่ยงยิ่งดี) และที่สำคัญคือ “ระยะเวลา” (ยิ่งศึกษาเร็วยิ่งดี) ออมก่อนมีโอกาสรวยกว่า

4. T = Think about your retirement

สมมติว่าเราอยากจะสร้างป่า เวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เวลาที่ดีรองลงมาคือวันนี้ การเกษียณก็เช่นกัน ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะวางแผนเกษียณคือวันที่เราทำงานวันแรก รองลงมาคือวันนี้ แต่เมื่อเราย้อนเวลากลับไปในอดีตไม่ได้ ดังนั้นแล้ว “วันนี้” ก็คือวันที่ดีที่สุดที่จะวางแผนเกษียณ

ลองคำนวณเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณของตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้
เงินที่อยากใช้ต่อปี x 25 ปี (เกษียณ 60-85 ปี) x 1.5 (เงินเฟ้อ) = เงินที่ต้องมีตอนเกษียณ

หากใครลองคำนวณดูแล้วก็จะเห็นว่าเงินที่ต้องมีหลังเกษียณนั้นเยอะมาก ซึ่งมันก็เหมือนกับการที่เรามีระเบิดเวลา หากวันนี้เราไม่เตรียมเงินก้อนนี้ สุดท้ายวันหนึ่งเราก็คงจะมืดแปดด้านและไม่รู้ว่าจะหาเงินเกษียณมาจากที่ไหน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือพลัง เงินคืออำนาจ และเงินคือทางเลือกที่จะทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือเราจะให้เงินมีพลังอำนาจเหนือกว่าเรา หรือเราจะมีพลังอำนาจเหนือกว่าเงิน หากอยากเป็นฝ่ายควบคุมก็ต้องวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้

“ถ้าวันนี้เราละเลยในการวางแผนการเงินให้กับตัวเอง นั่นหมายความว่าเราอาจกำลังวางแผนให้ตัวเองล้มเหลวเรื่องการเงิน”

สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดความรู้ดีๆ จากเวที Mission To The Moon Forum 2024 สามารถซื้อบัตร Rerun เพื่อดูย้อนหลังได้แล้วที่ https://www.zipeventapp.com/e/Mission-To-The-Moon-Forum-2024

#money
#missiontothemoon
#missiontothemoonforum2024

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า