ศาสตร์แห่ง “โคดาวาริ”

7040
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • ในภาษาญี่ปุ่น มีคำอยู่คำหนึ่งคือ “โคดาวาริ” หมายถึงการทำบางสิ่งบางอย่างให้ออกมาดีที่สุด พิถีพิถัน ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่ได้มองว่างานคือแค่การสร้างรายได้ แต่งานยังเป็นการ “ฝึกปฏิบัติ” คือช่วยพัฒนาและยกระดับชีวิตและจิตใจของพวกเขาด้วย

เวลาพูดคุยกับคนญี่ปุ่น สิ่งที่ได้ยินบ่อยๆเกี่ยวกับมุมมองการทำงาน คือเขาไม่ได้มองว่างานคือแค่การสร้างรายได้ แต่งานยังเป็นการ “ฝึกปฏิบัติ” คือช่วยพัฒนาและยกระดับชีวิตและจิตใจของพวกเขาด้วย

เลยไม่น่าแปลกใจ ที่เรามักจะเห็นภาพคนญี่ปุ่นทำงานอย่างพิถีพิถัน ถ้าทำอะไรแล้วก็ทำเพื่อแสวงหาความเป็นเลิศ เพราะเขาไม่ได้สู้แค่กับคู่แข่ง แต่ยังสู้กับตัวเองด้วย

โคดาวาริ

ในภาษาญี่ปุ่นจะมีคำอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า “โคดาวาริ” (Kodawari) ซึ่งไม่มีคำไทยที่แปลได้ตรงๆ แต่คำนี้หมายถึงความแน่วแน่ในการทำบางสิ่งบางอย่างให้ออกมาดีที่สุด ซึ่งรวมถึงความพิถีพิถันและใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

Advertisements
Chef Japanese
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

เช่น ลองนึกถึงซูชิเชฟระดับท็อปๆ ของญี่ปุ่น ที่ตั้งใจบรรจงทำซูชิแต่ละชิ้นประหนึ่งงานศิลปะ หมั่นเพียรฝึกฝนตัวเองอยู่เรื่อยๆ ใส่ใจรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิของข้าวที่พอดิบพอดี (จึงเป็นสาเหตุที่เราไม่ควรปล่อยซูชิทิ้งไว้หลังจากเชฟวางลงบนจานต่อหน้าเรา) หรือแม้แต่สังเกตว่าลูกค้าถนัดมือข้างไหน เพื่อจะได้วางซูชิได้ถูกข้าง ซึ่งนี่ก็คือโคดาวารินั่นเอง

หรือจริงๆ เวลาที่เราไปซื้อขนมญี่ปุ่น การห่อของอย่างปราณีตบรรจงจนบางครั้งแทบไม่กล้าแกะ อันนี้ก็คือโคดาวาริเช่นกัน

เพราะฉะนั้น ที่สินค้าจากญี่ปุ่นจึงขึ้นชื่อด้านความปราณีตและพิถีพิถัน ก็เพราะมันมาจากวิธีคิดเรื่องการทำงานแบบญี่ปุ่นนั่นเองครับ

Advertisements

ผมชอบคำพูดของประธานอินาโมริ ผู้บริหารเคียวเซร่า (Kyocera) และยังเป็นผู้พลิกฟื้นสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) จากการล้มละลาย โดยเขาเข้าไปทำงานให้เจแปนแอร์ไลน์โดยไม่รับเงินเดือนเลย ประธานอินาโมริเล่าว่า เขาไม่ได้ทำอะไรมาก นอกจากแค่ดึงจิตวิญญาณของสายการบินนี้ให้กลับคืนมา เขาทำให้พนักงานมีเป้าหมายเดียวกัน คือการมุ่งมั่นให้บริการลูกค้าด้วยหัวใจ

ดังนั้นเจแปนแอร์ไลน์จึงเป็นสายการบินที่ไม่ใช่แค่อบรมพนักงานด้านการบริการและกฎระเบียบความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังอบรมพนักงานให้ทำงานด้วยความรู้สึก “ขอบคุณ” ลูกค้า เพราะความเชื่อว่าหากทำงานด้วยความรู้สึกจากข้างในที่ดี การปฏิบัติภายนอก รวมถึงความเข้าอกเข้าใจ ลูกค้าก็จะตามมาเอง

วิธีคิดนี้ก็ถือว่าเป็นโคดาวาริแบบหนึ่งเช่นกัน และไม่น่าเชื่อว่าภายในปีแรกที่ประธานอินาโมริเข้าไปบริหาร เจแปนแอร์ไลน์ก็กลับมาทำกำไร 188 พันล้านเยน และยังทำกำไรมาเรื่อยๆ ในปีถัดๆ มา

และนี่ก็เป็นตัวอย่างของการทำงานที่มาจาก “ข้างใน” ที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเลิศ เหมือนที่ประธานอินาโมริได้เขียนถึงไว้ว่า “วัตถุดิบเดียวที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ ก็คือจิตวิญญาณที่ใส่ลงไปนั่นเอง”

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่