self developmentไม่ได้ขี้เกียจ แต่งานมันไม่น่าทำ! เข้าใจและรับมือกับอาการผัดวันประกันพรุ่ง

ไม่ได้ขี้เกียจ แต่งานมันไม่น่าทำ! เข้าใจและรับมือกับอาการผัดวันประกันพรุ่ง

ติ๊ง! เสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ดังขึ้น เมื่อปลดล็อกหน้าจอและเข้าไปดูก็พบว่า เรากำลังเห็นสิ่งที่ไม่อยากเห็นที่สุด.. ซึ่งก็คือแจ้งเตือนที่บอกว่าเหลือเพียงอีก 3 วันก่อนจะถึงเดดไลน์ในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย

ตอนนี้ 16:40 อีก 20 นาทีค่อยเริ่มทำละกัน เราคิดในใจก่อนจะไถหน้าจอ เลื่อนดูโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ถึงเวลา 17:00 ที่เราตั้งใจว่าจะเริ่มทำงาน แต่แล้วความหิวก็ทำให้เราไขว้เขวบางทีกินข้าวก่อนอาจดีกว่า จะได้นั่งทำงานยาวๆเราบอกตัวเองแบบนั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อทานมื้อเย็นเสร็จ เราก็พบว่ามีเรื่องจุกจิกให้ทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดูซีรีส์ ล้างจาน และอาบน้ำ (ซึ่งแน่นอนว่าระหว่างกิจกรรมเหล่านี้มีการพักเล่นโทรศัพท์ไปด้วย) รู้ตัวอีกทีเวลาก็ผ่านไปจนเกือบจะเที่ยงคืน เราจบวันด้วยการทิ้งตัวลงนอนและบอกตัวเองด้วยคำพูดเดิมๆ ว่า

พรุ่งนี้คอยทำ

เชื่อว่าเราเกือบทุกคนเคยผ่านสถานการณ์เช่นนี้ และไม่ต้องเล่าต่อ เราก็รู้ดีว่าตอนจบของเรื่องมักจะลงเอยด้วยการทำงานจนดึกดื่นในคืนสุดท้ายก่อนเดดไลน์ แม้ว่าเราจะบอกตัวเองซ้ำๆ ว่าครั้งหน้าไม่เอาแบบนี้อีกแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็จบด้วยการทำงานในวันท้ายๆ อยู่ดี

จริงๆ แล้วนิสัยการผัดวันประกันพรุ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์และเรียกได้ว่าอยู่กับเรามาช้านาน ในสมัยกรีกโบราณ โสเครตีสและอริสโตเติลได้นิยามพฤติกรรมของมนุษย์นี้ว่า อะเครเชีย (Akrasia) ซึ่งก็หมายถึงพฤติกรรมการเลือกทำสิ่งอื่นแทนที่จะทำสิ่งที่ต้องทำ หรือ การผัดวันประกันพรุ่งนั่นเอง  แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร ก็เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อเราอยู่ดี

แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า แม้จะรู้ว่าไม่ดี แต่ทำไมเราถึงผัดวันไปเรื่อยๆ?

งานวิจัยด้านจิตวิทยาพฤติกรรมมนุษย์ได้ให้คำตอบด้วยปรากฏการณ์ “Time Inconsistency” ที่อธิบายไว้ว่า สมองมนุษย์ให้ค่ากับรางวัลที่ได้ในทันที มากกว่ารางวัลตอบแทนในอนาคตที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น การที่เราเลือกออกไปเที่ยวกับเพื่อนแทนการอ่านหนังสือสอบ แม้เราจะรู้ว่าหากเรามีเวลาอ่านหนังสือ เราจะได้คะแนนดี ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีและดีต่อนาคตของเรามากกว่า แต่การออกไปเที่ยวซึ่งจะมอบความสนุกให้ทันที มันน่าสนใจกว่าการอ่านหนังสือเป็นเท่าตัว

หลายคนจึงบอกว่าพรุ่งนี้ค่อยทำและเลือกผัดวันประกันพรุ่งอย่างช่วยไม่ได้

Advertisements

แต่พรุ่งนี้ค่อยทำนั้นจริงหรือเปล่า? และเลื่อนแค่ครั้งเดียวคงไม่เป็นไรจริงๆ หรือ?

จริงๆ แล้วความน่ากลัวของการผัดวันประกันพรุ่งที่หลายคนไม่รู้คือยิ่งเลื่อน เรายิ่งมีแนวโน้มที่จะไม่ทำ

เดิมทีงานที่ต้องทำนั้นดูยาก ใช้เวลาเยอะ และดูไม่น่าสนุกเอาเสียเลย (และถ้าหากเทียบกับกิจกรรมอื่นๆ เช่นการไปเที่ยวหรือเล่นโทรศัพท์ ยิ่งไม่น่าทำเข้าไปใหญ่) สมองเราจึงมองเดดไลน์ไม่ต่างจากภัยคุกคาม มีการเตือนให้สมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) ปล่อยฮอร์โมนออกมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมองส่วนกลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ

ท่ามกลางวินาทีที่เราต้องตัดสินใจว่าจะสู้หรือจะหนีในการตอบสนองแบบ Flight or Fight มนุษย์มักจะเลือกทางที่ง่ายกว่าอย่างการผัดวันประกันพรุ่งนั่นเอง

จริงอยู่ที่พอเลื่อนก็รู้สึกดีขึ้นมาหน่อยเพราะจะได้ทำกิจกรรมอื่นแทน แต่ในระยะยาวนั้นยิ่งแย่ งานวิจัยพบว่ายิ่งเลื่อนไปเรื่อยๆ เรายิ่งมองว่างานนั้นยากกว่าเดิมและไม่เริ่มลงมาทำสักที มองว่างานยากก็เลยเลื่อน แต่พอเลื่อนก็ดูยิ่งยาก ไม่น่าทำ แถมยังรู้สึกผิดที่ตัวเองไม่เริ่มงานสักที อารมณ์ลบเหล่านี้เองคอยผลักดันให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง สอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า กลุ่มคนที่มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และคนที่ไม่มีความมั่นใจมักจะเป็นคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง และกลุ่มคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า

ผลเสียมากมายขนาดนี้ พอจะมีหนทางไหมให้เราเลิกพฤติกรรมเช่นนี้?

คำแนะนำอย่างมีระเบียบวินัยหรือบริหารเวลาให้เป็นเป็นสิ่งที่เราได้ยินบ่อยๆ ตั้งแต่เล็กจนโต
แต่หลายคนพบว่ามันไม่ได้ช่วยนัก (ถ้าช่วยก็คงทำงานเสร็จไปตั้งนานแล้วจริงไหม) ถ้าใครยังประสบปัญหาอยู่ ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดู

1) อย่าใจร้ายกับตัวเองนัก

อย่างที่บอกไปว่าความรู้สึกผิดและความกลัวความล้มเหลวเป็นปัจจัยที่ทำให้เราผัดวันไปเรื่อยๆ การลดความรู้สึกเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกอยากเริ่มทำงานมากขึ้น เราอาจทำได้จากการเลิกตำหนิตัวเองที่ไม่เริ่มงานสักที และให้กำลังใจตัวเองว่าเราทำได้ ไม่มีงานใดที่ยากเกินความสามารถของเรา

Advertisements
2) เขียนระบายความกังวลและความกลัว

การไม่ตำหนิตัวเองเฉยๆ อาจไม่พอสำหรับบางคน เราอาจต้องเขียนระบายความรู้สึกลบเหล่านี้ออกมา เช่น เรากลัวอะไรอยู่? กลัวงานออกมาไม่ดีหรือเปล่า? กังวลว่าจะทำไม่ทันไหม? หรือรู้สึกแย่ที่ไม่เริ่มทำสักที? ปลดปล่อยความคิดและความรู้สึกเหล่านี้ลงบนหน้ากระดาษให้หมด แม้จะดูเป็นวิธีธรรมดาๆ แต่งานวิจัยพบว่าการเขียนระบายสามารถช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้จริง

3) แบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ

แบ่งงานใหญ่ๆ ให้เป็นงานย่อยๆ ที่ทำได้ง่ายและเริ่มทำได้ทันที เมื่อทำงานแรกสำเร็จแล้วความรู้สึกสำเร็จ” (Sense of Accomplisment) จะผลักดันให้เราทำต่อไปเอง

4) ให้รางวัล (เล็กๆ) แก่ตัวเองทันที

ส่วนใหญ่ที่คนเราไม่ลงมือทำสักที เป็นเพราะการทำงานนั้นใช้เวลา และรางวัล (ซึ่งก็คือความรู้สึกยินดีเมื่องานสำเร็จ) นั้นอยู่ห่างไกลจนกระตุ้นให้เราเริ่มงานไม่ได้ หากความรู้สึกดีเมื่อทำงานเล็กๆ เสร็จไม่เพียงพอในการจูงใจตัวเอง ลองแบ่งงานเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วพ่วงด้วยการให้รางวัลตัวเองดู เช่น หากทำงานครบ 50 นาที เราจะได้พักเล่นเกม 10 นาที

5) ลดสิ่งรบกวนรอบตัว

หากเราทำงานไปด้วยและทำอย่างอื่นไปด้วย (เช่น ตอบอีเมลหรือเล่นโทรศัพท์) เราจะรู้สึกว่างานนี้ใช้เวลานานและสูบพลัง ดังนั้นควรจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบและปิดแจ้งเตือนก่อนเริ่มทำงาน เพื่อให้เรามีสมาธิ ทำงานได้อย่างเต็มที่และเสร็จเร็วขึ้นกว่าการทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน

หากทำตามวิธีเหล่านี้ได้ เราจะพบว่างานที่เรามองว่ายากและดูเหมือนจะใช้เวลานาน จริงๆ แล้วใช้เวลาไม่นานและไม่ได้ยากเกินความสามารถของเราเลย


อ้างอิง
Why you procrastinate even when it feels bad : http://bit.ly/3YoHJOQ
Procrastination: A Brief Guide on How to Stop Procrastinating : http://bit.ly/3xkq0Mw


#softskill
#selfdevelopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า