เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าคือ “อนาคต”

3182
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock Thailand
[Sponsored Post]

นับตั้งแต่การปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 รถยนต์ไฟฟ้าถูกจดจำในฐานะของรถยนต์ที่ความเร็วต่ำ ค่าใช้จ่ายสูง และมีระยะทางในการขับขี่ที่สั้นมากเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สัปดาป

แต่ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 ความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้า และการมองหาเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ นั้นได้กลายมาเป็นประเด็นใหญ่ที่สำคัญ เนื่องจากวิกฤตเรื่องของสภาพแวดล้อมที่โลกของเรากำลังเผชิญ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้านั้นกลายมาเป็นจุดพลิกสำคัญครั้งใหญ่ของวงการยานยนต์

ทำให้นับตั้งแต่ปี 2012 ถึงปี 2018 นั้นรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราการเติบโตอยู่ระหว่าง 45-69% ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขอัตราการเติบโตที่สูงมาก โดยในปี 2019 นั้นรถยนต์ไฟฟ้ามียอดการส่งมอบสูงถึง 2,224,400 เพิ่มขึ้นจากปี 2018 อยู่ที่ 9%

Advertisements

ในปี 2019 ขนาดของตลาดรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 115,000 ล้านเหรียญ และในปี 2026 นั้น globenewswire ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 567,200 ล้านเหรียญ ถ้าเทียบจากสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าต่อจำนวนรถทั้งหมดที่มีอยู่เพียง 2.2% ในตอนนี้ เราน่าจะได้เห็นการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน

ด้วยตัวเลขการเติบโตอย่างต่อเนื่องของยรถยนต์ไฟฟ้า วันนี้เราคงไม่ต้องเดากันแล้วล่ะครับว่าตลาดรถยนต์ในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน 

แม้เราจะเห็นว่ารถยนต์สันดาปภายในน่าจะยังคงอยู่ไปอีกนาน สังเกตได้จากในบ้านเราที่ยังมียอดขายที่ดีอยู่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นวิ่งเข้ามาใกล้เรามากขึ้นทุกที ดังที่เห็นได้จากแบรนด์รถยนต์ระดับโลกที่ต่างเดินหน้าผลิตรถยนต์ทางเลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่แบบไฮบริด จนถึง e-Power (อี-พาวเวอร์) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ EV

อีกทั้งนโยบายการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าในหลายประเทศทั่วโลกก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้รถยนต์ไฟฟ้ายิ่งเติบโตขึ้น อย่างประเทศอังกฤษ ย้อนกลับไปในปี 2017 รัฐบาลอังกฤษได้ออกมาประกาศนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญมาก เพราะมีการตั้งเป้าเป็นเมืองที่ปลอดมลพิษภายในปี 2050 เรื่องนี้เป็นผลทำให้เกิดแผนการห้ามผลิตและจำหน่ายรถยนต์ดีเซล และเบนซินในประเทศ ภายในปี 2040

และล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของปีนี้ก็ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดเข้ามาอีก 5 ปี นั้นเท่ากับว่าอังกฤษจะไม่มีรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2035

แน่นอนว่านโยบายนี้ไม่ได้ถูกผลักดันแค่จากอังกฤษประเทศเดียวเท่านั้น เพราะหลายประเทศก็เริ่มมีนโยบายในลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ เยอรมัน, ฝรั่งเศส, จีน, สิงคโปร์, เนเธอร์แลนด์

สำหรับในบ้านเรา กระทรวงพลังงานก็ได้พัฒนาแผนเพื่อผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยตั้งเป้าไว้ว่าประเทศไทยจะต้องมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ารวม 1.2 ล้านคันบนท้องถนน ก่อนปี พ.ศ. 2579 

คำถามที่ตามมาคือ แล้วเรื่องของการชาร์จพลังงานล่ะ จะเป็นอย่างไร? คำตอบคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเองก็มีแผนรองรับในส่วนนี้ไว้แล้วเช่นกัน โดยในปี 2563 นี้มีแผนเพิ่มสถานีจ่ายไฟฟ้าจำนวน 62 แห่ง ในระยะทุกๆ 100 กิโลเมตรบนถนนทางหลวงสายหลัก และสนับสนุนให้มีการติดตั้งสถานีชาร์จให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์เพื่อสร้างความพร้อมของ EV ecosystem ในประเทศไทยในมิติอื่นๆ อีก เช่น รองรับการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เจ้าของรถสามารถเข้าถึงเครื่องมือง่ายขึ้น มีช่างประจำศูนย์บริการลูกค้าในการติดตั้งเครื่องชาร์จ ตรวจสอบระบบไฟ และบำรุงรักษาเครื่องชาร์จในสถานที่ต่างๆ เพื่อผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเต็มที่

ด้วยนโยบายต่างๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในบ้านเราด้วยนั้น น่าจะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าในอนาคต รถพลังงานทางเลือก จะเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างอย่างแน่นอน

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าจริงหรือไม่?

ถ้าพูดถึงในแง่ของสิ่งแวดล้อมรถยนต์ไฟฟ้านั้น เป็นมิตรกว่ารถยนต์เครื่องสันดาป ในแง่มุมของการปล่อยของเสียที่มาจากการสันดาปของเครื่องยนต์อย่างแน่นอน เพราะแหล่งพลังงานนั้นมาจากแบตเตอรี่

อีกทั้งการปล่อย CO2 ของรถยนต์ไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานก็น้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันอีกด้วย

และถ้าหากในวันข้างหน้าเราสามารถใช้พลังงานที่เป็น Renewable Energy (พลังงานหมุนเวียน) ได้ 100% นั้น รถยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่กระบวนการผลิต จนครบอายุการใช้งานนั้น จะปล่อย CO2 อยู่ที่ 14-21 metric tons เท่านั้น

Advertisements

Nissan หนึ่งในผู้เล่นรายสำคัญของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV

นาทีนี้ค่ายรถยนต์ทุกเจ้านั้นก็เริ่มประกาศและเบนเข็มในการพัฒนามาที่รถยนต์ไฟฟ้ากันแทบทุกเจ้าแล้ว ซึ่งหนึ่งในผู้เล่นเจ้าสำคัญที่ผลักดันในเรื่องนี้มากๆ เลยก็คือ Nissan

เพราะนับตั้งแต่มีการเปิดตัวรถยนต์ Nissan LEAFที่เป็น EV แบบ 100% ในปี 2010 จนถึงปัจจุบันนี้ Nissan LEAF เองนั้นมียอดขายรวมแล้วกว่า 460,000 คัน

จริงๆ ต้องบอกว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินรถยนต์ในชื่อ Nissan LEAF ที่ทางนิสสันเองได้นำมาจำหน่ายในบ้านเราอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบรนด์แรกๆ ที่นำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาขายในไทยอย่างจริงจัง

และในขณะเดียวกัน Nissan เองก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฟฟ้าในชื่อ e-POWER ออกมาในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน

โดยเทคโนโลยี e-POWER นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนแบบ 100% มีการติดตั้งเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดเล็กเพิ่มเติม เพื่อทำหน้าที่ควบคู่ไปกับเครื่องปั่นไฟเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่

nissan kick inside 1

หลังจากที่ผมได้นั่งอ่านข้อมูลและ Paper ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี e-POWER นั้น ก็ทำให้ผมสามารถมองภาพออกแล้วล่ะครับ ว่า e-POWER นั้นน่าจะมาตอบโจทย์สำคัญ 3 อย่างให้กับผู้ขับขี่ในบ้านเรา

1. ได้ประสบการณ์การขับขี่แบบ EV:

สำหรับคนที่อยากจะสัมผัสประสบการณ์การขับขี่แบบ EV แต่ติดด้วยที่ประเทศไทยนั้นมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ค่อนข้างน้อย (มาก) จึงทำให้ผู้บริโภค มีความกังวลว่าแบตเตอรี่อาจหมดกลางทาง โดย e-POWER ช่วยตัดปัญหาตรงนี้ออกไป เพราะเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่อาศัยพลังงานจากเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดเล็กและเครื่องปั่นไฟ

2. ใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ปล่อยของเสียน้อยกว่า:

เรื่องของการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และแน่นอนว่าปล่อย CO2 น้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปเพียวๆ อยู่แล้ว โดยจากข้อมูลที่ผมได้มานั้น e-POWER จะมีการปล่อย CO2 น้อยกว่าถึง 33% โดย e-POWER นั้นจะมีการปล่อย CO2 เฉลี่ยอยู่ที่ 100 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร ในขณะที่ รถยนต์สันดาปทั่วไปจะมีการปล่อย CO2 อยู่ที่ 149 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร

3. ประสบการณ์ขับขี่ที่ดีกว่า:

e-POWER ให้ประสบการณ์การขับขี่แบบ EV ซึ่ง ให้อัตราเร่งดีกว่ามาก และในขณะเดียวกันก็ให้การขับขี่ที่เงียบและผ่อนคลายกว่ามาก (เพราะตัวรถมีการสั่นน้อยกว่า)

ส่วนคนที่รอสัมผัสประสบการณ์การขับขี่แบบรถยนต์ EV แบบไม่ต้องชาร์จไฟ ก็ไม่ต้องรอกันอีกต่อไป เพราะล่าสุดทาง Nissan เองก็ได้เปิดตัวรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี e-POWER ในบ้านเราเป็นครั้งแรก ในชื่อ Nissan KICKS e-POWER

nissan kick product shot

และอีก Research ที่ผมอยากจะพูดถึงเป็น Research ของผู้บริโภค ที่ Nissan ร่วมกับ YouGov ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ขับรถกว่า 2,000 คน ในไทยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี e-POWER  ซึ่งน่าสนใจมากทีเดียวครับ

  1. ผู้ขับขี่ 7 ใน 10 คน บอกว่าจะพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในการซื้อรถยนต์คันถัดไป ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 44% ของกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมในการสำรวจที่คล้ายคลึงกันในปี 2018 ของ Frost and Sullivan
  2. ความกังวลในประเด็นเรื่องของสาธารณูปโภคที่รองรับรถยนต์ไฟฟ้าในประไทย ตั้งแต่ กลัวว่ารถยนต์จะพลังงานหมดระหว่างเดินทาง จุดชาร์ทไฟที่ยังมีน้อย และระยะเวลาในการชาร์ทที่ค่อนข้างนาน ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่กังวลอยู่เสมอ

    โดยจากรายงานบอกว่า 60% ของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าไม่มีสถานที่ให้บริการชาร์จไฟฟ้าอย่างเพียงพอ 59% มีความกังวลว่าพลังงานไฟฟ้าในรถจะหมด และ 54% กังวลเรื่องเวลาชาร์จไฟที่ใช้เวลานาน
  3. กว่า 87% จากผู้สำรวจทั้งหมดสนใจยานยนต์ที่สามารถมอบประสบการณ์การขับขี่แบบรถยนต์ไฟฟ้า ที่ยังใช้เครื่องยนต์สันดาปด้วย

และนี่คือ Research ที่พอจะบ่งบอกได้ล่ะครับว่า e-POWER น่าจะมาเป็นตัวเชื่อมและช่วยให้ผู้ใช้รถ เริ่มหันมาลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพราะ e-POWER สามารถตอบโจทย์ทั้งในเรื่องการที่ไม่ต้องชาร์จไฟ และเรื่องของจุดชาร์จออกไปได้

nissan kick epower

สุดท้าย… หลายคนอาจจะยังนึกกันไม่ออกว่าจู่ๆ เราจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันได้อย่างไร ในเมื่อรถยนต์สันดาปในบ้านเราก็ดูเหมือนจะยังขายดีอยู่…

แต่ความเปลี่ยนแปลงเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันมักจะมาเร็วอย่างที่เราคาดไม่ถึงเสมอ เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโทรศัพท์มือถือมาแล้ว 2007 กับการที่ Apple ส่งมือถือที่ไม่มีปุ่มกดมาให้เราได้รู้จัก วันนี้ผ่านมา 13 ปี เราแทบจะไม่เคยเห็นใครใช้มือถือแบบมีปุ่มอีกต่อไป

ซึ่งเหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเช่นกัน

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่