ยกระดับการทำงานด้านไอทีขององค์กรอย่างไร ให้พร้อมรับการเติบโต?

596
Juniper2_AIops

Mission To The Moon x Juniper Networks

เมื่อองค์กรเติบโตขึ้น แน่นอนว่าระบบภายในก็ต้องรองรับการเติบโตนี้ให้ได้ด้วยเช่นกัน และเมื่อความต้องการมากขึ้น องค์กรก็ต้องการทรัพยากรมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งสิ่งที่องค์กรส่วนมากทำก็คือการซื้อฮาร์ดแวร์มาเพิ่ม แต่สุดท้ายก็รู็สึกว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรสักเท่าไหร่

นอกเหนือจากความต้องการที่จะตอบรับการเติบโตขององค์กร ปัจจุบันองค์กรต่างๆ มีงานประเภท IT Operations ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชัน ด้าน Network Infrastructure ด้าน Data Base และด้าน Server เป็นต้น แต่โจทย์สำคัญของยุคแห่งดิจิทัลคือ เราจะสามารถดึงคุณค่าออกมาจาก IT Operations เหล่านี้ได้อย่างไร

Advertisements

ทาง Mission To The Moon ก็ได้รับเกียรติพูดคุยกับคุณธนากร บุญยังคุณ Country Lead จาก Juniper Network Thailand ผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้าน ‘AIOps’ ทำให้ในบทความนี้ เราจะพาไปดูกันว่าองค์กรจะสามารถยกระดับ IT Operations และดึงคุณค่าออกมาได้อย่างเพื่อรองรับการเติบโตภายใต้ยุคแห่งดิจิทัล!

Siloed IT Operation และ Human Error ‘ปัญหา’ หลักในองค์กร

โดยส่วนมากแล้ว IT Operations ในองค์กร อย่างส่วนของแอปพลิเคชัน และ Network Infrastructure ยังถูกแยกออกจากกัน ดังนั้น การบริหารจัดการจึงไม่สามารถมองให้ทะลุได้แบบสมบูรณ์ครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากความต้องการระบบ IT ในปัจจุบันค่อนข้างสูง จึงต้องการกระบวนการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว หรือจะพูดได้ว่าต้องการ MTTR (Mean Time To Resolve) ที่ค่อนข้างต่ำ

ซึ่งนอกจากปัญหาด้าน IT ที่มีความแบ่งแยกออกจากกัน ปัญหาด้าน Human Error ก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องมีการแก้ไข เพราะแน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะเข้าไปคอนโทรล ‘คน’ ได้แบบ 100% ทำให้ปัญหาของ Human Error นั้นยังคงอยู่

เป้าหมายของการใช้ ‘AIOps’ ในองค์กร

เมื่อพูดถึงบทบาทของ AIOps แต่ละองค์กรก็ต้องย้อนกลับมาดูก่อนว่า ‘เป้าหมาย’ ขององค์กรคืออะไร อย่างทางคุณธนากรอยู่ในวงการ Networks ทำให้เป้าหมายขององค์กรคุณธนากรจะมีอยู่หลักๆ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1. การมี Networks ที่ให้ User Experience ที่ดี
2. ทำให้การบริหารจัดการงานของฝ่าย IT และ Admin นั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น
3. เมื่อเกิดปัญหา ต้องแก้ได้อย่างรวดเร็ว
4. ลด Human Error และ Downtime ที่อาจเกิดขึ้นในระบบ

Gap Inc. ทลายวิกฤตดิสรัปต์ชันผ่านการนำ AIOps มาใช้

Gap Inc. บริษัท Retail รายใหญ่ที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ และยังมีสาขาอยู่ตามหลายๆ ประเทศทั่วโลก เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่นำเทคโนโลยีของ Junipers เข้าไปใช้ และได้ผลลัพธ์ที่มีความประสบความสำเร็จ

ซึ่งเริ่มจากการที่ทาง Gap Inc. ได้มองเห็นถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคธุรกิจ โดยในภาคของธุรกิจ Retail สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือการที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการที่จะเข้ามาซื้อสินค้าเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังคาดหวังที่จะได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไปด้วย โดยในปัจจุบัน สิ่งที่ร้าน Retail ใหญ่ๆ จำเป็นต้องมีคือการมีระบบไร้สายที่ยอดเยี่ยม ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถจะต่อยอดไปได้ในอนาคต ทำให้สิ่งนี้จึงกลายเป็นโจทย์ใหม่ของ Gap Inc.

ซึ่งก่อนที่ Gap Inc. จะใช้บริการกับทาง Juniper ก็เผชิญกับอุปสรรคทางด้านเทคนิคที่เมื่อระบบไร้สายมีปัญหา ก็จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเจอว่าต้นตอของปัญหาอยู่ที่ตรงส่วนไหน ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทจึงตัดสินใจที่จะดีไซน์ระบบสัญญาณไร้สายภายในร้านค้าใหม่ทั้งหมด เพราะร้านค้าต้องการระบบที่ดีเพื่อที่จะสามารถรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และฝ่าย Operation ก็ต้องการระบบที่ดีที่จะสามารถเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา

โดยทาง Gap Inc. ก็ได้นำตัวเทคโนโลยี Mist Platfrom ซึ่งเป็น AI-Driven WLAN รวมถึง MX Series 5G Universal Routing Platforms เข้ามาใช้ ด้วยโครงสร้าง Cloud ของ Mist ที่มีความทันสมัย สร้างระบบ Wi-Fi ที่สามารถคาดการณ์ได้ สามารถเชื่อถือได้ และสามารถวัดผลได้ รวมถึงยังเป็นระบบที่ให้ความอัตโนมัติและให้ข้อมูลเชิงลึกที่มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ช่วยให้ Gap Inc. นั้นสามารถมอบประสบการณ์ทางด้านระบบไร้สายที่ยอดเยี่ยมให้กับทางลูกค้า ส่วนตัว MX Series 5G Universal Routing Platform นั้นได้เข้าไปช่วยให้ระบบ Blackbone ของบริษัทนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ที่ทำให้ไม่ว่าจะเจอความท้าทายใดๆ ก็จะทำให้บริษัทสามารถที่จะสเกลและปรับตัวได้แบบทันที

Advertisements

โดยหลังจากที่ Gap Inc. ได้นำเทคโนโลยีจาก Juniper เข้าไปใช้ ก็ได้เห็นผลลัพธ์ทางธุรกิจอยู่ราวๆ 4 ประการด้วยกัน คือ (1) สามารถที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ที่เป็นที่น่าพอใจให้กับทั้งพนักงานและลูกค้าผ่านการใช้งาน AI-driven Wi-Fi (2) สามารถที่จะลดการเข้ามาแก้ไขปัญหาในร้านค้าของพนักงานทางด้านเทคนิคได้มากถึง 85% (3) สามารถที่จะสร้างการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลให้กับร้านค้าในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และ (4) วางรากฐานที่จะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถนำบริการที่เหนือชั้นเข้ามาใช้ เพื่อที่จะสร้างการพัฒนาที่ก้าวกระโดดและเป็นต่อในการแข่งขันในอนาคต

AIOps จัดเก็บ Data ทุกระดับ เสริมประสิทธิภาพการแก้ปัญหา

AIOps ของทาง Juniper ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับการทำ Data Ingestion/Handling โดยทาง Juniper เองสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ในทั้งส่วนของ Coverage Area, Roaming, Radius, ระบบ AP, Throughput, Time to Connect, Signal Strength และ Location และในทางฝั่งของ Client เอง ตัว AI ของ Juniper ก็ยังสามารถที่จะทำ Dynamic Packet Capture ได้อีกด้วย

ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ทางฝ่าย IT ก็จะต้องเดินทางไปหาผู้ใช้งาน และแจ้งให้ผู้ใช้งานลองทดสอบให้ดูอีกทีว่าปัญหาอยู่ตรงส่วนไหน แต่ด้วย Dynamic Packet Capture เครื่องมือนี้จะเก็บข้อมูลของเราตลอดเวลา ถ้าเกิดปัญหาขึ้น ผู้ใช้งานสามารถแจ้งได้เลยทันทีว่าปัญหาเกิดขึ้นตรงส่วนใด เวลาใด และโลเคชันอยู่ตรงส่วนใด ทาง IT ก็สามารถที่จะไปดึงข้อมูลออกมาดูได้แบบทันที ก็จะช่วยให้กระบวนการแก้ไขนั้นเร็วขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้น

‘Marvis’ AI ที่ช่วย ‘ตอบ-แนะนำ-แก้ไข’ เรื่องไอที

‘Marvis’ AI ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนกับแชตบอต ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถถามคำถามเป็นภาษามนุษย์ ซึ่งทาง Marvis ก็จะไปเอาข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้มาตอบคำถามของผู้ใช้งาน อย่างเช่น ถ้าผู้ใช้ถามว่า มีผู้ใช้งานที่มีปัญหาจำนวนเท่าไหร่? ทาง Marvis ก็จะตอบคำถาม พร้อมบอกเหตุผลว่าเกิดจากอะไรบ้าง และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งาน หรือผู้ใช้งานจะให้ Marvis แก้ปัญหาให้เลยก็สามารถทำได้ เสมือนกับมีผู้เชี่ยวชาญมานั่งมอนิเตอร์คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้อยู่ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาของ IT Admin ค่อนข้างมากเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ในปัจจุบัน Marvis ยังสามารถเข้าไปบริหารจัดการในส่วนของ Wire Network และดูส่วนของแอปพลิเคชันได้อีกด้วย อย่างเช่น หากผู้ใช้งานแจ้งว่าทำไมแอปฯ Zoom หรือ Microsoft Teams มีปัญหาติดๆ ขัดๆ ก็สามารถที่จะให้ Marvis เข้าไปดูได้ด้วยเช่นกัน

อนาคตของ AIOps

หากพูดถึงเรื่องอนาคตของ AIOps แน่นอนว่าจะต้องมีการนำ AI มาใช้กันมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้การทำงานของคนที่อยู่ในสายงานนี้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น เพราะในอนาคต เมื่อโลกก้าวไปข้างหน้า องค์กรโตขึ้นมากกว่าเดิม ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ก็จะเพิ่มขึ้นไปด้วย และความยากของฝ่าย IT ก็จะทวีคูณขึ้นไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น โจทย์ของ AI คือการทำให้งานด้าน IT Operations ต่างๆ ง่ายขึ้นไปพร้อมๆ กัน

อีกส่วนที่สำคัญคือระบบจะต้องสามารถดูแบบ ‘Full Visibility’ ได้ ที่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะต้องดูได้ว่าเกิดตรงส่วนไหน และต้องวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และคาดว่าในอนาคต AI จะต้องมีเรื่องของ ‘Flexibility’ หรือความยืดหยุ่นที่มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น

ในปัจจุบันเราอยู่ในโลกของการดูแล Network องค์กรต่างๆ ก็เริ่มที่จะมองหาเครื่องมือต่างๆ ในการที่จะเข้ามาช่วยดูแลแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Network เหล่านี้ ดังนั้น การเลือก ‘เครื่องมือ’ จึงสำคัญ เพื่อที่จะช่วยองค์กรให้สามารถเติบโตไปได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นที่สุด

สำหรับใครที่สนใจอยากที่จะลดค่าใช้จ่ายทางด้านไอที อยากได้ประสบกาณ์ด้านไอทีที่สามารถมั่นใจได้ และอยากได้ระบบ Network ที่มีความคล่องตัวสูง สามารถไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ Juniper กันให้มากขึ้นได้ผ่านวิดีโอ Experience-First Networking และไกด์บุ๊กออนไลน์ Experience-First Networking eGuide

Advertisements