Godzilla (ゴジラ) กับพัฒนาการผ่านยุคสมัย จากอสูรในฝันร้าย สู่ผู้พิทักษ์จากใต้ทะเล

829
Godzilla

“Godzilla” สัญลักษณ์แห่งยุคสมัย ยาวนานกว่า 67 ปี ตัวแทนแห่งการปกป้องและทำลายล้าง ภาพสะท้อนของความโหดร้ายจากสงคราม และย้ำเตือนความน่ากลัวของอาวุธนิวเคลียร์

​ด้วยความที่เวลาผ่านมาเนิ่นนาน การปรากฏตัวของก็อดซิลล่านั้นจึงขึ้นอยู่กับมุมมองต่างๆ ในยุคสมัยนั้น บ้างก็ปรากฏในรูปของเทพผู้ปกป้อง และบางครั้งก็กลายเป็นเทพผู้ทำลายทุกสิ่งให้สิ้นซาก ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความที่เป็นปัจจัยในการสร้างอสูรกายยักษ์ตนนี้ออกมา

Shōwa Era (1954–1975) มีด้วยกัน 15 ภาค

ยุคโชวะ (Shōwa Era) จุดเริ่มต้นของก็อดซิลล่า มาจากความต้องการที่จะทำให้สัตว์ประหลาดตัวนี้เป็นตัวแทนของความโหดร้ายของอาวุธนิวเคลียร์​ หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์​อย่างหนัก

Advertisements

เราจะได้เห็น ก็อดซิลล่า ในภาพลักษณ์ของสัตว์ประหลาดที่มีผิวหนังสีดำเขลอะขละ ราวกับผิวหนังของผู้ที่โดนระเบิดนิวเคลียร์เผาไหม้ ถ่ายทอดออกมาผ่านเสียงกรีดร้องและความโกรธแค้นของก็อดซิลล่า 

จนภายหลังหนังภาคต่อที่สร้างตามมาจึงลดบทบาทการวิพากษ์การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ มาเป็นจิกกัดระบบทุนนิยม ลดทอนความซีเรียสของหนัง ให้กลายเป็นหนังสัตว์ประหลาดสู้กันแทน เป็นยุคเฟื่องฟูของราชาผู้นี้อย่างแท้จริง

Heisei Era (1984–1995)

ยุค เฮเซย์ เป็นยุคที่ ก็อดซิลล่า เป็นเนื้อเรื่องยาวติดต่อกัน โดยเนื้อหาที่จะพูดถึงส่วนใหญ่มักเป็นประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ ที่มนุษย์นี่แหละคือผู้ที่สร้างสัตว์ประหลาดขึ้นมา ก็อดซิลล่า จึงเป็นเหมือนภัยธรรมชาติที่คอยลงโทษมนุษย์

ยุค TriStar Pictures (1998)

เป็นยุคที่ ก็อดซิลล่า ถูกฮอลลีวูดหยิบยกไปทำเป็นหนังฝั่งตะวันตก แต่แฟนก็อดซิลล่ากลับสาปส่งเรื่องนี้ เนื่องจากไม่มีความเคารพต้นฉบับ ทั้งเนื้อเรื่องและงานดีไซน์ ที่ทำให้ก็อดซิลล่าผู้เป็นดั่งสัญลักษณ์เทพเจ้า กลายเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนไดโนเสาร์ ที่ไล่ทำลายเมือง ทำให้แฟนๆ เรียก ก็อดซิลล่า ภาคนี้ว่า ซิลล่า เพราะมันไม่มีความเป็น ก็อด อยู่เลย

Millennium Era (1999–2004)

ยุค มิลเลเนี่ยม เป็นยุคที่ตกต่ำที่สุดของหนังสัตว์ประหลาด อัลตราแมน คาเมนไรเดอร์ ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงซบเซาของแฟรนไชส์ญี่ปุ่น ส่วน ก็อดซิลล่า ก็มีหนังครบรอบ 50 ปีออกมา และเริ่มเปิดโต๊ะเจรจากับทาง LEGENDARY ค่ายหนังจากทางฝั่งตะวันตก

Advertisements

Reiwa Era (2016–Present)

ยุค เรวะ ในญี่ปุ่นมีหนังที่ชื่อว่า Shin Godzilla ออกมา และทำให้ ก็อดซิลล่า กลับไปเป็นตัวร้ายของมวลมนุษยชาติอีกครั้ง ซึ่งธีมหลักของเรื่องคือการวิพากษ์สังคมและการทำงานของภาครัฐญี่ปุ่น ที่ยังมีความเป็นญี่ปุ่นแบบเก่าๆ และธรรมเนียมปฏิบัติ ภาครัฐไม่สามารถรับมือกับกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้สิ่งที่ควรจะแก้ไขได้อย่างรวดเร็วกลับล่าช้า เด็กรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสามารถกลับไม่ได้รับการมองเห็น

Legendary Pictures (2014–2021)

เป็นการชุบชีวิตก็อดซิลล่าให้กลับมาโลดแล่นในวงการจอภาพยนตร์ฮอลลีวูดอีกครั้ง อย่างสมศักดิ์ศรี ลบภาพจำแย่ๆ ของก็อดซิลล่าเวอร์ชัน TriStar Pictures ออกไป กลายเป็นหนังสัตว์ประหลาดสู้กันเหมือนยุคแรก และสอดแทรกประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

Godzilla Netflix

เป็นหนังสัตว์ประหลาดแนวแอนิเมชัน Godzilla: Planet of the Monsters (2017), Godzilla: City on the Edge of Battle (2018), และ Godzilla: City on the Edge of Battle (2018) เป็นภาคที่เรียกได้ว่าก็อดซิลล่า มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เรียกว่าเกือบทะลุเมฆเลยทีเดียว ส่วนธีมหลักของเรื่องจะเกี่ยวกับ อภิปรัชญาพูดถึงการมีตัวตนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สัจธรรมของโลก ความหมายของชีวิต 

และอีกเรื่องคือ Godzilla Singular Point ที่อยู่ใน Godzailla Netflix ธีมหลักเป็นการผสมระหว่างหนังสัตว์ประหลาดและความรู้ด้านฟิสิกส์ นำเสนอในแง่มุมไซไฟสุดล้ำพร้อมกับคำศัพท์วิทยาศาสตร์สุดงง

สามารถฟังเวอร์ชันเต็มได้ที่ :

  • Godzilla ผู้พิทักษ์ หรือจอมทำลายล้าง feat. Kaiju Kingdom TH (1/2) | Time to Play EP.64: https://bit.ly/3IJnMuI
  • Godzilla ผู้พิทักษ์ หรือจอมทำลายล้าง feat. Kaiju Kingdom TH (2/2) | Time to Play EP.64: https://bit.ly/3sbMcaC

#missiontopluto
#missiontoplutopodcast
#timetoplaypodcast
#godzilla

ดูเนื้อหาอื่นๆ ของ Time To Play ได้ที่ https://missiontothemoon.co/category/podcast/time-to-play/

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่