แรงงานไทยพร้อมแค่ไหนในยุค Digital | MM EP.1430

PODCASTMISSION TO THE MOONแรงงานไทยพร้อมแค่ไหนในยุค Digital | MM EP.1430


*สามารถเปิดฟังแบบปิดหน้าจอได้

 

แรงงานไทยพร้อมแค่ไหนในยุค Digital

บทความจาก SCB EIC 

การเข้ามาของเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนวิถีของคนทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นฝั่งแรงงาน ผู้ประกอบการ หรือผู้บริโภค

ผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ-แรงงานในยุค Digital 

เมื่อเทคโลยีเข้ามา  ทำให้พฤติกรรมในการรับสื่อ และการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก
ส่งผลให้ฝั่งผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัว เพื่อที่จะสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการให้ตรงใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค 
ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการผลิต ปรับตัว ปรับกลยุทธ์ หรือ ปรับ Business Model 

และในท้ายที่สุดสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ ปรับแรงงาน เจ้าของกิจการก็ต้องการทักษะที่เปลี่ยนไปเพื่อให้สอดรับกับธุรกิจที่ปรับตัว 

“เทคโนโลยี” จะเป็นกระดูกสันหลังของภาคธุรกิจต่อไป 

5 อาชีพที่ต้องการเป็นอย่างมากในอนาคต 

มีการรายงานสายอาชีพที่มีความต้องการในอนาคตจาก Future of job

  1. Data analytic and Data science 
  2. Digital Maketing 
  3. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านข้อมูล 
  4. ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI และ Machine Learning 
  5. นักพัฒนา Software และ Application 

สามารถอ่านอาชีพในอนาคตเพิ่มเติมได้ กับเปิด 10 อาชีพมาแรงและรายได้ดี 

จะเห็นได้ว่าอาชีพในอนาคตทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี และดิจิทัล

ประเทศไทยเองก็ได้มีการเตรียมพร้อมด้าน Cloud computing รับมือการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ  แต่จะดำเนินการต่อไปได้ต้องมีแรงงานที่มีทักษะทางด้าน เทคโนโลยี และ ดิจิทัล หรือกลุ่มที่เราเรียกว่า STEM 

Advertisements

ทักษะ STEM 

STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics 

จากการรายงานพบว่าแรงงานไทยที่มีทักษะ STEM มีเพียง 2.4% ของการจ้างงานทั้งหมดในปี 2564 ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอันดับการ จ้างงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของ IMD ประกาศว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 58 จากการจัดอันดับทั้ง 64 ประเทศ 

ในขณะที่ความต้องการแรงงานด้าน STEM สูงขึ้น แต่จำนวนผู้เรียนไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนทางด้านแรงงาน กระทบต่อภาคธุรกิจที่อาจจะไม่ได้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางแผน ทำให้ภาคอุตสาหรรม และเศรษฐกิจโดยรวมไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ 

นอกจากผู้ที่เรียนทางด้าน STEM แล้ว อีกหนึ่งโอกาส คือ การเพิ่มทักษะ (reskill) ให้กับแรงงานที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่า แรงงานด้าน STEM เกือบครึ่งนึงมาจากแรงงานที่จบไม่ตรงสาย เกิดโอกาสในการหางาน เพิ่มรายได้ของตลาดแรงงาน แต่แน่นอนเมื่อเกิดความต้องการทักษะใหม่ในตลาดแรงงาน บางอาชีพก็อาจจะถูกลดลง หรือหายไปเช่นกัน 

5 อาชีพที่อาจจะลดลงในอนาคต 

  1. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 
  2. เลขานุการ 
  3. เสมียนด้านบัญชี 
  4. ผู้ประกอบการด้านประกอบเครื่องจักร
  5. แรงงานก่อสร้าง

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ คือ การสร้างค่านิยม Lifelong Learning หากสิ่งที่เรียนไปแล้วไม่เวิค ก็ต้องเรียนใหม่ การสร้างค่านิยมในลักษณะนี้จะช่วยพัฒนาทั้งประเทศ

ฉนั้นแล้วสิ่งที่แรงงานควรจะทำกันต่อไป คือ การเพิ่มทักษะ(reskills) เพื่อที่จะเตรียมรับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง 

#reskill

Advertisements

POPULAR PODCAST

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า