รู้หรือไม่ Sir Isaac Newton เป็นทาสแมวและเป็นผู้คิดค้น “ประตูแมว”

201

Sir Isaac Newton หรือที่เรารู้จักกันดีในฐานะหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุดของโลกวิทยาศาสตร์ กับการค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของโลก และต่อมาได้ชื่อเป็น “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน” บิดาแห่งวงการฟิสิกส์ และที่สำคัญเขายังเป็นคนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสุดยอดแห่งมนุษยชาติไว้อีกด้วย นั่นก็คือประตูแมว หรือที่ต่อมาจะถูกเรียกรวมๆ ว่าเป็น Pet Door

และแน่นอนว่านอกจาก Isaac Newton จะเป็นอัจฉริยะแล้ว เขายังเป็นทาสแมวอีกด้วย ย้อนกลับไปในช่วงชีวิตของนิวตัน (ค.ศ.1642 – 1727) เขาเป็นผู้ที่ทุ่มเทกับวิทยาศาสตร์และการทดลองต่างๆ เป็นอย่างมาก 

เขามักจะขึ้นไปที่ห้องใต้หลังคาเพื่อทำการทดลองต่างๆ โดยห้องใต้หลังคานี้จะเป็นห้องทึบที่มีประตูบานเดียวเป็นช่องแสงเมื่อเปิดประตู แล้วแมวของเขาก็ชอบที่จะร้องขอให้พามันเข้าหรือออกจากห้องประจำ จนทำให้การทดลองของเขาบางครั้งต้องพังลงเพราะมีแสงเข้าซะก่อน

Advertisements

เขาจึงปิ๊งไอเดียขึ้นมาได้ว่า แทนที่เขาจะต้องมาคอยเปิดๆ ปิดๆ ประตูให้เหล่าเจ้านายเอาแต่ใจพวกนี้ ทำไมเขาไม่ให้มันเปิดประตูเองซะเลย จากนั้นนิวตันจึงเริ่มตัดช่องเล็กๆ ที่ประตู จากนั้นก็ปิดด้วยผ้าสักหลาดที่ข้างบนยึดกับบานประตูไว้

กลายเป็นว่าพอมีบานประตูแมวเพิ่มเข้ามา เหล่าเจ้านายตัวน้อยก็เดินเข้าออกได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องรบกวน ส่วนนิวตันเองก็มีสมาธิจดจ่ออยู่กับการทดลองที่เขาสนใจ มีความสุขกันทั้งสองฝ่าย

แต่! ว่ากันว่าแม้แต่อัจฉริยะเองก็มีจุดบอดได้เหมือนกัน เมื่อเขาพบว่าผลงานชิ้นนี้ของเขานั้นมีข้อเสียใหญ่ๆ อยู่นั่นก็คือขนาดของมันไม่สามารถทำให้ลูกแมวตัวเล็กๆ ลอดผ่านเข้ามาได้เพราะมันอยู่สูงเกินไป นิวตันจึงแก้ปัญหาด้วยการเจาะรูเล็กๆ เพิ่มลงไปเป็นขนาดที่พอดีกับลูกแมวตัวเล็กๆ ให้สามารถเข้า-ออกได้

Advertisements

น่าคิดว่าถ้าหาก ไอแซก นิวตัน ไม่สามารถคิดค้นประตูแมว ที่เคยเป็นปัญหากวนใจเขาอยู่นานได้ เขาอาจจะไม่สามารถค้นพบทฤษฎีมหัศจรรย์ต่างๆ ที่เป็นมรดกตกทอดถึงทุกวันนี้ก็เป็นได้ (เพราะมัวแต่เปิดประตูให้แมวเข้าๆ ออกๆ)

FYI: The Oxford English Dictionary ได้จดทะเบียนคำศัพท์คำว่า “Cat Flap” ในปี 1957 และ “Cat Door” ในปี 1959 แต่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกรวมๆ กันว่า Pet Door มากกว่า



แปลและเรียบเรียงจาก
https://bit.ly/3xXia9y
https://bit.ly/37VJNVU

#missiontopluto
#missiontoplutopodcast
#brief

ติดตามความเคลื่อนไหวและเนื้อหาน่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ https://missiontothemoon.co/

Advertisements