BUSINESSธุรกิจยากับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ปลดปล่อยยุคเก่าเพื่อเป็น Healthcare Destination

ธุรกิจยากับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ปลดปล่อยยุคเก่าเพื่อเป็น Healthcare Destination

“ยุคสมัยเปลี่ยนไป อะไรๆ ก็เปลี่ยนตาม”

ประโยคข้างต้นเป็นคำพูดที่เราได้ยินกันมาตลอด ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงนัก เพราะในปัจจุบันหากเราหันซ้ายหันขวาดูสิ่งรอบๆ ตัว ก็จะพบว่าไม่ว่าจะหันไปทางไหน เราก็จะเห็นธุรกิจในหลากหลายวงการต่างก็เริ่มปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและพฤติกรรมของมนุษย์กันมากขึ้น

ซึ่งการปรับตัวที่ว่านั้นคือ การเกิด Digital Transformation หรือก็คือการที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจกันมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านอาหาร เมื่อก่อนเรามักจะต้องเดินทางไปทานอาหารและจองคิวที่หน้าร้าน แต่ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นอีกต่อไป เพราะเราสามารถสั่งอาหารผ่านแอปฯ เดลิเวอรีอย่างเช่น LINE MAN และจองคิวผ่านแอปฯ จองร้านอาหารอย่างเช่น QueQ ได้

เช่นเดียวกับด้านอื่นๆ ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เราใช้ชีวิตกันได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินทางที่เมื่อก่อนต้องโบกแท็กซี่ แต่ปัจจุบันสามารถเรียกรถผ่าน LINE MAN, Grab หรือ Bolt ได้ และด้านความบันเทิงที่เมื่อก่อนต้องไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันสามารถดูหนังผ่าน Netflix ได้ หรือแม้กระทั่งด้านการเงินก็มีการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อก่อนเราต้องไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร แต่ปัจจุบันเราสามารถทำธุรกรรมหลายอย่างผ่าน Mobile Banking ได้

เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่ม “Convenience Seeker” หรือกลุ่มคนที่มองหาความสะดวกสบาย ซึ่งความสบายในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า “ขี้เกียจ” แต่หมายความว่าเรายอมจ่ายเงินดีกว่ายอม “เสียเวลา” และในปัจจุบันผู้บริโภคกลุ่ม Convenience Seeker ก็เติบโตขึ้นมาก เพราะหลายธุรกิจหันมาเสิร์ฟความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคกันมากขึ้น ดังนั้นแล้ว Digital Transformation จึงเกิดขึ้นในทุกธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจที่เรานึกไม่ถึงอย่าง “การแพทย์”

พอลองนึกภาพดูแล้ว หลายคนก็อาจสงสัยว่า ธุรกิจยาจะปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างไร เพราะเราจำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ปรึกษาแพทย์ และสั่งยาผ่านเภสัชกร แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจยามีสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเกิดขึ้น นั่นก็คือ “Telepharmacy”

จุดหมายของคนรักสุขภาพที่เปลี่ยนไป

สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของใครหลายๆ คนเริ่มค่อยๆ เปลี่ยนไป

ย้อนกลับไปช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราต่างก็ใช้ชีวิตกันอย่างปกติสุข ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย ไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ถ้าป่วยก็แค่เดินทางไปหาหมอที่โรงพยาบาล

แต่พอโควิด-19 เข้ามา ทุกอย่างกลับค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่น รัฐพยายามลดการแพร่กระจายเชื้อ ผ่านการจำกัดการเคลื่อนไหวของประชาชน ทำให้อิสระที่มีหายไป รวมทั้งผู้คนเองก็หันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น บางคนก็ไม่กล้าออกจากบ้านหรือไม่กล้าไปโรงพยาบาลเพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ “จุดหมายของคนรักสุขภาพ” เปลี่ยนไป

เมื่อไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ หลายคนจึงเริ่มหาช่องทางอื่นในการดูแลสุขภาพของตัวเอง เช่น Telemedicine หรือการพูดคุยกับแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ และ Telepharmacy หรือการพูดคุยกับเภสัชกรผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลและร้านขายยา

Telepharmacy ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพในยุคดิจิทัล

Telepharmacy หรือเภสัชกรทางไกล ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว เพียงแค่ในอดีตยังไม่เป็นที่ยอมรับทางด้านกฎหมายเท่าไหร่ แต่พอโควิด-19 เข้ามา Telepharmacy ก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น

จากรายงาน “Telepharmacy Market Size | Global Industry Report, 2020-2027” ของ Polaris Market Research พบว่า ตลาด Telepharmacy ทั่วโลกในปี 2019 มีมูลค่า 7.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.58 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรายงานดังกล่าวชี้ว่า ตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ให้เติบโตขึ้นก็คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการที่คนหันมาใช้อินเทอร์เน็ตกันเพิ่มขึ้น โดยภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2020 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 4.8 พันล้านคน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 62% ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก

Telepharmacy จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองว่าจะเข้ามาเปลี่ยนวงการแพทย์และเภสัชกรรม เพราะข้อได้เปรียบหลักของ Telepharmacy คือการที่ผู้บริโภคสามารถรับยาตามใบสั่งแพทย์ผ่านเภสัชกรที่มีใบอนุญาตได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปร้านขายยาหรือโรงพยาบาล แค่นั่งรออยู่ที่บ้านเฉยๆ ก็ได้รับยา

ซึ่งก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาแก้ Pain Point ในหลายๆ เรื่อง เช่น
[ ] ไม่มีเวลาไปต่อคิวรักษาที่โรงพยาบาล
[ ] อยู่ห่างไกลโรงพยาบาลและร้านขายยา
[ ] ต้องการปรึกษาเรื่องส่วนตัวแต่ไม่กล้าไปเจอหน้า เช่น ปัญหาเรื่องเพศ
[ ] ไม่อยากไปโรงพยาบาลหรือร้านขายยาเพราะกลัวโควิด-19
[ ] ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้าโรงพยาบาล
[ ] มียาที่บ้านแต่ไม่ทราบว่าต้องใช้อย่างไร หมดอายุหรือยัง หรืออาจลืมวิธีใช้ไปแล้ว

ด้วย Pain Point ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ธุรกิจหนึ่งในไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญตรงนี้และได้มีการพลิกธุรกิจจากร้านขายยาเป็น Telepharmacy ซึ่งธุรกิจนั้นก็คือ ฟาสซิโน (Fascino)

Advertisements
Advertisements

การพลิกธุรกิจร้านยาเป็น Telepharmacy

ญาณิน พิศาลวาเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรฟาสซิโน และบริษัท ฟาร์มาฮอฟ จำกัด กล่าวว่า ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นนี้ ธุรกิจยาก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งฟาสซิโนก็มีเป้าหมายคือ อยากทำร้านขายยาที่มีสินค้าครบครัน และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีเวลาเดินทางไปพบแพทย์หรือเภสัชแบบตัวต่อตัว

ในอดีตฟาสซิโนเป็นแค่ร้านขายยาห้องแถวเดียว ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าโรงพยาบาลศิริราช โดยในตอนนั้นใช้ชื่อว่า “เภสัชสัมพันธ์” ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนามาเป็นร้านขายยาครบวงจรที่ประสบความสำเร็จในนาม “ฟาสซิโน” ซึ่งมีสาขาทั่วไทยมากกว่า 100 สาขา รวมทั้งมีการริเริ่มทำระบบแฟรนไชส์และการค้าส่ง

ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย ฟาสซิโนจึงพัฒนาบริการใหม่ นั่นก็คือ “ถามMacy by Fascino” ซึ่งเป็นบริการเภสัชกรรมทางไกลแบบออนไลน์ (Telepharmacy)

เมื่อฟาสซิโนได้ปรับเปลี่ยนร้านยาให้เป็นดิจิทัลแล้ว ก็พบว่าแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นมีส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้นมาก จนปัจจุบันฟาสซิโนมีฐานสมาชิกมากถึง 1,100,000 คน เพราะแพลตฟอร์มช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างสะดวกและทั่วถึงมากขึ้น

การพัฒนาธุรกิจทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้จุดหมายสำคัญของฟาสซิโนคือ ต้องการเป็น “จุดหมายของคนรักสุขภาพ (Healthcare Destination)” หรือก็คือ การทำให้คนที่ป่วยหรือคนที่เพียงแค่ต้องการดูแลสุขภาพของตัวเองสามารถเข้าหาฟาสซิโนได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเดินเข้าไปปรึกษาที่หน้าร้าน โทร Call Center หรือติดต่อผ่านแอปฯ “ถามMacy by Fascino”

ธุรกิจใดปรับตัวได้ ธุรกิจนั้นย่อมได้ไปต่อ

จากการสำรวจผู้ป่วย 1,000 คน โดย Kyruus พบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสำรวจเคยเข้ารับการดูแลเสมือนจริงครั้งแรกในช่วงที่มีโรคระบาด อีกทั้งผู้ตอบแบบสำรวจ 3 ใน 4 ยังกล่าวว่า พึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับอีกด้วย นั่นหมายความว่าคนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพทางไกลกันมากขึ้น เพราะสิ่งนี้สร้างความสะดวกสบายให้กับใครหลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเองกันมากขึ้นเช่นนี้

ดังนั้น ธุรกิจใดที่สามารถเข้ามาสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนได้ ธุรกิจนั้นย่อมมีโอกาสได้ไปต่อ เช่นเดียวกับฟาสซิโนที่พยายามปรับตัวให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คน และสนับสนุนให้คนหันมาดูแลสุขภาพของตัวเอง ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ฟาสซิโนจึงสามารถพัฒนาจากร้านขายยาธรรมดาๆ สู่การเป็น Healthcare Destination ได้

และในยุครุ่งเรืองของเทคโนโลยีเช่นนี้ ในอนาคตเราอาจเห็น AI, VR และ AR เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการแพทย์และสุขภาพอีกก็เป็นได้ เช่น ปัจจุบันแพทย์และนักบำบัดในต่างประเทศก็เริ่มใช้ VR เป็นอุปกรณ์บรรเทาอาการเจ็บปวดและบำบัดโรคได้แล้ว ต่อไปวงการแพทย์และเภสัชกรในไทยก็อาจมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและล้ำสมัยในการให้คำปรึกษา วินิจฉัย และรักษามากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่น่ากลัว หากธุรกิจมีความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนไปได้มากพอ ก็จะสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้

Mission To The Moon X Fascino

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า