INSPIRATIONอายุเท่านี้ ไม่ต้องมีเท่านั้นก็ได้! โบกมือลาความกดดันจากนาฬิกาทางสังคม

อายุเท่านี้ ไม่ต้องมีเท่านั้นก็ได้! โบกมือลาความกดดันจากนาฬิกาทางสังคม

อายุ 25 ต้องมีการงานที่มั่นคง
อายุ 30 ต้องแต่งงานกับใครสักคน
อายุ 35 ต้องมีลูก มีบ้าน มีรถ

เคยรู้สึกๆ ว่าเราต้องใช้ชีวิตตามตารางเวลาเช่นนี้ไหม? แม้จะไม่มีตำราเล่มไหนเขียนบอกว่า “อายุเท่านี้ ต้องมีเท่าไหร่” แต่เราก็รู้สึกถึงความกดดัน ทั้งจากค่านิยมในสังคม.. จากเพื่อนในวัยเดียวกันที่ชีวิตเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง.. และจากคนรอบตัวที่ถามอยู่บ่อยๆ ว่า ‘มีแฟนหรือยัง’ หรือ ‘เมื่อไหร่จะแต่ง’

ความคาดหวังทางสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น ส่งผลให้รอยยิ้มดีใจกับอายุที่เพิ่มขึ้นในวันเกิดก็ค่อยๆ ลดลง จากที่เคยคิดว่า ‘โตขึ้นอีกปีแล้ว’ กลายเป็น ‘เหลือเวลาอีกไม่กี่ปีแล้ว’ โดยปริยาย

แน่นอนว่าไม่มีใครชอบหรอก ความรู้สึกที่ว่าต้องแข่งกับคนรอบตัว และต้องรีบเร่งมีทุกอย่างให้พร้อม ก่อนที่เวลาจะนับถอยหลังจนหมด แต่จะทำอย่างไรถึงจะห้ามตัวเองไม่ให้รู้สึกกดดัน?

ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักว่า “นาฬิกาทางสังคม” คืออะไร พร้อมๆ กับวิธีโบกมือลาความกดดัน รักษาความสุขให้อยู่กับเราตลอดการเดินทาง ไม่ว่าเราจะเดินช้าหรือเดินเร็วกว่าใคร

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า “นาฬิกาทางสังคม” (Social Clock) เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา เป็นค่านิยมที่คนเชื่อร่วมกันว่า มีอายุที่เหมาะสมสำหรับหมุดหมายสำคัญต่างๆ ในชีวิต เช่น การแต่งงาน การมีบ้าน การมีงานที่มั่นคง และการมีบุตร เป็นต้น

ในอดีตเราจะเห็นผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้ชีวิตตามนาฬิกาเช่นนี้ แต่ในยุคปัจจุบันที่เริ่มเปิดกว้าง หลายคนเริ่มตระหนักได้ว่า เราไม่ต้องใช้ชีวิตแบบนั้นก็ได้ เพราะจริงๆ แล้วความคาดหวังนี้เป็นบรรทัดฐานของสังคมในอดีต แถมยังเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปตามสังคม วัฒนธรรม และยุคสมัย (ยกตัวอย่างเช่น โรมยุคโบราณมีค่านิยมว่าอายุที่เหมาะสมสำหรับการแต่งงานสำหรับเด็กชายคือ 14 และสำหรับเด็กหญิงคือ 12)

อย่างไรก็ตาม รู้ทั้งรู้ว่ามันเป็นเพียงแค่สิ่งที่คนเชื่อร่วมกัน เราไม่จำเป็นต้องทำตามจริงๆ ก็ได้ แต่ทำไมหลายๆ คนยังรู้สึกกดดันอยู่? ทำไมถึงหยุดเทียบตัวเองกับคนอื่นไม่ได้เลย? มาดู 6 วิธีรับมือกับความกดดันทางสังคม และเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับการเติบโตในแบบของเราดีกว่า

1) นิยามความสำเร็จในแบบของตัวเอง

บางครั้งเราก็อิจฉาและอยากเป็นเหมือนคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่ลึกๆ แล้วนั่นไม่ใช่ความสุขของเราเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นก่อนจะรีบทำอะไรเพราะกลัวเวลาหมด ลองถามตัวเองก่อนว่า “เราต้องการแบบนั้นจริงไหม” ลองจินตนาการภาพชีวิตที่ “มีความสุข” ว่าเป็นอย่างไร? และเรามองภาพ “ความสำเร็จ” เป็นแบบไหน ตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อนจะเริ่มออกเดินทาง

2) สำเร็จช้าไม่ได้แปลว่าล้มเหลว

ความสำเร็จของคนอื่นที่เกิดขึ้นเร็วกว่านั้น อาจประกอบด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น เขาอาจจะมีต้นทุนที่ดีกว่า มีความพร้อมมากกว่า หรือค้นพบความชอบของตัวเองเร็วกว่า

และในขณะเดียวกัน การที่เราช้ากว่าไม่ได้หมายความว่าเราไม่เอาไหนแต่อย่างใด เราอาจจะกำลังหาคำตอบอยู่ว่าจริงๆ แล้วเราต้องการอะไรในชีวิตนี้ เราอาจกำลังเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางอยู่ หรือเราอาจอยากใช้ชีวิตให้มีความสุขในแต่ละวัน มากกว่าการเดินตามฝันก็เป็นได้

Advertisements

3) อย่ารีบตัดสินใจ เพียงเพราะรู้สึกว่าตามคนอื่นไม่ทัน

การเห็นชีวิตของคนอื่นเป็นรูปเป็นร่าง อาจเป็นตัวเร่งให้เรารีบตัดสินใจด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงแต่งงานกับคนที่คบอยู่ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มั่นใจในตัวเขาเท่าไหร่ แต่รู้สึกรีบเพราะอายุมาก และคนรอบตัวแต่งงานกันไปหมดแล้ว หรือจะเป็นการกู้เงินมาซื้อบ้าน ซื้อรถ เพียงแค่คนรอบตัวเขามีกัน เป็นต้น

หากจะตัดสินใจอะไรบางอย่าง เราควรมั่นใจว่าสิ่งนั้นคือสิ่งจำเป็น และ เป็นความต้องการของเราจริงๆ ไม่ใช่ทำไปเพราะกลัวไม่ทันคนอื่น

4) เลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

รู้ว่าไม่ดีแต่ทำไมถึงหยุดเปรียบเทียบไม่ได้? นั่นเป็นเพราะการเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง มนุษย์ยังมีความต้องการที่จะเป็น ‘ส่วนหนึ่ง’ ของกลุ่ม ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเราที่ยังอยู่กันเป็นเผ่า แม้เวลาจะผ่านมานาน แต่สมองเรายังคงสอนให้เราเปรียบตัวเองกับคนรอบๆ ตัวอยู่บ้าง เพื่อไม่ให้เราแตกต่างเกินไปและถูกสังคมทิ้งไว้ด้านหลังนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมนุษย์เปรียบเทียบตัวเองบ่อยครั้ง และมีความสุขน้อยกว่าเดิม เพราะเห็นชีวิตคนอื่นผ่านโซเชียลมีเดียตลอด หนทางที่พอจะช่วยให้หยุดเปรียบเทียบได้ คือ การถอยห่างออกจากโซเชียลมีเดียบ้าง และใช้เวลากับชีวิตจริงและคนรอบตัวจริงๆ ให้มากขึ้น

Advertisements

5) รู้ว่าเราไม่ได้ตัวคนเดียว

เชื่อเถอะว่า มีหลายคนที่ถูกความกดดันของนาฬิกาทางสังคมกัดกินเช่นเดียวกับเรา ดังนั้นอย่าท้อแท้และคิดน้อยใจว่า ‘ทำไมฉันต้องเจอแบบนี้อยู่คนเดียว’ แต่หันมาต่อต้านความกดดัน หาความสุขในแบบของเราเอง และเป็นกำลังใจให้คนอื่นในการทำแบบเดียวกัน

6) ยินดีกับความสำเร็จของตนเอง

ความสำเร็จของคนอื่นดูยิ่งใหญ่กว่าความสำเร็จของเราเสมอ โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไป ที่เราแทบจำไม่ได้ว่าเราทำอะไรไปบ้าง ดังนั้นลองนั่งลิสต์ความสำเร็จที่ผ่านมาในอดีตของตัวเองบ้าง สำรวจดูว่าเรามาไกลแค่ไหนแล้ว และมีเรื่องยากๆ อะไรที่เราผ่านมาได้บ้าง

แม้เราจะยังไม่มีความสำเร็จใหญ่โตแบบคนอื่น และชีวิตยังไม่เข้าที่เข้าทางเท่าไรนัก แต่อย่าลืมใจดีกับตัวเองสักหน่อย และยินดีกับความสำเร็จของตัวเองบ้างนะ 🙂

อ้างอิง
https://bit.ly/3QRdtrO
https://bit.ly/3QSEATb
https://bit.ly/3dAyad7

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ยังวิ่งตาม Passion ได้อยู่ไหม? เข้าใจวิกฤตชีวิตคนวัย 30 ผ่านหนัง ‘Tick, tick…BOOM!’ :: https://bit.ly/3wuY5u3
บทเรียนชีวิตของคนวัย 30 ที่ยังไร้ทิศทางจากหนัง ‘The Worst Person in the World’ :: https://bit.ly/3itTHUg

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#inspiration

 

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Tanyaporn Thasak
Tanyaporn Thasak
ผู้โดยสารคนหนึ่งบนยาน Mission To The Moon ที่หลงใหลในวรรณกรรม ภาพยนตร์ บทกวี การอ่าน การเขียน และการนอน

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า