ย้อนกลับไปเมื่อตอนโอลิมปิกสีเลือดที่มิวนิก หรือเหตุการณ์ที่ผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม Black September ได้บุกลอบเข้าไปในบ้านพักนักกีฬา ขณะกำลังหลับพักผ่อนเตรียมรอแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ.1972
ผู้ก่อการร้าย 8 คนอาวุธครบมือบุกเข้าไปจับตัวประกัน นักกีฬาและสตาฟโค้ชไว้เป็นตัวประกัน ร่วมทั้งสิ้น 9 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มจากที่เกิดเหตุ 2 ราย เป็นนักกีฬายกน้ำหนักและโค้ชของอิสลาเอลที่พยายามเข้าไปหยุดยั้งผู้บุกรุก กลุ่ม Black September เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ ทั้งหมด 234 คน และอีก 2 คนผู้ก่อตั้งกลุ่มแยกกองทัพแดง (German Red Army Faction) ที่ถูกจำคุกอยู่ในเยอรมนีขณะนั้น แลกกับตัวประกัน 9 คน
เหตุการณ์เลวร้ายนี้ถูกถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ผู้ก่อการร้ายขอเฮลิคอปเตอร์เพื่อเดินทางไปสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องบินเจ็ตหลบหนีออกนอกประเทศ ทางตำรวจที่ดักรออยู่ที่สนามบินจึงให้พลแม่นปืนยิงผู้ก่อการร้าย 2 คนทันทีที่มาถึงสนามบิน แต่นั่นทำให้เกิดเหตุวุ่นวายมากขึ้นกว่าเดิม และส่งผลให้ผู้ก่อการร้ายใช้ปืนกลกราดยิงและโดนระเบิด เสียชีวิตทั้งหมด 9 ราย และความล้มเหลวในการจัดการผู้ก่อการร้ายในครั้งนี้ถูกถ่ายทอดสดสู่สายตาชาวโลกชนิดนาทีต่อนาที
การก่อตั้งหน่วย GSG 9 หน่วยปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งปิตุภูมิ
ส่วนสาเหตุอะไรที่ทำให้เยอรมนีล้มเหลวในการต่อต้านผู้ก่อการร้ายมากขนาดนี้ นั่นก็เพราะเยอรมนีมีแค่ตำรวจธรรมดา ที่ไม่ได้มีประสบกาณ์การฝึกอบรมเพื่อรับมือกับผู้ก่อการร้ายมาโดยตรง เพราะประเทศเยอรมนีถูกห้ามไม่ให้มีกองทัพของตัวเองเช่นเดียวกับญี่ปุ่น หลังจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่นำโดยพรรคนาซี เพราะหลายประเทศกลัวว่าจะเกิดเหตุซ้ำรอยเดิมที่พรรคนาซีสร้างบาดแผลเอาไว้
ภายหลังก็ได้มีการจัดตั้ง Bundeswehr กองป้องกันสหพันธ์ ในปี 1955 จากการสนับสนุนของสหรัฐ แต่ก็เป็นเพียงกองกำลังป้องกันตนเองเท่านั้น ไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายชิงตัวประกัน
จากจุดผิดพลาดของเหตุการณ์โอลิมปิกสีเลือดที่มิวนิก ที่ทางเยอรมนีไม่มีทั้งกองกำลังตำรวจแห่งชาติ สายข่าวกรอง หน่วยรบพิเศษ หรือแม้แต่กองกำลังกองป้องกันสหพันธ์ก็แสดงประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่ เพราะมีกฎห้ามใช้กองกำลังติดอาวุธในเขตแดนเยอรมันในช่วงที่ไม่ได้เกิดสงคราม เหตุการณ์จี้ตัวประกันในครั้งนี้เลยมีแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจธรรมดาที่ออกปฏิบัติหน้าที่ และทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นมาในท้ายที่สุด
จากภัยก่อการร้ายในครั้งนี้ ทางเยอรมนีได้ตระหนักแล้วว่าผู้ก่อการร้ายกำลังจะทวีความรุนแรงและใช้กำลังมากขึ้น พวกเขาจึงต้องหาทางรับมือ และได้ก่อตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ที่ถูกฝึกมาอย่างดีในด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
แต่ทางสภาก็กลัวว่าการมีกองกำลังพิเศษจะไปซ้ำรอยกับหน่วยล่า สังหารโหดของนาซีอย่าง Schutzstaffel เลยทำให้สมาชิกของหน่วยปฏิบัติการพิเศษนี้ต้องมาจาก ‘ตำรวจ’ ต่างจากหน่วย S.A.S ของอังกฤษ หรือ Navy Seal ของสหรัฐฯ ที่มาจากทหารและกองทัพ
หน่วยปฏิบัติการพิเศษนี้ถูกใส่เข้าไปใน GSG หน่วยรักษาชายแดนพิเศษกรม 9 ที่แต่เดิมเยอรมนีมีกองกำลังรักษาชายแดนอยู่แล้ว 8 หน่วยด้วยกัน และถือว่า GSG-9 เป็นให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษ และถูกก่อตั้งในวันที่ 17 เมษายน ปี 1973 หรือราว 7 เดือนหลังเกิดเหตุผู้ก่อการร้ายที่มิวนิก ส่วนชื่อเต็มๆ ของหน่วยนี้คือ Grenzschutzgruppe 9 (German for ‘Border Protection Group 9’) โดยจะแบ่งออกเป็นอีก 3 หน่วยคือ หน่วยสู้รบทางพื้นดิน อากาศ และทางน้ำ และมีหน่วยสนับสนุนด้านข่าวกรองและเทคโนโลยี
Operation Fire Spell ผลงานอันเป็นที่ประจักษ์
ปฏิบัติการ Fire Spell ถือเป็นภารกิจที่สร้างผลงานให้กับหน่วย GSG-9 ให้ทั้งโลกได้รู้จัก กับการจัดการกับผู้ก่อการร้าย 4 คนที่เข้ายึดเครื่องบิน Lufthansa เพื่อให้ปล่อยตัวผู้นำกลุ่ม German Red Army Faction แลกกับตัวประกันที่เป็นผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 90 ชีวิต ในปี 1977
หน่วย GSG-9 มาถึงที่เกิดเหตุและแอบซุ่มเข้าไป โดยมีตำรวจท้องถิ่นคอยเบนความสนใจ หลัง GSG-9 เปิดฉากยิงและใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็คลี่คลายสถานการณ์ลงได้ ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต 3 คน สาหัส 1 คน มีเจ้าหน้าที่และผู้โดยสารบาดเจ็บ 2 คน ส่วนตัวประกันทั้งหมดปลอดภัยดี
เรียกได้ว่าเป็นการกู้หน้าและศักดิ์ศรีของทางการเยอรมนี ที่เคยล้มเหลวตอนปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันในเหตุการณ์โอลิมปิกเมื่อปี 1972
สำหรับใครที่อยากฟังเหตุการณ์นี้แบบระเอียด เรามีการเล่าเหตุการณ์นี้แบบละเอียดไว้แล้วใน Sport Journey EP.48 | โอลิมปิกสีเลือดที่มิวนิก ปี 1972
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
https://bit.ly/3mvGPQB
https://bit.ly/3ydAN9q
https://bit.ly/3gBG2dc
#missiontopluto
#missiontoplutopodcast
#SportJourneyPodcast
ดูเนื้อหาอื่นๆ ของ Sport Journey ได้ที่ https://missiontothemoon.co/category/podcast/sport-journey/