PSYCHOLOGYสุขเกินไปจนเศร้าใจทีหลัง รู้จัก “ภาวะเมาค้างความสุข” และเรียนรู้วิธีสร่างสุขอย่างเข้าใจ

สุขเกินไปจนเศร้าใจทีหลัง รู้จัก “ภาวะเมาค้างความสุข” และเรียนรู้วิธีสร่างสุขอย่างเข้าใจ

“งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา”

คุณจำช่วงเ
วลาที่ตัวเองยิ้มกว้างออกมาได้มั้ย? ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ช่วงเวลาปาร์ตี้กับเพื่อนหลังเลิกงาน หรือมื้ออาหารที่ได้อยู่พร้อมหน้าทั้งครอบครัว ช่วงเวลาแสนพิเศษเหล่านี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่ง “ความสุข” อย่างแท้จริง

แล้วหลังจากนั้นล่ะ? เมื่อช่วงเวลาแห่งความสุขสิ้นสุดลง ความโศกเศร้าก็เข้ามาแทนที่ รอยยิ้มที่เคยมีก็ค่อยๆ จางหายไป ทำไมเราถึงเกิดความรู้สึกแบบนี้ มารู้จัก “ภาวะเมาค้างความสุข” และเรียนรู้วิธีสร่างสุขอย่างเข้าใจ เพื่อบอกลาช่วงเวลาในอดีตโดยปราศจากความผิดหวัง

การเมาความสุขที่ “ค้าง” อยู่ในอดีต

“ภาวะเมาค้างความสุข” หรือ Happiness Hangover เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกเศร้า เหนื่อยล้า และโดดเดี่ยว หลังจากช่วงเวลาแห่งความสุขจบลง เพราะไม่สามารถหยุดนึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาได้ คล้ายกับอาการเมาค้างหลังจากดื่มแอลกอฮอล์นั่นเอง

เพราะเมื่อเรารู้ว่าตัวเองจะมีช่วงเวลาที่ “พิเศษ” อารมณ์เชิงบวกจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาแห่งการรับรู้ เฝ้ารอ และเกิดขึ้นจริง เหมือนกับความสุขที่ไล่ระดับขึ้นจนถึงจุดสูงสุด จากนั้นก็ลดลงอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว เมื่อเรารับรู้ว่าตัวเองต้องกลับสู่ “ความเป็นจริง”

อย่างไรก็ตาม อารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นจากภาวะนี้ไม่ใช่อาการของโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงแค่ความรู้สึก “ผิดหวัง” ในชีวิต จากความแตกต่างระหว่างอดีตที่มีความสุขกับปัจจุบันที่แสนจืดชืด ส่งผลให้พลังภายในตัวเราลดลง และมัวจมอยู่กับช่วงเวลาในอดีต

สุข-ทุกข์ ความรู้สึกขั้วตรงข้าม

สาเหตุของการเกิดภาวะเมาค้างความสุข คือการที่เราไม่เตรียมใจให้พร้อมรับมือกับ “ความทุกข์” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงความรู้สึกธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อจิตใจกำลังหลงใหลไปกับความตื่นเต้น ดีใจ และสนุกสนาน ทำให้ความทุกข์กลายเป็นความรู้สึกขั้วตรงข้ามที่เราคาดไม่ถึง

ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับทฤษฎีสภาวะทางอารมณ์และแรงจูงใจ “Opponent process theory” ของนักจิตวิทยา Richard Solomon ที่กล่าวว่าเมื่อใดที่คนรับรู้ได้ถึงอารมณ์เพียงด้านเดียว อารมณ์อีกขั้วจะถูกกดไว้ชั่วคราว และเมื่ออารมณ์แรกเริ่มอ่อนลง อารมณ์ขั้วตรงข้ามจะส่งผลรุนแรงขึ้น

อย่างเช่นช่วงเวลาที่เราไปท่องเที่ยวกับเพื่อนสนิท ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แชร์เรื่องราวต่างๆ ในชีวิต เราจะรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเป็นพิเศษเมื่อทริปแสนสนุกนั้นจบลง หรือเวลาที่เราเกิดความเครียด และพยายามจดจ่ออยู่กับงานทั้งอาทิตย์ เราจะรู้สึกผ่อนคลายสุดขีดหลังจากทำงานนั้นเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน

George Koob นักสรีรวิทยายังเสริมว่า ทุกคนล้วนมี “ภาวะสมดุล” ไม่สุขหรือเศร้าจนเกินไป แต่ในชีวิตของเราอาจได้พบกับช่วงเวลาพิเศษต่างๆ ที่ทำให้อารมณ์เอนเอียงไปในทิศทางเดียว สมองจึงพยายามปรับอารมณ์ภายในให้กลับมาสมดุลตามเดิม เพราะหากมีความสุขมากเกินไป เราจะไม่ทันระวังภัยคุกคามอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

Advertisements

สร่างสุขอย่างเข้าใจ เพื่อกลับมาอยู่กับ “ปัจจุบัน”

การที่วันเวลาแห่งความสุขจบลง ก็ใช่ว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นเลย เราเพียงแค่ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับทุกความรู้สึกในชีวิตที่เข้ามาและผ่านไป จนสามารถ “สร่างสุข” ได้อย่างเข้าใจ พร้อมก้าวออกมาจากห้วงเวลาในอดีตได้อย่างสมบูรณ์

Advertisements

4 วิธีสร่างสุขอย่างเข้าใจ เพื่อกลับมาอยู่กับตัวเองในปัจจุบัน

1) อย่า “ต่อต้าน” ความรู้สึก
หากเรารู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับภาวะเมาค้างความสุข เราไม่จำเป็นต้องต่อต้านอารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นในทันที และลองปล่อยให้ตัวเอง “รู้สึก” ถึงอารมณ์เหล่านั้น เพื่อให้เวลาสมองช่วยปรับอารมณ์และความรู้สึกให้กลับมาสมดุล

2) “เรียนรู้” จากอดีต
การสะท้อนภาพอดีต เป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญของมนุษย์ บางครั้งภาวะเมาค้างความสุขอาจเป็น “สัญญาณ” ที่เตือนให้เรากลับมาทบทวนว่าความสุขและความทุกข์ของตัวเองคืออะไร แล้วเราจะสามารถจัดการภาวะทางอารมณ์ในชีวิตของตัวเองต่อไปได้อย่างไรบ้าง

3) “ตอกย้ำ”ความสุข
หากช่วงเวลาแห่งความสุขยังคงวนเวียนอยู่ในหัว ให้หยิบ “ความทรงจำ” ที่ถูกบันทึกไว้ผ่านสตอรี่ รูปภาพ หรือวิดีโอ กลับมาดูอีกครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ตอกย้ำความสุขเหล่านั้นอีกครั้ง และรับรู้คุณค่าของเวลามากขึ้น

4) วางแผน “อนาคต”
เมื่อได้ทบทวนอารมณ์และความรู้สึกภายในแล้ว ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะดึงตัวเองออกมาจากอดีตด้วยการวางแผนอนาคต เพื่อสร้างช่วงเวลาแห่ง “การรอคอย” ให้จิตใจได้กลับมาชุ่มฉ่ำ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแผนที่ใหญ่โต แค่การไปนวดในวันหยุด นัดเพื่อนดื่มกาแฟร้านโปรด หรือกลับบ้านไปกินข้าวกับครอบครัว ก็สามารถสร้างความสุขครั้งใหม่ให้ตัวเองได้แล้ว

เพราะความสุขย่อมมีจุดสิ้นสุดเป็นธรรมดา

ตราบใดที่เรายังมี “ชีวิต” เราย่อมต้องเผชิญกับความรู้สึกภายในที่แปรเปลี่ยนไปอยู่เสมอ อย่าลืมเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับทุกวัน ทุกเวลา และทุกวินาทีนับจากนี้ เพื่อให้ตัวเองพร้อมรับมือกับจุดเริ่มต้นและจุดจบของความสุขครั้งต่อไป


อ้างอิง
– Are You Experiencing a Happiness Hangover? : Elizabeth Lombardo Ph.D., Psychology Today : https://bit.ly/3lyzhhx
– There’s a biological reason you feel down after having the time of your life : Katherine Ellen Foley, Quartz : https://bit.ly/3E1ztMs
– 4 Ways to Recover from a Happiness Hangover : Carly A. Riordan : https://bit.ly/40S9915




#psychology
#selfdeverlopment
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast

Advertisements

LASTEST ARTICLES

LASTEST PODCAST

Mission To The Moon
Mission To The Moon
พื้นที่ที่สร้างขึ้นเพื่อแบ่งบันเรื่องราวเกี่ยวกับการทำธุรกิจ การตลาด แรงบันดาลใจ และข้อคิดในการใช้ชีวิต

POPULAR ARTICLES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานและเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถบล็อคการใช้งานคุกกี้ได้จากเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งานเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์และวัดผลการทำงาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า