ก้าวสำคัญของธุรกิจในช่วงวิกฤต Covid-19

1340
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

ในช่วงที่วิกฤตของโควิดนั้นกระหน่ำซัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แทบจะทุกธุรกิจไม่ว่าจะน้อยหรือใหญ่นั้นต่างได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน ส่วนจะมากน้อยหรือก็แตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรม

ล่าสุด (13 พ.ค 63) ทาง BBC เองก็ได้ปล่อยรายงานการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่น่าสนใจมากออกมาชิ้นหนึ่ง โดยมีการคาดการณ์ไว้ 4 รูปแบบได้แก่

  1. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว V : ถ้าสามารถควบคุมการระบาดใหญ่ได้ คลายล็อคดาวน์ และคิดค้นวิธีรักษาได้ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะกลับไปสู่ระดับเดิมอย่างรวดเร็วในรูปแบบของตัว V
  2. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว U : อาจจะได้เห็นการฟื้นตัวระดับหนึ่งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่เศรษฐกิจก็จะย่ำแย่ไปจนถึงทั้งปี 2021
  3. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว W : หากมีการระบาดระลอกสองหลังจากคลายล็อคดาวน์ จะทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอีกรอบ และจะยิ่งทำให้การ recover กลับมานั้นยากขึ้นไปอีก
  4. การฟื้นตัวเป็นรูปตัว L : หากมีอุปสรรค์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะคิดค้นวัคซีนไม่ได้ หาวิธีรักษาที่ได้ผลไม่เจอ ก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจนั้นแย่ในระยะยาว และอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไปตลอดกาล

และทั้งหมดนี่ก็เป็นการคาดการณ์ทั้ง 4 รูปแบบ ที่เราควรต้องรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับทุก Scenerio ที่อาจจะเกิดขึ้น… สุดท้ายแล้วไพ่จะออกมาหน้าไหน ก็ยังไม่มีใครที่รู้ได้อย่างแน่ชัด แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนทำธุรกิจสามารถที่จะทำได้ทันทีตั้งแต่ตอนนี้ คือ การตัดสินใจว่า “อะไรคือสิ่งที่เราจะทำต่อจากนี้” หรือ “ในวิกฤตนี้” เพราะทุกอย่างที่เราทำต่อจากนี้ถือได้ว่าเป็น “defining moment” อย่างแท้จริง

Advertisements

เมือไม่กี่วันก่อนผมได้มีโอกาสอ่านบทความที่ชื่อว่า “ในวันที่ต้องเจอวิกฤต ‘ผู้นำ’ ต้องใช้ ‘หัวใจ’ พูด” marketeeronline.co ซึ่งเป็นบทความที่สรุปเนื้อหาจากที่ คุณ อนุพงษ์ อัศวโภคิน ซีอีโอ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ใน live town hall มีหนึ่งประโยคที่ คุณ อนุพงษ์ พูดและผมคิดว่ามันจริงมากๆ คือ “การที่เราไม่ Go Beyond เราจะไม่สามารถหา New Normal ที่จะเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจได้เลย”

ผมเชื่อเหมือนกันว่า ถ้าเราไม่สู้ให้สุดๆ ในตอนนี้ เราอาจจะไม่มีโอกาสได้สู้อีกแล้วก็ได้ เพราะหลังจากนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในแวดวงของธุรกิจ Position ของธุรกิจที่อาจจะเปลี่ยนไปหลังจากนี้ จากที่เคยได้เปรียบ อาจจะล้มหายตายจาก จากที่ไม่เคยมีตัวตนมาก่อน หลังจบวิกฤตนี้อาจจะขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าก็ได้

อย่างในกรณีของ เอพี เอง คุณ อนุพงษ์ เล่าย้อนกลับไปถึงครั้งเมื่อเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ในช่วงนั้นเอพีกู้เงินมาทำธุรกิจ ดอกเบี้ย 27% ต่อปี ณ เวลานั้นบริษัทยังเล็กมาก มีโครงการแค่ประมาณ 5-6 โครงการ และเงินที่เหลืออยู่สามารถจ่ายพนักงานได้เพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น

Advertisements

แต่ด้วยความทุ่มเททำงานหนัก และสู้ไม่ถอยของทุกคนในบริษัท ทำให้เอพีสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งนั้นมาได้ และเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทอสังหาฯ อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ณ ตอนนี้

โดยคุณ อนุพงษ์ ได้พูดถึง 5 หลักคิดสำคัญของ AP ที่ทำให้องค์กรรอดจากวิกฤตในปี 2540 ครั้งนั้น และสามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่งในวิกฤตครั้งนี้ คือ

  1. Put People first: มองคนให้เป็นคน เข้าใจความต้องการ รับฟังเพื่อนร่วมงานและผู้คนเป็นสำคัญ
  2. Build Together: ทำงานเป็นทีม สร้างและรับผิดชอบร่วมกัน
  3. Progress With Purpose: ทุกคนต้องเข้าใจบทบาทของตัวเอง และพัฒนาเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายเดียวกัน
  4. Go Beyond: ไปให้ไกลกว่าเดิม ค้นหาความต้องการของลูกค้าให้เจอ ทำให้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง
  5. Be Innovative: ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ทำให้ดีขึ้นในทุกวัน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และแก้ไขอย่างไม่หยุด

และจากงบดุลที่แข็งแกร่งของ AP ทำให้ในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ AP สามารถประกาศชัดเจนเลยว่า จะไม่มีนโยบาย ปลด-ลดเงินเดือนพนักงาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้ช่วยกันฟันฝ่าวิกฤต และรอดไปด้วยกัน ซึ่งหลังจากนี้เราน่าจะได้เห็น AP เป็นองค์กรที่เติบโตและแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมอย่างแน่นอน

สุดท้ายผมอยากจะบอกว่าในทุกๆ วิกฤตไม่มีใครไม่บาดเจ็บ ไม่มีใครไม่เหนื่อย แต่ถ้าเราตัดสินใจที่จะสู้ต่อ ไม่ละความพยายาม หลังจากวิกฤตครั้งนี้จบลง เราอาจจะได้เจอกับจุดพลิกผัน (Tipping Point) ที่เราไม่คาดคิดมาก่อนก็ได้

สิ่งสำคัญ คือ เราต้องทำให้ทุกคนในองค์กรร่วมสู้ไปกับองค์กรด้วย ด้วยการหา “แกน” หา “คุณค่า” ที่แท้จริงให้เจอ และสื่อสารออกไปให้ชัดว่าเราจะสู้และยืนหยัดเพื่ออะไร 

“ผมเชื่อว่าเราจะเจอวิกฤตอย่างนี้ต่อไปอีก 6 เดือน และครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะประเทศเรา แต่เป็นกันทั่วโลก องค์กรที่ไม่มีจุดมุ่งหมายขององค์กรเป็นตัวยึด ไม่มีคุณค่าองค์กรเป็นแกนปฏิบัติ ก็อาจจะอยู่ไม่ได้…”อนุพงษ์ อัศวโภคิน
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่