- เด็กๆคือผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม โดยเฉพาะเรื่องความยากจนที่ส่งผลให้เด็กเข้าไม่ถึงโอกาสทางด้านการศึกษา
- UNICEF คือองค์กรที่พยามอย่างมากที่จะแก้ปัญหานี้ และแสนสิริเองก็มุ่งมั่นและช่วยเหลือเด็กๆให้ใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ
- ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่สามารถแก้ได้ในระยะสั้นต้องเริ่มแก้จากต้นเหตุและต้องแก้อย่างยั่งยืน โดยเกิดขึ้นได้จาก “ความหวัง” และ “กำลังใจจากผู้ใหญ่”
ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในสังคมเราอย่างมาก และปัญหาที่เรื้อรังนี้ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีทางออก
หนึ่งในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบนั้นมากที่สุดคือ เด็กๆที่จะเป็นอนาคตของพวกเราครับ จากข้อมูลจาก UNICEF มีเด็กกว่า 60 ล้านคนที่ควรจะได้เรียนหนังสือ แต่ไม่มีโอกาสไปโรงเรียน เนื่องจากความยากจน
Oxford Department of International Development (ODID) มีรายงานในทำนองเดียวกันว่า ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลกระทบต่อเด็กที่ด้อยโอกาสในสังคมเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยของ ODID บอกว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ยากจน และเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ส่งผลต่อเด็กๆ 8 ประการด้วยกัน
- ความไม่เท่าเทียมในรูปแบบของความยากจนและการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
- ความไม่เท่าเทียมกันทำให้เด็กที่มีศักยภาพ ไม่มีโอกาสได้แสดงศักยภาพของตัวเอง
- ความไม่เท่าเทียมกันในเด็กด้อยโอกาสของแต่ละเพศเกิดจากขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อของประเทศนั้นๆ ซึ่งยิ่งซ้ำเติมปัญหานี้ให้รุนแรงขึ้นไปอีก
- การไม่ได้รับอาหารและโภชนาการที่เพียงพอในวัยเด็ก ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกายและสมอง ซึ่งอาจมีผลไปตลอดชีวิต
- ความไม่เท่าเทียมกันส่งผลต่อตัวเด็กรุนแรงมากขึ้นเมื่อเด็กอยู่ในช่วงวัยรุ่น
- ความรู้สึกที่เด็กมีต่อตัวเองจากสภาวะแวดล้อมและโอกาสที่ไม่ดีนั้น จะสามารถส่งผลสู่รุ่น (Generation) ถัดไปได้อีกด้วย
- การศึกษาเป็นหนึ่งในตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยพัฒนาหรือพลิกชีวิตของเด็กเหล่านี้ได้
- ความพยายามของหน่วยงานต่างๆนั้นสามารถลดช่องว่างของการเหลื่อมล้ำได้
แต่เนื่องจากผลกระทบต่อเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องทำอย่างเข้าใจบริบทของสังคม ไม่เช่นนั้นจะยิ่งเป็นการตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันของเด็กขึ้นไปอีก
ความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในด้านต่างๆ อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งไม่ได้ส่งผลเฉพาะช่วงวัยเด็กเท่านั้น แต่เป็นเหมือนรากฐานที่จะส่งผลต่อความยากจนและการเข้าถึงโอกาสในวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
ผู้ถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง
เห็นได้ชัดว่าในสังคมของเรามีความห่างที่ทำให้มี “ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลังมากมาย” คำถามคือ เราจะปล่อยให้คนที่เหล่านั้นถูกทิ้งอีกนานแค่ไหน ถ้าเรามองในระดับโลก UNICEF คือ องค์กรที่พยายามอย่างมากที่จะแก้ปัญหานี้
พันธกิจของ UNICEF คือ การปกป้องชีวิต ปกป้องสิทธิ์ และช่วยให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยมีการทำงานใน 190 ประเทศ ครอบคลุมทุกแง่มุมของชีวิตเด็ก
UNICEF นั้นเป็นหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ และเต็มไปด้วยความท้าทาย ภารกิจต่างๆของ UNICEF ล้วนแล้วแต่สำคัญต่อสวัสดิภาพของเด็กๆทั่วโลก หนึ่งในสิ่งที่ทำให้การทำภารกิจต่างๆเหล่านี้เต็มไปด้วยศักยภาพมากขึ้นคือการที่ UNICEF มีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก
ในประเทศไทยนั้น แสนสิริเป็นองค์กรที่เชื่อเรื่องของการ “ให้” กลับคืนสู่สังคมในหลายแง่มุมอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะเรื่องของการช่วยเหลือเด็กนั้นเป็นเรื่องที่แสนสิริทำมานานแล้ว เพราะแสนสิริมุ่งมั่นอยากช่วยให้เด็กๆ เติบโตอย่างแข็งแรงและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงเป็นที่มาที่ทำให้แสนสิริและ UNICEF นั้นทำงานด้วยกันมาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนครับ ตั้งแต่โครงการ “IODINE PLEASE” เพื่อให้สังคมรับรู้ถึง ภาวะปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในเด็ก (Iodine Deficiency Disorder หรือ IDD) จนสร้างแรงกระเพื่อม ทำให้รัฐบาลผ่านกฎหมายที่กำหนดให้มีการเติมสารไอโอดีนในเกลือที่นำมาบริโภค
เป็นจุดเริ่มต้นของอีกโครงการที่เปลี่ยนชีวิตเด็กอีกหลายโครงการครับ อย่างเช่นโครงการที่ผมชอบมาก คือ “The Good Space” หรือ “พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก” ที่อยู่ภายในสถานก่อสร้างของแสนสิริเพราะพื้นที่เหล่านี้ค่อนข้างไม่เอื้อต่อพัฒนาการของเด็กในบางมุม
แต่แสนสิริเปลี่ยนพื้นที่นี้ เพื่อให้เด็กทุกคนในสถานก่อสร้างมีสิทธิในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เข้าถึงการศึกษา และการบริการสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม เปลี่ยนชีวิตเด็กๆ เหล่านี้ไปเยอะครับ
นอกจากนั้น ตลอดระยะเวลา 8 ปีนี้ ยังมีอีก 14 โครงการดีๆ ที่แสนสิริทำกับ UNICEF รวมไปถึงการบริจาคเพื่อให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องทุกปี เป็นเงินรวมกว่า 265 ล้านบาทแล้ว
ด้วยความมุ่งมั่นของแสนสิริ ทำให้แสนสิริได้รับการยอมรับให้เป็นองค์กรแรกและองค์กรเดียวในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับเกียรติจากองค์กรยูนิเซฟให้เป็น UNICEF’s First Selected Partner in Thailand ร่วมกับ 20 องค์กรชั้นนำจากทั่วโลกอย่างเช่น หลุยส์ วิตตอง, อิเกีย, ไอเอ็นจี, กุชชี่ และยูนิลีเวอร์
งานทั้งหมดที่แสนสิริทำนั้น ทำบนความเชื่อที่ว่าต้องเริ่มแก้จากต้นเหตุและต้องสามารถแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ เพราะนี่คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่สามารถแก้ได้ในระยะสั้น
ผมขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยเรื่องเล่าของคุณครู ริต้า เพียร์สัน (Rita Pierson) ผู้ซึ่งทุ่มเทกับการสอนเด็กมากว่า 40 ปีซึ่งเธอได้กล่าวไว้บนเวที TED ซึ่งเป็นหนึ่งในการพูดที่มีผู้คนเข้าไปชมมากที่สุดในปี 2015
เธอกล่าว ครั้งหนึ่งเธอเคยออกข้อสอบที่มี 20 ข้อ
ปรากฏว่ามีเด็กคนนึงทำผิด 18 ข้อ ถูกแค่ 2 ข้อ
ในช่องใส่คะแนนเธอใส่ว่า “+2” พร้อมกับวาดรูปหน้ายิ้มลงไป
เด็กคนนั้นถามเธอว่า “ครูครับนี่มัน F ใช่ไหมครับ”
เธอตอบว่า “ใช่แล้วมันคือ F”
เด็กคนนั้นถามว่า “แล้วครูใส่รูปหน้ายิ้มทำไมครับ”
เธอตอบว่า “เธอทำได้ไม่แย่หรอกนะ เพราะเธอไม่ได้ทำผิดหมด ยังไงก็ยังถูกตั้งสองข้อแหละน่า แล้วเดี๋ยวเรามาดูข้อที่เธอผิดกัน แล้วคราวหน้าเธอคิดว่าจะทำได้ดีขึ้นไหม ?”
เด็กคนนั้นยิ้มแล้วตอบว่า “แน่นอนครับผมจะทำให้ดีขึ้น”
ริต้า บอกว่าตัวเลข “-18” มันจะทำให้เด็กหดหู่หมดกำลังใจ แต่ตัวเลข “+2” จำทำให้เด็กคิดว่ามันก็มีส่วนดีอยู่บ้าง และการพัฒนาก็จะเกิดขึ้นตอนนี้แหละ ชีวิตของเด็กบางคนอาจจะเจอช่วงชีวิตที่เป็น F บ้าง -18 บ้าง แต่ตราบใดที่ยังมีผู้ใหญ่เป็นกำลังใจให้เขา และบอกว่านี่คือ +2 นะ ผมเชื่อว่าเด็กคนนี้จะหาทางไปต่อได้ครับ
ริต้า เพียร์สัน เสียชีวิตไม่นานหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ที่ทรงพลังนี้ แต่สิ่งที่เธอทิ้งไว้ให้กับเราทุกคนยังเป็นความจริงเสมอครับ
ปัญหาทั้งหมดที่เรากล่าวมาเหล่านี้ ผมเชื่อว่าสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้โดย “ความหวัง” และ “กำลังใจจากผู้ใหญ่” ครับ เพราะเด็กคือความหวังของโลกในอนาคตของเราต่อไป
การจะสร้างความแข็งแรงให้กับคนยุคต่อไปนั้นเป็นหน้าที่ของคนในยุคเรา
ผมภูมิใจที่เห็นแสนสิริเป็นตัวแทนของประเทศไทยร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกที่จะช่วยให้เด็กๆเหล่านี้เป็นคนที่ที่ดีที่สุดที่เขาจะเป็นได้ครับ ติดตามเรื่องราวและโครงการดีๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.sansiri.com/socialchange/th/