ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและการค้นพบตัวเอง ที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทายมากมาย เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างวัยเรียนและโลกแห่งการทำงาน ที่จะหล่อหลอมให้เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมรับมือกับความเป็นจริงของชีวิต
หากกล่าวโดยง่าย มหาวิทยาลัยเองเปรียบเสมือนจักรวาลย่อมๆ ที่เต็มไปด้วยโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ทั้งการค้นพบตัวเอง การสร้างเครือข่าย การพัฒนาทักษะ และการได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงาน การแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ หรือการทำโครงการวิจัย ล้วนเป็นโอกาสที่จะเปิดโลกทัศน์ก็เป็นได้
แต่แน่นอนว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป มีความท้าทายมากมายที่รอคุณอยู่ ทั้งการจัดการเวลา ความกดดันทางการเรียน การปรับตัวทางสังคม และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต แต่การเผชิญหน้าและเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ อาจจะเป็นบททดสอบที่ยาก เหนื่อย น่าท้อใจ
สิ่งที่เคยมั่นใจว่าเก่ง อาจจะไม่มั่นคงอีกต่อไป
ความชอบและหลงใหลที่เคยคิดว่าใช่ อาจจะกำลังเปลี่ยนแปลง
ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบทางการเงิน เริ่มถาโถมเข้ามา
จะดีแค่ไหนกัน ถ้าเราสามารถเรียนรู้และได้คำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ที่จะช่วยให้เราวางแผนชีวิตในปัจจุบันและอนาคตได้?
ในช่วงเวลาที่ชวนสับสนเช่นนี้ “รุ่นพี่” คือหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพล รวมถึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยให้เหล่านักศึกษาทุกชั้นปี ได้มีแผนการคร่าวๆ สำหรับอนาคตอันใกล้ หรือแบ่งเบาภาระภายในใจลงได้บ้าง
พวกเขาคือขุมทรัพย์แห่งความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะแบ่งปัน คำแนะนำของพวกเขาอาจเป็นเข็มทิศที่ช่วยนำทางเหล่านักศึกษาทุกคน ในทุกการตัดสินใจครั้งสำคัญ
ซึ่งนี่คือหัวใจหลัก ที่เป็นพื้นฐานอันแข็งแกร่งของ โครงการ Chula WISE สนับสนุนโดยมูลนิธิซีบีเอ แพลตฟอร์ม Mentoring ออนไลน์ ที่จะช่วยให้เหล่านิสิตในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีที่พักพิงทางจิตใจ รวมถึงได้รับคำปรึกษาในทุกแง่มุมของชีวิต จากรุ่นพี่ศิษย์เก่าจุฬาฯ ที่เคยผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันมา
วันนี้ Mission To The Moon ได้มีโอกาสไปสนทนากับสองศิษย์เก่าจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่าง คุณนิ้ง-ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย ผู้ทำหน้าที่ประธานโครงการ Chula WISE รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มและพัฒนาโครงการและ ดร.ต้า-วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Co-Founder & Managing Director, Skooldio หนึ่งใน Mentor คนสำคัญของโครงการ Chula Wise ว่า
การมี Mentor หรือ “ที่ปรึกษา” ภายในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกและมีประโยชน์ต่อตัวนักศึกษามากเกินกว่าที่หลายคนจะจินตนาการได้
Mentorship คืออะไร ใครนิยาม?
“ที่ปรึกษา”
“พี่เลี้ยง”
“โค้ช”
หลากหลายคำนิยาม ที่ใครหลายคนในสังคมเคยใช้อธิบายความหมายของการเป็น Mentor แต่ที่แท้จริงแล้ว Mentor นั้นคืออะไรกันแน่?
คุณนิ้ง บอกว่าคำนิยาม Mentor สำหรับเธอนั้นเปรียบเหมือน “พี่เลี้ยง”
โดยพี่เลี้ยงจะเหมือนดาวเหนือ ที่สามารถบอกได้ว่าเรากำลังมุ่งหน้าไปทางไหน ยามที่เรากำลังหลงทาง
“เพราะเมื่อใดก็ตามที่เรามองขึ้นไปบนฟ้า เราก็จะเห็นดาวเหนือที่จะคอยช่วยนำทางเราไปได้”
“เราคงมองว่า Mentor ก็ไม่ได้ให้คำตอบเสียทีเดียว แต่อาจจะเป็นเหมือนการมี Guiding Principle มี Guiding Direction เพื่อให้น้องๆ สามารถที่พอจะหาทางเดินไปต่อได้”
นอกจากนี้ คุณนิ้งเองก็ได้ให้อีกมุมมองหนึ่งว่า Mentor เปรียบเสมือนกระจก ที่คอยช่วยสะท้อนความคิดและความรู้สึกให้น้องๆ ได้ ทำให้พวกเขาเห็นตัวเอง เพราะหลายครั้งเวลาที่ได้พูดคุยกับน้องๆ หลายคนไม่ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร ทำให้มักจะแก้ปัญหาผิดวิธี ซึ่ง Mentor ก็มีหน้าที่ในการสะท้อนสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาออกมา
ทางด้านดร.ต้า เองก็ให้มุมมองของตัวเองเกี่ยวกับ Mentor เอาไว้ว่า Mentor อาจจะมีใกล้เคียงกับคำว่า “เพื่อนคู่คิด” เหมือนเป็นเพื่อนกันจริงๆ มีทั้งในมุมที่เหมือนเป็นคนรับฟังและเป็นคนที่ให้คำปรึกษาได้เช่นกัน
“ผมว่าน้องๆ สมัยนี้เขาน่าจะมีปัญหาเยอะกว่าคนรุ่นพวกเรานิดหนึ่งคือ เขาเปรียบเทียบตัวเองกับทั้งโซเชียลมีเดีย คือถ้าสมัยก่อนเราอยู่ในห้องเรียน เราก็เปรียบเทียบกับคนอื่นอย่างมากก็แค่ที่ 1 กับโหล่ห้อง ก็เทียบกับคนไม่กี่คน”
ในยุคที่โซเชียลมีเดียครองโลก เยาวชนกำลังเผชิญกับความกดดันและการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นอย่างไม่เคยมีมาก่อน สิ่งนี้นำมาซึ่งปัญหาทางจิตใจที่ซับซ้อน การเป็นที่ปรึกษาที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
Mentor ที่ดีจึงต้องเป็นเหมือน “เพื่อนคู่คิด” ที่รู้จักรับฟังอย่างลึกซึ้ง เข้าใจว่าบางครั้งการระบายความรู้สึกก็เพียงพอแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถค้นหาปัญหาที่แท้จริงซึ่งอาจซ่อนอยู่ลึกกว่าที่เห็น
Mentor ≠ Teacher
หลายคนอาจเข้าใจว่าบทบาทหน้าที่ของคนที่ทำหน้าที่ Mentor นั้น ก็คงไม่ต่างจากคนที่เป็น “อาจารย์” เท่าไรนัก แต่อันที่จริงแล้ว กระบวนการทำงานของ Mentor นั้นมีความแตกต่าง
ทั้งคุณนิ้งและดร.ต้าได้ข้อสรุปร่วมกันว่า กระบวนการทำงานของ Mentor หรือ “Mentoring” นั้น คือการผสมผสานระหว่างศาสตร์ของ “โค้ชชิง (Coaching)” และ “การให้คำแนะนำ (Advicing)”
บางที Mentor ก็อาจจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มถามเขาก่อนถ้าเกิดว่าน้องที่เขามายังไม่มีเป้าหมายของตัวเองแบบชัดเจน Mentor ต้องถามเขาอยากเห็นอะไร? เขาอยากได้อะไรในชีวิต? แล้วก็ชวนเขาคิดว่า จากจุดที่เขาอยู่ ณ ปัจจุบัน เขาควรทำอะไรบ้างเป็นลำดับ เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่เขาตั้งเอาไว้ เรียกได้ว่า Mentor ส่วนหนึ่งคือเป็นโค้ช เป็นคนรับฟัง คอยสะท้อนชวนคิด อีกมุมหนึ่งคือเป็นเหมือนครูคอยบอกคอยสอน
ในหลายๆ มุม Mentor ก็ต้องทำหน้าที่ “ไกด์”เพื่อช่วยให้เขาหาคำตอบด้วยตัวเอง เช่น น้องกำลังลังเลเรื่องอะไร? เคยแก้ปัญหาแบบนี้อย่างไร? บอกพี่หน่อยว่ารู้สึกอย่างไร? เพราะจริงๆ แล้ว Mentor เองก็ไม่ได้มีคำตอบแบบ 100% หรอกว่าอะไรเหมาะกับน้องมากที่สุด แต่สำคัญคือเราช่วยให้เขาได้ “กล้าลอง” ไปทำความรู้จักตัวเองมากขึ้น
Mentor บางทีก็เหมือน Navigator ที่คอยแนะนำเส้นทางของชีวิต สำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ ร่วมกับน้อง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ตัวน้องเองคือผู้ที่ต้องตัดสินใจอยู่ดี
ดังนั้น วิธีการให้คำปรึกษาควรเน้นการกระตุ้นให้คิดมากกว่าการให้คำตอบสำเร็จรูป ยอมรับว่าความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และปรับวิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล บางครั้งอาจต้องให้คำแนะนำโดยตรง แต่บางครั้งก็ควรปล่อยให้ลองผิดลองถูก
สุดท้าย การเป็นที่ปรึกษาที่ดีคือการเข้าใจว่าไม่มีวิธีการตายตัว แต่ต้องยืดหยุ่นและปรับตัวตามความต้องการของเยาวชนแต่ละคน เพื่อช่วยพวกเขาเผชิญความท้าทายในโลกยุคใหม่อย่างมั่นใจ
สำหรับในประเด็นที่ว่าด้วยอิทธิพลของโซเชียลมีเดียและสภาพจิตใจของวัยรุ่นในปัจจุบัน คุณนิ้งยังเพิ่มเติมว่า เยาวชนในปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้นด้วย ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ทางเลือกมีจำกัด ความหลากหลายนี้ แม้จะเป็นข้อดี แต่ก็อาจนำมาซึ่งความสับสนและการตัดสินใจที่ยากลำบาก
ดร.ต้าเห็นด้วยและเสริมว่า ความต้องการ Mentor จึงมีมากขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดร.ต้าสังเกตว่าปัญหาที่อาจดูเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ กลับเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเยาวชน เช่น การถูกปฏิเสธงานเพียงครั้งเดียวอาจทำให้พวกเขารู้สึกว่าโลกกำลังจะแตกสลาย ทั้งที่แท้จริงแล้ว มันอาจไม่ใช่อย่างนั้นเสียเลย
ในโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความคาดหวังและการเปรียบเทียบ Mentor มีบทบาทสำคัญในการช่วยเยาวชนนำทางผ่านความซับซ้อนของชีวิต สร้างความมั่นใจ และสนับสนุนให้พวกเขาเติบโตอย่างมั่นคงในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Mentor Ask Powerful Questions
“จริง ๆ ส่วนที่สำคัญมากเลยตรงนั้นคือถาม Powerful Question นั่นแหละ คือเหมือนถามคำถามที่ไปกะเทาะบางอย่าง หรือว่าไปถามคำถามให้เขา เออไม่เคยคิดเรื่องนี้ หรือทำให้เขาหยุดสำรวจจิตใจเขามากขึ้น”
คุณนิ้งและดร.ต้า ก็ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเริ่มต้นด้วยการถามคำถาม โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้รับคำปรึกษายังไม่ชัดเจนว่าต้องการอะไร เขาแนะนำให้ถามว่าพวกเขาอยากเห็นหรือได้อะไร และช่วยพวกเขาคิดถึงขั้นตอนที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายนั้น ดร.ต้ายังอธิบายว่าการเป็นที่ปรึกษานั้นมีหลายบทบาท ทั้งการเป็นโค้ช ผู้รับฟัง และครูผู้สอน โดยวิธีการให้คำปรึกษาจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความต้องการของแต่ละคน
ในบางกรณี ดร.ต้าเสนอว่าอาจจำเป็นต้องให้ข้อมูลหรือความรู้โดยตรง โดยเฉพาะเมื่อมีข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้รับคำปรึกษาอาจไม่ทราบ ในขณะเดียวกัน การแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวก็เป็นวิธีที่มีประโยชน์ แต่ต้องเน้นย้ำว่าผู้รับคำปรึกษาจำเป็นต้องปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ของตนเอง
ดร.ต้ายังเน้นความสำคัญของการช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาหาคำตอบด้วยตนเอง โดยชี้แนะทางเลือกและช่องทางที่เป็นไปได้ เขาเชื่อว่าการตัดสินใจที่มาจากตัวผู้รับคำปรึกษาเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะพวกเขาจะรู้สึกเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น
ในขณะที่คุณนิ้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการถาม “Ask Powerful Questions หรือถามคำถามที่ทรงพลัง” ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตนเองมากขึ้น เธอยกตัวอย่างคำถามที่ทำให้เธอเองต้องหยุดคิดและสำรวจจิตใจตนเอง เช่น “สิ่งที่คุณทำนี้ คุณทำด้วยความรักหรือความกลัว?” คำถามเช่นนี้สามารถเปิดมุมมองใหม่และนำไปสู่การเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง
ทั้งดร.ต้าและคุณนิ้งเห็นพ้องกันว่า การให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของแต่ละบุคคล บางครั้งอาจเป็นเพียงการให้ “ความเห็นที่สอง” เพื่อสร้างความมั่นใจ ในขณะที่บางครั้งอาจต้องใช้การถามคำถามอย่างระมัดระวังเพื่อค้นหาปัญหาที่แท้จริงและช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตนเองมากขึ้น
จาก Mentee สู่ Mentor
ในโลกแห่งการพัฒนาตนเองและการเติบโตทางอาชีพ การมีที่ปรึกษาหรือ Mentor ที่ดีสามารถสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อชีวิตและการทำงาน คุณนิ้งและดร.ต้า สองผู้บริหารรุ่นใหม่ ได้แบ่งปันประสบการณ์อันล้ำค่าจากการได้รับคำแนะนำจาก Mentor ที่เป็นผู้บริหารระดับแนวหน้าของประเทศไทย
คุณนิ้งได้รับคำแนะนำจากคุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการของ Accenture ประเทศไทย บทเรียนสำคัญที่คุณนิ้งได้รับคือแนวคิดเรื่อง “Start with Why” ในที่ทำงาน และ “Start with How” ที่บ้าน คุณนิ้งเล่าว่า
“สิ่งสำคัญมากๆ ที่พี่เจี๊ยบบอกนิ้ง มีสองเรื่องที่เราเอามาใช้ในชีวิต พี่เจี๊ยบบอกว่า เวลาที่เราทำงานกับคนในทีม ให้เรา Start with Why คือเริ่มจากว่า ทำไปทำไม อย่า Start with How ว่าทำอย่างไร แต่กับคนที่บ้าน ให้เรา Start with How ไปเลย ทำอย่างไรให้เขามีความสุข ไม่ต้องหาเหตุผลมากมาย”
นอกจากนี้ คุณปฐมายังสอนให้คุณนิ้งมองเห็นความสำคัญของการทำงานเพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่าตนเอง
“เหตุผลที่เราจะทำอะไรสักอย่าง มันต้องใหญ่กว่าเพื่อตัวเอง แล้วเราจะมีแรงในการทำงาน… อันนี้ก็ช่วยเราทุกวันในการสร้างพลัง”
ในขณะที่ ดร.ต้า ได้รับคำแนะนำจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. บทเรียนสำคัญที่เขาได้รับคือเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงองค์กร ดร.ต้าเล่าว่า
“อย่าไปหวังว่าจะเปลี่ยนองค์กรได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนตัวเอง ดร.ไพรินทร์ จะบอกตลอดว่า ทุกอย่างมัน Set the tone from the top เราต้องเป็น Role Model เราอยากให้คนอื่นปรับอะไร เราต้องทำให้เขาดู”
ดร.ไพรินทร์ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดี แม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม
“ถ้าคุณเป็นหัวหน้าองค์กรแล้ว คุณก็หยิบของในออฟฟิศกลับบ้านไปให้ลูกที่บ้านอะไรอย่างนี้ ปากกา Post-it อะไรเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ คือแกบอกอย่าทำ เพราะถ้าเราทำปุ๊บ เลขาเขาเห็นเราทำ เขาก็จะรู้สึกว่าสิ่งนี้ทำได้”
บทเรียนจากที่ปรึกษาทั้งสองท่านนี้ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อการทำงานของคุณนิ้งและดร.ต้าเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการมีที่ปรึกษาที่ดีในการพัฒนาตนเองและการเติบโตทางอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นภาพใหญ่ การเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเอง หรือการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว บทเรียนเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำพาองค์กรและตนเองไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวทั้งสิ้น
จาก ChAMP สู่ Chula WISE แพลตฟอร์มให้คำปรึกษา จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ปฏิวัติการ Mentoring เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิต
Chula WISE เป็นโครงการที่ต่อยอดจากความสำเร็จอย่างสูงของโครงการ ChAMP ที่เป็น Mentoring Program แบบ Face-to-Face ริเริ่มโดยคณะบัญชีฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น Mentoring Program แบบ Face-to-Face ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาตลอด 13 ปี 13 รุ่น จนได้รับการยอมรับและนำไปประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดที่เปิดรับเพียงปีละครั้ง ทำให้โอกาสในการเข้าถึงยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
ด้วยแรงสนับสนุนและพัฒนาจากมูลนิธิซีบีเอ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยเงินทุนจากผลการดำเนินงานของบริษัทจำลอง จุฬาฯ (ซีบีเอ) ในปีต่างๆ ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคุณภาพของโครงการพัฒนานิสิต หนึ่งในโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อให้เข้ากับบริบทการศึกษาในยุควิถีปกติใหม่ให้นิสิตมีรากฐานอันแข็งแกร่งในการต่อยอดสู่โลกอนาคต
Chula WISE จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดนี้ โดยเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถเข้าถึง Mentor กว่า 50 คนจากหลากหลายสาขาอาชีพได้ตลอดทั้งปี ผ่านแพลตฟอร์ม Mentoring แบบ On Demand
ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงโลกการศึกษาและการทำงาน โครงการ Chula WISE ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนวัตกรรมใหม่ในการเชื่อมโยงนักศึกษากับที่ปรึกษามืออาชีพ คุณนิ้งประธานโครงการ Chula WISE หนึ่งในผู้ริเริ่มและพัฒนาโครงการ Chula WISE ได้เล่าถึงวิวัฒนาการและประโยชน์ของโครงการนี้ว่า
“โครงการ Mentoring ที่มีพี่ศิษย์เก่ามาเป็น Mentor ให้น้อง ที่แรกของประเทศคือโครงการ ChAMP ซึ่งเริ่มมาเมื่อ 13 ปีที่แล้ว รวมทั้งหมด 13 รุ่น เราได้ใบสมัครมาเกิน 3,000 ใบ แต่ว่าสามารถที่จะ Mentor น้องได้เพียง 700 กว่าคน จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดเป็นโครงการ Chula WISE เราได้รับการสนับสนุนมาโดยตลอดจากมหาวิทยาลัย และ ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้การสนับสนุนความตั้งใจที่จะส่งมอบสิ่งดีๆ ให้กับน้องๆ ตั้งแต่โครงการ ChAMP จนถึง Chula WISE”
Chula WISE ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อขยายโอกาสให้กับนักศึกษามากขึ้น คุณนิ้งอธิบายว่า ต้องการจะ Scale การ Mentoring ก็เลยเกิดเป็นโครงการที่เป็น Online ที่เราต่อ ยอดขึ้นมาซึ่งก็มีพี่ๆ หลากหลายอยู่ใน Platform แล้วก็น้องๆ สามารถที่จะเข้ามาขอคำปรึกษาได้
จุดเด่นของ Chula WISE
- ความยืดหยุ่นสูง : นิสิตสามารถนัดหมายเวลาที่สะดวกกับ Mentor ได้ตามต้องการ
- การให้คำปรึกษาจาก Mentor ที่มี Background หลากหลาย : สามารถเข้าถึงประสบการณ์และความรู้จาก Mentor ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาที่หลากหลาย
- การสนทนาแบบส่วนตัว : ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
- ไม่มีค่าใช้จ่าย : เปิดโอกาสให้นิสิตทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
ดร.ต้าเสริมว่าระบบนี้ใช้ประโยชน์จากพลังของเทคโนโลยีใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“มันใช้พลังของความเป็น Platform นี่แหละ ที่เอาศิษย์เก่าเยอะๆ มา คือเหมือนอยากรู้อะไรก็มีโอกาสได้คำตอบในเรื่องนั้น”
เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการได้รับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ตรง
“หลายคนเขาอยากมีความมั่นใจ เพราะเขาต้องไปอธิบายสิ่งที่เลือกให้พ่อแม่เขา (หัวเราะ) ทำอย่างไรให้เขารู้สึกว่า เขาได้ฟังความคิดเห็นจากคนที่เขาเชื่อถือได้ แล้วเขาก็สามารถกลับไปคุย กลับไปตัดสินใจได้ดีขึ้น”
นอกจากนี้คุณนิ้งยังยกตัวอย่างเพิ่มเติมถึงประโยชน์ของการมีที่ปรึกษาที่หลากหลายอีกด้วยว่า
“น้องหลายคนก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เขาก็ต้องอยากคุยกับเจ้าของธุรกิจว่า แล้วเจ้าของธุรกิจมันเริ่มอย่างไรประสบการณ์แบบไหนที่เขาน่าจะไป แล้วเขาอยากไปเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับพี่ๆ เพื่อเขาจะได้นำมาตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ”
Chula WISE จึงไม่เพียงแต่เป็นแพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงประสบการณ์และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่หลากหลาย ช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเองได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ในยุคที่การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป Chula WISE จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างระบบการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรในอนาคต
กระบวนการ Mentoring ที่ทรงพลัง
Chula WISE ไม่ใช่เพียงการให้คำปรึกษาทั่วไป แต่เป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพอย่างลึกซึ้ง ประกอบด้วย
- การโค้ชชิ่ง (Coaching): กระตุ้นให้นิสิตค้นพบวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- การแนะนำ (Advise): แบ่งปันประสบการณ์และมุมมองจาก Mentor
กระบวนการนี้มุ่งเน้นการดึงศักยภาพของ Mentee ออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกล Chula WISE ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในรั้วจุฬาฯ เท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่จะขยายโครงการไปสู่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการศึกษาไทยและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในวงกว้าง
Chula WISE จึงไม่เพียงแต่เป็นโครงการ Mentoring เท่านั้น แต่ยังเป็นการปฏิวัติรูปแบบการพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษา ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการศึกษาไทยในระยะยาว นับเป็นก้าวสำคัญของการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับสังคมไทยต่อไป
เปิดประตูสู่โอกาสแห่งการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
ท้ายที่สุดนี้ ทั้งคู่ก็เข้าใจว่า ในฐานะที่ตัวเองเคยผ่านการเป็นนักศึกษา เคยผ่านการเป็นวัยรุ่นมาก่อน ก็เข้าใจว่าการยื่นมือมาขอความช่วยเหลือ หรือเข้ามารับคำปรึกษาจากคนแปลกหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป แต่ทั้งคู่เองก็อยากให้ทุกคนลองเปิดใจให้กับโครงการ Chula WISE ดู
เพราะมันอาจจะเป็นการเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของชีวิตที่เราไม่อาจจินตนาการได้เลย
“มันเป็นโอกาสที่ พี่ๆ อยากมาให้ เป็นโอกาสที่เราไม่น่าพลาด การที่ได้คุยกับคนที่มีประสบการณ์เยอะๆ บางทีคำพูดเขาคำสองคำ มันเหมือนมันเปลี่ยนความคิด หรือเปลี่ยน Mindset บางอย่างเราได้”
“แค่อาจจะกลั่นกรองกับตัวเองนิดหนึ่งว่า ถ้าเรามีเวลากับเขาชั่วโมงหนึ่ง เราอยากถามคำถามมุมไหนแบบไหนแล้วก็อาจจะค้นหาข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ว่า สิ่งที่เราหาเองได้มีประมาณนี้ แต่เรายังมีคำถามเพิ่มเติมอีกประมาณนี้”
คุณต้าเสริมว่าแม้แต่การเตรียมตัวก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
“แค่เขาเรียกว่ากล้าเปิดประตูมาว่า เขาอยากไปรับฟังความคิดเห็นคนอื่น อยากได้ไอเดียจากคนอื่น แล้วเขาก็เริ่มเตรียมตัวเพื่อจะเข้ามาตรงนี้ ผมว่าแค่เขาเตรียมตัว เขาก็ได้ประโยชน์ก้อนหนึ่งแล้วนะ”
นอกจากนี้ คุณนิ้งย้ำว่าไม่จำเป็นต้องมีปัญหาใหญ่โตจึงจะเข้าร่วมโครงการได้
“ทุกคนถ้าเราได้คุยกัน จะรู้ว่าทุกคนมีปัญหา แล้วจริงๆ แม้กระทั่งเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ว่าถ้าเราคุยกันไปเรื่อยๆ มันก็อาจจะเจอปัญหาที่ ถ้าเราแก้สิ่งนี้ได้ มันอาจจะไปแก้อีก 3 4 5 อย่าง ในชีวิตได้”
คุณต้าเสริมว่าที่ปรึกษาในโครงการได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี ซึ่ง Chula WISE นั้นมีกระบวนการคัดเลือก Mentor ที่เข้มข้นมาก ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจะเป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ ก็เข้าร่วมได้
ทุกคนที่เข้าร่วมเป็น Mentor จะต้องผ่านกระบวนการคัดสรรมากมาย ต้องเป็นคนเก่งที่มีผลงาน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าเป็นคนเก่งก็คือ “เป็นคนดี” มีการ Background Check อย่างละเอียด รวมถึงต้องมีจิตสาธารณะ อยากจะมอบสิ่งดีๆ ให้กับสังคมอีกด้วย
“เราเชิญพี่ๆ มาไม่มีพี่คนไหนได้เงินหรือค่าตอบแทนใดๆ เลย สำหรับพี่บางคนหนึ่งชั่วโมงของเขาจริงๆ แล้วมันเป็นเงินเป็นทองสุดๆ แต่เขาบอกว่าอยากมาทำให้ด้วยความเต็มใจ อาจเป็นเพราะส่วนใหญ่พี่ๆ หลายคนก็เป็น Mentee มาก่อน เคยได้รับสิ่งดีๆ มาก่อน จนกลายมาเป็น Mentor ในโครงการอื่นๆ ต่อไป เป็นการ Pay It Forward สิ่งดีๆ ไปเรื่อยๆ”
นอกจากนี้ โครงการ Chula WISE จึงไม่เพียงแต่เป็นแพลตฟอร์มการให้คำปรึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันล้ำค่าสำหรับนักศึกษาในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ การเข้าร่วมโครงการไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ยังอาจเปิดมุมมองใหม่ ๆ ที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจและการวางแผนชีวิตในระยะยาว สำหรับนักศึกษาที่ยังลังเล นี่อาจเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาตนเองและค้นพบโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต
ท้ายที่สุดนี้ สิ่งที่พวกเราอยากจะฝากให้กับนักศึกษาทุกคนก็คือ
อย่าลังเลที่จะเข้าหาอาจารย์ รุ่นพี่ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่คุณสนใจ พวกเขาคือขุมทรัพย์แห่งความรู้และประสบการณ์ที่พร้อมจะแบ่งปัน คำแนะนำของพวกเขาอาจเป็นเข็มทิศที่ช่วยนำทางคุณในการตัดสินใจครั้งสำคัญ
จงจำไว้ว่า ช่วงเวลาในมหาวิทยาลัยนั้นมีค่าและผ่านไปอย่างรวดเร็ว จงใช้มันอย่างคุ้มค่าที่สุด เปิดใจรับประสบการณ์ใหม่ๆ กล้าที่จะผิดพลาดและเรียนรู้จากมัน และที่สำคัญ อย่าลืมสนุกไปกับการเดินทางนี้
คุณมีพลังที่จะสร้างอนาคตของตัวเอง เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการก้าวเล็กๆ แต่มั่นคง สู่ความฝันของคุณ เชื่อในตัวเองและศักยภาพที่คุณมี แล้วคุณจะพบว่า ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
ขอให้ช่วงเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยของคุณเต็มไปด้วยการเติบโต การค้นพบ และความสำเร็จ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางอันน่าตื่นเต้นในชีวิต จงใช้มันให้คุ้มค่าที่สุด
Mission To The Moon X CBA
#ChulaWISE
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast