ทำธุรกิจ “มีเดีย” อย่างไรให้เวิร์ค

1674

[Mission to the Moon x number24.co.th]ถ้าพูดถึงธุรกิจ “มีเดีย” นั้นจริงๆ ต้องบอกว่าสามารถแยกย่อยไปได้หลากหลายรูปแบบมาก ตั้งแต่งานภาพ งานเสียง งานโปรดักส์ชั่น สื่อ หนังสือ ฯลฯ แต่มีมีเดียประเภทหนึ่งที่ตอนนี้ทุกคนสามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเถทอื่นๆ นั้น คือ “สื่อออนไลน์”

ในบทความนี้เลยอยากจะมาพูดถึงธุรกิจ “มีเดีย” ในลักษณะของ “สื่อออนไลน์” เป็นหลัก ว่าจริงๆ แล้วการทำสื่อออนไลน์นั้นมันมีวิธีคิด วิธีการอย่างไร ตั้งแต่ช่วงของการเริ่มต้นไปจนถึงการรันขึ้นมาเป็นธุรกิจ ว่าจริงๆ แล้ว เราควรที่จะต้องทำอย่างไรให้เวิร์ค…

ก่อนทำอะไร.. ให้เริ่มจากกำหนดทิศทางที่ต้องการซะก่อน

1. Identity: เริ่มจากกำหนด identity หรือ “ตัวตน” ของสื่อที่เราต้องการที่จะทำเสียก่อนว่าอยากจะให้มีภาพออกมาเป็นแบบไหน เช่น เป็นสื่อความรู้ ที่ผสมความสนุกเข้าไป มี Character เป็นคนที่ดูสนุก ขี้เล่น ขณะเดียวกันก็มีความเก่ง ฯลฯ ซึ่งการกำหนด identity นั้นไม่มีอะไรตายตัว ขึ้นกับโจทย์ที่เราและทีมอยากให้เป็น เพื่อสร้างภาพจำให้กับ Audience ของเรา

2. Target Audience: ตั้งสมมติฐานว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร อายุเท่าไหร่ และส่วนใหญ่มีความสนใจเรื่องอะไร เพื่อที่เราจะได้พอนึกออกว่าคนกลุ่มนี้เขามีสื่อประเภทไหนที่ติดตามอยู่บ้าง และเนื้อหาที่เรากำลังจะทำนั้นเหมาะกับเขาหรือเปล่า

Advertisements

3. Content type: จัด Group ของเนื้อหาที่เราอยากจะนำเสนอ และแบ่งประเภทออกมา หลังจากนั้นก็แบ่งสัดส่วนว่าอันไหนควรจะมีสัดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งนี้จะถูกนำไปทำเป็น แผนสำหรับการปล่อยเนื้อหารายเดือน และรายสัปดาห์ต่อไป

4. Revenue: ในเมื่อมันเป็นธุรกิจ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมานั่งคิดในเรื่องของรายได้แล้วล่ะว่า สื่อออนไลน์ที่เรากำลังจะทำนั้น เราจะหารายได้มาจากช่องทางไหน ซึ่งก็มีมากมายหลายโมเดล ตั้งแต่

  • Subscribe | แบบเก็บค่าสมาชิก
  • Paid Content & Exclusive | เนื้อหาที่ต้องชำระเงินเพื่อเข้าถึง
  • Sponsored | เนื้อหาที่มีผู้สนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการ Tie-in, Advertorial, Ads, PR ฯลฯ

เริ่มต้นทดสอบสิ่งที่เราตั้งไว้

หลังจากที่นั่งคิด นั่งประชุมจนได้ Media Model ที่ประกอบไปด้วย 4 ข้อข้างต้นไปแล้ว ที่นี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาทดสอบกันแล้วล่ะว่ามันเป็นไปตามนั้นไหม แต่ก่อนที่จะพูดถึงพาร์ทของการทดสอบ อยากบอกไว้ก่อนเลยว่าการทำธุรกิจมีเดียนั้น การทดสอบนั้นต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร

โดยเริ่มจากมานั่งวางแผนการปล่อยเนื้อหาก่อนว่าจะปล่อยอย่างไร ความถี่เท่าไหร่ (อยากบอกตรงนี้เลยว่าการทำมีเดียออนไลน์นั้นสองสิ่งที่สำคัญมากๆ คือ “คุณภาพ” และ “ความสม่ำเสมอ” ที่ต้องมาคู่กันเสมอ) ในช่วงแรกสิ่งที่แนะนำคือทำแผนการปล่อยเนื้อหา เป็นรายสัปดาห์ดูก่อน เพราะระหว่างที่ปล่อยไปนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแน่นอน ที่แนะนำคือให้เริ่มต้นปล่อยในช่องทาง Social Media และทดลอง Boost Post โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายในการ Boost ไปที่ Target Audience หลังจากนั้นให้ดูผลลัพธ์ว่าตรงตามที่วางแผนไว้หรือไม่ กลุ่มเป้าหมายตรงหรือเปล่า เขาชอบเนื้อหาของเราไหม

ทำอย่างนี้ไปสัก 3-6 เดือน เราจะเริ่มมีผู้ติดตาม และเริ่มเห็น Data มากขึ้น และเจ้า Data นี่ล่ะที่จะเป็นสิ่งสำคัญต่อจากนี้

เติบโตและไปต่อด้วยการ “ปรับเปลี่ยน”

หลังจากที่เราได้ Data มาจากการทดสอบแล้ว ให้เราเอา Data นั้นมานั่งดู และวิเคราะห์จริงๆ ว่าสิ่งที่เราทำนั้น Audience เราชอบหรือเปล่า ในจุดนี้อย่าคิดเข้าข้างตัวเอง หรือใช้กึ๋นเด็ดขาด แต่จงใช้ Data ในการตัดสินใจว่าอะไรบ้างที่เราควรที่จะต้องปรับ หรืออะไรบ้างที่เราต้องทิ้ง และมีอะไรที่เราจะทำต่อ 

Advertisements

ส่วนการปรับนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมไม่มีกฏตายตัว โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลักษณะของการทดลองไปเรื่อยๆ จนเจอสิ่งที่เหมาะ หรือสิ่งที่เรารู้สึกว่านี้ล่ะเป็นทางที่ใช่สำหรับเรา โดยการปรับเปลี่ยนนั้นจะถูกทำออกมาเป็นลักษณะของลูปวนดังนี้

ข้อมูล > ปรับเปลี่ยน > ทดสอบ > ดูผลลัพธ์

ดูเรื่อง “คน” ให้ดี

เพราะเอาจริงๆ ธุรกิจสื่อธุรกิจมีเดียนั้น เราไม่ได้มี Product ที่เป็นชิ้นจริงๆ แบบจับต้องได้(physical)ขนาดนั้น สิ่งที่เป็น Product นั้นล้วนออกมาจากทีมหรือ “คน” ของเรานั้นเอง ซึ่งเรื่องคนเอาจริงๆ ถ้าต้องอธิบายทั้งหมดคงเขียนกันได้เป็นเล่มๆ เลยขอดึงเอาที่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษมาให้ตามนี้

  • ดูเรื่องความเครียดของทีมให้ดี: เพราะความเครียดไม่เป็นผลดีกับธุรกิจมีเดียมากๆ
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้คนเก่งอยากทำงานด้วย: ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ เข้า-ออก หรือกฏอื่นๆ ที่ควรจะต้องมีความยืดหยุ่นให้มากเพราะการทำดิจิตอลมีเดียนั้น ความเคลื่อนไหวต้องมีตลอด การเชื่อใจทีมงานว่าเขาจะสามารถบริหารจัดการเรื่องงานและเวลาได้เป็นสิ่งที่สำคัญ
  • รักษาความคิดสร้างสรรค์ไว้ให้ดี: สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หายไปได้ง่ายที่สุด และดึงกลับมายากมาก ดังนั้นจงรักษาไว้ให้ดี

ขึ้นชื่อว่าทำธุรกิจ “ลูกค้า” สำคัญ

ในเรื่องของลูกค้าเราต้องคิด และวาง Position ให้ชัดเจนไปเลย ว่าแบบไหนรับหรือไม่รับ ต้องพิจารณาให้ดี แน่นอนว่าคนทำธุรกิจทุกคนอยากได้ลูกค้า แต่ในธุรกิจสื่อนั้น บอกตรงนี้เลยว่าเราไม่สามารถรับลูกค้าได้ทุกเจ้าจริงๆ หลายคนอ่านถึงตรงนี้แล้วอาจจะงงๆ แล้วทำไมไม่รับล่ะ..

นั้นก็เป็นเพราะบางครั้งการรับลูกค้าที่มีเงื่อนไขบางอย่างที่ ไม่ตรงกับสิ่งที่เราเป็น หรือไม่ตรง Audience เรา นั้นจะทำให้เราได้ไม่คุ้มเสีย คือ ได้เงินจริง แต่ Audience หาย ฉะนั้นสำหรับธุรกิจสื่อออนไลน์การทำความเข้าใจ Audience เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะธุรกิจนี้อยู่ได้ด้วย Audience จริงๆ

ทำความเข้าใจเรื่องการใช้ รูป วิดีโอ และเสียงให้ดี

เรื่องการใช้ รูป วิดีโอ และเสียง ยังคงเป็นประเด็นสำคัญมากๆ สำหรับคนทำสื่อ เพราะสิ่งที่เราอยากนำมาใช้ในการประกอบบทความ หรือเนื้อหาของเรานั้น แน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะ Production เองทั้งหมด ทำให้หลายคนก็มองหาแหล่งที่เป็น free license (แบบไม่มีลิขสิทธิ์) แต่ก็ไม่สามารถที่จะครอบคลุมทุกประเภทของ content ที่มี การซื้อจากเว็บไซต์ขายรูป วิดีโอ และเสียง อย่าง Shutterstock จึงเป็นทางเลือกที่คนทำสื่อส่วนมากนิยมใช้ เพราะเป็นแบบ Royalty-free คือ ซื้อครั้งเดียวใช้ได้ตลอด

อย่างในบ้านเราก็มี number24.co.th ที่เป็นตัวแทน Shutterstock ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว สำหรับคนที่ทำธุรกิจสื่อที่ต้องการคำปรึกษาเรื่องลิขสิทธิ์ หรือต้องการใช้ รูปภาพ วิดีโอ หรือเสียงประกอบ ที่ถูกต้องและเป็นแบบ Royalty-free สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่  number24.co.th หรือติดต่อผ่านไลน์ได้ที่ @number24

สุดท้ายแน่นอนว่าการทำธุรกิจทุกประเภทนั้นไม่มีกระบวนท่าที่ตายตัว ทุกอย่างสามารถพลิกแพลงได้ตามความเหมาะสม และในบทความนี้ก็เป็นเพียงหนึ่งกระบวนท่าที่น่าจะเป็นประโยชน์ให้คนที่ทำธุรกิจมีเดีย หรือสนใจที่จะทำได้นำไปปรับใช้กันไม่มากก็น้อย ^^

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่