ทำพื้นฐานให้ดีก่อน

3892
มีเวลาไม่เยอะอยากอ่านสั้นๆ
  • แอนโทนี่ พล็อก เป็นนักทรัมเป็ตระดับโลก นักแต่งเพลง อาจารย์สอนดนตรี
  • ในชั้นเรียนที่เขาสอน เขาขอให้นักเรียนเล่นโน๊ตง่ายๆ ที่เด็กประถมก็เล่นได้ หลังจากนั้นเขาหยิบเครื่องดนตรีขึ้นมาและเล่นมันในโน๊ตเดียวกัน ทุกคนในห้องต่างรับรู้ได้ถึงความแตกต่างอย่างมาก
  • ก่อนจะทำเรื่องยากๆ ทำพื้นฐานให้ดีก่อน

ครั้งหนึ่งตอนไปญี่ปุ่น ผมได้มีโอกาสคุยกับเชฟซูชิคนหนึ่ง ซึ่งโชคดีมากที่เชฟคนนี้พูดภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี ซึ่งไม่ได้เจอกันบ่อยๆ เราคุยกันหลายเรื่อง แต่เรื่องที่ผมจำได้แม่นมากเลยคือ ตอนที่ผมถามว่าการเรียนเป็นเชฟซูชินี่มันยากไหม?

เขาหัวเราะเสียงดังก่อนตอบว่า เชื่อไหมว่าตอนที่เรียนกับอาจารย์ของเขา เขาฝึกอยู่เป็นปี ยังไม่เคยได้แล่ปลาเลย แล้วเขาก็บอกผมประโยคนึงว่า You’ve got to get your basics right first หรือ “ก่อนจะทำอะไรที่มันยากๆ ได้ คุณต้องทำเรื่องพื้นฐานให้มันดีสุดๆ ซะก่อน”


เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวของนักดนตรีคนหนึ่ง ที่ผมเคยอ่านจากหนังสือเรื่อง The 5 elements of effective thinking ที่กล่าวถึง แอนโทนี่ พล็อก (anthony plog) ซึ่งเป็นนักทรัมเป็ตระดับโลก นักแต่งเพลง และอาจารย์สอนดนตรี

Advertisements

วันหนึ่งผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้มีโอกาสดู แอนโทนี่ควบคุมชั้นเรียนของนักดนตรีที่เก่งมากกลุ่มหนึ่ง ระหว่างชั้นเรียนนั้น นักดนตรีแต่ละคนก็จะเล่นเครื่องดนตรีของตัวเองในบางท่อนของเพลง แน่นอนพวกเขาเล่นออกมาได้อย่างมหัศจรรย์มาก

แอนโทนี่ ฟังอย่างตั้งใจและเริ่มการวิจารณ์ของเขาด้วยคำพูดประมาณว่า ดีมาก มันเพราะมากๆ มันเป็นท่อนที่ท้าทายมากเลยใช่ไหมล่ะ แล้วแอนโทนี่ก็จะแนะนำต่อถึงเทคนิคในการเล่นท่อนดังกล่าวว่าจะทำยังไงให้มันเพราะขึ้นไปอีก

แต่หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนวิธีการสอนไป

แอนโทนี่ ขอให้นักเรียนเล่นโน้ตที่ง่ายมากๆ ที่เป็นโน้ตที่พื้นฐานมากๆ เอาไว้สำหรับฝึกหัดเบื้องต้น โน๊ตที่นักดนตรีที่เพิ่งเริ่มเล่นคนไหนก็สามารถเล่นได้ เหล่านักเรียนก็เล่นโน๊ตเหล่านั้นซึ่งฟังดูแล้วมันเป็นอะไรที่ดูเด็กประถมมาก แทบจะเหมือนกับเป็นการดูถูกฝีมือกันเลยด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับ ท่อนเพลงระดับแอดวานซ์ ที่ยากกว่ากันมากซึ่งเหล่านักเรียนเพิ่งเล่นมาก่อนหน้านี้ไม่กี่นาที

หลังจากที่พวกนักเรียนเล่นท่อนง่ายๆจบ แอนโท นี่ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้แตะเครื่องดนตรีเลย ก็หยิบทรัมเป็ตขึ้นมา เขาเล่นโน๊ตง่ายๆ ที่เอาไว้สำหรับฝึกหัดเบื้องต้น แต่เสียงที่ออกมามันไม่เหมือนกับเสียงที่เหล่านักเรียนของเขาเล่นเลย มันฟังดูไม่เหมือนเพลงฝึกหัด แต่กลับดูนุ่มลึกและทรงพลัง โน้ตแต่ละตัวราวกับจะลอยออกมาเป็นภาพให้คนฟังเห็นเลยทีเดียว แม้ว่ามันจะเป็นเพียงโน้ตดนตรีที่พื้นฐานมากๆ ก็ตาม

Advertisements

ความแตกต่างของเสียงที่ออกมาระหว่างเสียงของแอนโทนี่ กับเสียงของเด็กนักเรียนช่างมากมาย เทียบกันไม่ได้เลย ทำให้เห็นได้ว่าฝีมือของปรมาจารย์กับนักเรียนที่ว่าเก่งมากๆ แล้ว มันแตกต่างกันตั้งแต่ระดับพื้นฐานเลย ไม่ต้องไปแอดวานซ์ ก็เห็นความแตกต่างมากแล้ว

ถ้าอยากเล่นเพลงยากๆ ให้ออกมาทรงพลังอย่างมหัศจรรย์ได้ ต้องเล่นเพลงง่ายๆ ให้มหัศจรรย์ให้ได้ก่อนแอนโทนี่ พล็อก

สิ่งที่เราเรียนรู้จากเรื่องนี้มันเรียบง่ายแต่สำคัญมาก ก่อนจะกระโดดไปทำอะไรยากๆ จงรู้จริงในพื้นฐานให้แน่นสุดๆ ก่อน ต้องรู้จนกระทั่งเรียกว่าหลับตาทำได้

ผมว่าเรื่องนี้จริงกับทุกๆ อย่างครับ

ผมเห็นร้านกาแฟที่แต่งร้านฮิปๆ เก๋ๆ เจ๊งมานับไม่ถ้วน เพราะขาดความจริงที่พื้นฐานสุดๆ คือ กาแฟไม่อร่อย

ผมเห็นคนขายของตลาดนัดหลายคน เลิกขายไป เพราะกลัวที่จะเข้าหาลูกค้าครับ

ผมเห็นรุ่นน้องที่ฝันอยากมีกิจการของตัวเอง แต่แป๊ปๆ ก็ไปไม่รอด เพราะ เสาร์-อาทิตย์ อยากปิดร้านไปเที่ยวกับแฟนครับ

คุณคงพอจะนึกถึงเรื่องแบบนี้ได้อีกมากมาย ก่อนจะก้าวไปข้างหน้า อย่าลืมทำพื้นฐานให้แน่นๆ ก่อนนะครับ

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่