ลิขสิทธิ์การใช้รูปภาพ สำหรับคนทำธุรกิจ

21885

สำหรับคนที่ต้องการเปิดเพจ หรือเว็บไซต์ และต้องการใช้รูปภาพ อาจจะสับสนว่าเราสามารถโหลดภาพแบบไหนมาใช้ได้บ้าง รูปบุคคลหรือรูปภาพถ่ายแบบไหนที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ ไม่ถูกรายงานหรือสั่งลบ 

ถ้าจ่ายเงินซื้อแล้วยังถูกรายงาน สาเหตุเป็นเพราะอะไร?

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในไทยนั้นมีข้อกำหนดอะไรบ้าง

Advertisements

เข้าใจลิขสิทธิ์ภาพถ่าย

ปกติแล้วกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภท และ  “ภาพถ่าย” จัดอยู่ในหมวดศิลปกรรม ภาพถ่ายจะได้รับความคุ้มครองทันที โดยที่ไม่ต้องจดทะเบียนใดๆ เริ่มตั้งแต่วินาทีที่เจ้าของภาพถ่ายชิ้นงานนั้นออกมา

และเจ้าของผลงานเป็นคนเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำสำเนา ทำ Copy ดัดแปลงลงในสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะภาพ 2D หรือ 3D 

มาตรา 31 ระบุว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดัง ต่อไปนี้

(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

(๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร”

หากละเมิดลิขสิทธิ์ รายละเอียดบทกำหนดโทษมีดังนี้

“มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็น การกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

“มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำ ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

สรุปสั้นๆ ถ้าเราใช้ภาพตาม 4 ข้อข้างต้น ตามกฏหมายไทยถือว่า “ผิด” และถ้าเป็นภาพถ่ายจากต่างประเทศ หากเจ้าของผลงานเจอก็อาจจะถูกฟ้องได้เช่นกัน

Advertisements

ดังนั้นถ้าเราต้องการใช้ภาพจะต้องขอนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน 

ธุรกิจเจ้าใหญ่ๆ ก็เคยได้รับบทเรียนเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เช่นกัน ในปี 2559 ช่างภาพที่ชื่อว่า Christopher Sadowski ได้ยื่นฟ้อง iHeartMedia เนื่องจากมีการโพสต์รูปถ่ายของแร็ปเปอร์ และนักแสดงหญิง Azealia Banks โดยที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

ในขณะที่สื่ออื่นๆ ใช้รูปภาพ โดยให้เครดิตและมีการชำระเงิน 

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้รูปของบุคคลที่มีชื่อเสียง ยิ่งมีการแชร์โพสต์ออกไปไกลเท่าไหร่ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ก็จะยิ่งหนักขึ้น จากกรณีนี้ทำให้ iHeartMedia เรียนรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ และพิจารณาเรื่องเหล่านี้อย่างเข้มข้นก่อนปล่อยแคมเปญต่างๆ

ภาพที่ซื้อจากเว็บไซต์มีแบบไหนบ้าง

ภาพที่ซื้อผ่านเอเจนซีแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1.Rights-managed : รูปภาพที่จ่าย หรือจ่ายเฉพาะครั้งที่ใช้ ถ้าหากเจอปัญหาว่า เราจ่ายเงินซื้อรูปภาพไป แต่ยังถูกร้องเรียนในเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ ก็ไม่แน่ว่ารูปภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ในรูปแบบ Right managed 

2.Royalty-free : ภาพที่ซื้อครั้งเดียว สามารถใช้ได้เรื่อย ๆ พูดง่ายๆ ก็คือ เหมาจ่าย
การอนุญาตแบบ Royalty-free ตอนนี้กลายมาเป็นที่นิยม เพราะช่วงนี้โลกดิจิตัลมีการขยายตัวค่อนข้างสูง และภาพถ่ายก็คือสิ่งสำคัญ ที่จะสนับสนุนให้ Content มี Impact มากยิ่งขึ้น สามารถไปฟังพอดแคสเกี่ยวกับพลังของการใช้ภาพ (The Power of Image) ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=GGBgTWh9clw

และในปัจจุบันภาพในคลังส่วนใหญ่ก็ถูกลงทะเบียนไว้ให้เป็นแบบ Royalty-free ด้วย ฉะนั้นการอนุญาตแบบ Royalty-free จึงเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ซื้อ ที่นำเสนอทั้งความยืดหยุ่นและซื้อง่ายมากกว่าการใช้แบบ Rights-managed

Shutterstock เป็น Platform ที่เชื่อมโยงระหว่างนักสร้างสรรค์ผลงาน กับ ลูกค้าผู้ซื้อผลงาน โดยให้ความสำคัญกับทั้งเนื้อหาและการให้บริการลูกค้า ให้สะดวกและใช้งานได้ง่ายที่สุด

Shutterstock เองก็เป็น Royalty Free ทั้งหมด การใช้งานง่ายกว่า สะดวกกว่า ไม่ต้องระวังเรื่องระยะเวลาการใช้งาน

สำหรับคนทำธุรกิจที่กำลังมองหารูปภาพ หรือต้องการขอคำปรึกษาเรื่องลิขสิทธิ์การใช้รูป หรือเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้รูป วิดีโอ เพลง สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ number24.co.th ตัวแทน Shutterstock ประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว

ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ต้องคิดถึงเรื่องกฏหมาย เรื่องลิขสิทธิ์อยู่เสมอ และการบอกว่า “ไม่รู้” ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ถึงอย่างไรก็มีความผิดตามกฏหมายอยู่ดี

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่