หลักของ Buyer decision process กับการซื้อบ้าน

7739

(Sponsor Post ที่อัดแน่นไปด้วยสาระเช่นเดิมครับ)

วันๆ หนึ่งเราทุกคนมีเรื่องต่างๆ มากมายให้ตัดสินใจในแต่ละวัน ตั้งแต่เสื้อผ้าที่จะใส่ อาหารที่จะกิน การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในที่ทำงาน คือถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว เราเหมือนอยู่ในสถานะการณ์ที่ต้องตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ ตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ ทั่วไปที่ไม่ส่งผลกับเรามาก เราก็อาจจะสามารถตัดสินใจได้ทันทีหรือไม่ต้องพินิจพิเคราะห์มากมายนัก แต่ก็มีหลายๆ เรื่องในชีวิตที่การตัดสินใจนั้นอาจจะส่งผลกับเราอย่างมากและกินระยะเวลานาน หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการตัดสินใจ “ซื้อบ้าน” ครับ

กระบวนการในการตัดสินใจซื้อ (Buyer decision process)

ถ้าว่ากันตามหลักการของ John Dewey ที่ถูกคิดขึ้นตั้งแต่ปี 1910 จริงๆ แล้วกระบวนการในการตัดสินใจซื้อของเราๆ (ผู้บริโภค) นั้นมีกระบวนการอยู่ด้วยกัน 5 ข้อหลักๆ แล้วเราก็สามารถเอาหลักการนี้มาใช้ในการตัดสินใจซื้อของชิ้นใหญ่ๆ อย่าง “บ้าน” ได้เช่นกัน เริ่มเลยนะครับ

Advertisements

1. รับรู้ปัญหา / ความต้องการ (Problem/need-recognition) :

ในขั้นตอนแรกของการตัดสินใจ เราควรที่จะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าอะไรที่เป็นปัญหาของเรา เช่น

ตัวอย่าง ปัญหา-ความต้องการ

ปัญหาที่เราเจอจากบ้านที่เราอยู่ก่อนหน้าสิ่งที่เราต้องการในบ้านหลังใหม่
พื้นที่ใช้สอยน้อยเกินไปพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขึ้น
Facility ไม่มีหรือไม่ดีพอFacility ที่ดีกว่าเดิม
จำนวนห้องไม่เพียงพอสำหรับทุกคนในบ้านจำนวนห้องต้องเพียงพอสำหรับทุกคน
ไม่มี Club Houseมี Club House ที่ใช้งานได้จริง
มีผู้สูงอายุขึ้นลงบันไดลำบากมีลิฟท์ส่วนตัวภายในบ้าน
ที่จอดรถไม่เพียงพอจอดได้เพียงพอกับสมาชิก และเผื่อสำหรับอนาคต

2. ค้นหาข้อมูล (Information search) :

หลังจากที่เรารับรู้ถึงความต้องการของเราแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ “การค้นหาข้อมูล” และส่วนมากขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่คนกำลังตัดสินใจซื้อบ้านต้องใช้เวลาด้วยมากที่สุด สิ่งที่เราควรคำนึกถึงในขั้นตอนนี้มีค่อนข้างมากทีเดียว แล้วก็อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผมจะลองลิสต์ออกมาให้ดูนะครับ ว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์สักหนึ่งชิ้นเนี่ยเราควรที่จะหาข้อมูลอะไรบ้าง

  • Location : ใช่ทำเลที่เราต้องการไหม แนวโน้มอสังหาฯ ย่านนั้นในอนาคตเป็นอย่างไร
  • Brands : ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์)
  • After Sale Service : บริการหลังการขายของโครงการก่อนหน้าเป็นอย่างไร
  • Quality : คุณภาพของโครงการเป็นอย่างไรในภาพรวม
  • Customer reviews : ลูกบ้านที่อยู่อาศัยจริงมีความคิดเห็นอย่างไร
  • Need-recognition : ตอบโจทย์ตาม “ความต้องการ” ของเราในข้อ 1 ได้หรือไม่

3. การประเมินทางเลือก (Evaluation of alternatives) :

เมื่อได้ข้อมูลที่มากพอสเต็ปถัดมาคือ “การประเมินทางเลือกจากข้อมูลที่มีทั้งหมด” โดยในขั้นตอนนี้เราต้องพยายามชั่งน้ำหนักของทางเลือกให้สมเหตุสมผลมากที่สุด หมายความว่าเราต้องพยายามประเมินทางเลือกจากสิ่งที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของเราจริงๆ เท่านั้น (และควรจะเป็นในระยะยาวด้วย) โดยเราอาจจะทำตารางแล้วให้ score ของแต่ละตัวเลือกง่ายๆ ดังนี้ครับ

ตัวอย่างการประเมิน

FactorBrand ABrand BBrand C
Location788.5
Brand Trust7.589
After Sale Service677.5
Quality88.59
Customer review6.588.5
Need-recognition7810
Summary score4247.552.5

4. การตัดสินใจซื้อ (Purchase decision) :

ในขั้นตอนนี้ถ้าหากว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ไม่มีอะไรมาเซอร์ไพรส์ทำให้เราต้องเปลี่ยนใจ เราก็จะเดินทางมาถึงขั้นตอนของการ “ตัดสินใจซื้อ” นั่นเองครับ

5. พฤติกรรมหลังการซื้อ (Post-purchase behavior) :

หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อไปแล้วเขามีความพึ่งพอใจกับบ้านหลังนั้นมากน้อยแค่ไหน และไม่ว่าจะออกมาในทางบวกหรือทางบวก ความคิดเห็นเหล่านี้ย่อมมีผลต่อแบรนด์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อนี้จะค่อนข้างมีผลอย่างมากสำหรับฝ่ายผู้ขาย(แบรนด์) แต่ในมุมของผู้ซื้อบ้านข้อนี้จะถูกนับรวม มาอยู่ในขั้นตอนของการ “หาข้อมูลและการประเมินทางเลือก” นั้นเองครับ

ทาวน์โฮมหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหา “บ้านดีๆ สักหลัง”

ถ้าเราดูจากตัวเลข หรือผลสำรวจตลาดของอสังหาฯ ในบ้านเรา ก็พอจะบอกได้ล่ะครับว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มทาวน์โฮมยังคงเติบโตได้ดี และเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่การจะเลือกทาวน์โฮมให้ตอบโจทย์นั้นก็ไม่ง่ายเช่นกัน โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เราทุกคนมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น

Advertisements

แม้จะเป็นทาวน์โฮมก็จริง แต่โจทย์ของการซื้อนั้นมีความครอบคลุมและใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยวมาก ตั้งแต่ พื้นที่ใช้สอยที่ต้องกว้าง, จำนวนห้อง, งานดีไซน์, Facility, ทำเล รวมไปถึงเรื่องของที่จอดรถ และอื่นๆ อีกมากมาย

Ai Ratchaphruek ทาวน์โฮมที่ตอบทุกโจทย์ของการอยู่อาศัย

Ai Rachaphruek โครงการทาวน์โฮมคุณภาพจากผู้พัฒนาอสังหาฯ Enrich ที่ผ่านการพัฒนาโครงการอสังหาฯ มาแล้วมากมายตั้งแต่ THE MARQ ปิ่นเกล้า, ENRICH PARK ปิ่นเกล้า, KUUN ราชพฤกษ์, TARA ราชพฤกษ์-ปิ่นเกล้า โดยทุกโครงการถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Guiding You to Practical Living’ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อาศัยได้อย่างตรงใจและสร้างสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน การันตีคุณภาพด้วยรางวัลระดับสากล “Asia Pacific Property Awards 2019”

โครงการ Ai Rachaphruek ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพสามารถ เข้า-ออก ได้หลากหลายเส้นทาง เชื่อมต่อสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกทั้ง ถ.ราชพฤกษ์ ถ.กาญจนาภิเษก ถ.บรมราชชนนี และ ถ.นครอินทร์

อยู่ใกล้จุด ขึ้น-ลง ทางพิเศษศรีรัช บน ถ.กาญจนาภิเษก เพียง 900 ม. ใกล้กับศูนย์กลางค้า สถานศึกษา และโรงพยาบาล

Ai Ratchaphruek ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด INTELLIGENT TOWNHOME FOR

PRACTICAL LIVING ประกอบไปด้วย Intelligent 4 ข้อสำคัญที่เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ ดังนี้ครับ

Intelligent Space :
เป็นทาวน์โฮมที่มีพื้นที่ใช้สอยเทียบเท่ากับบ้านเดี่ยว โปร่งโล่งสบาย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทุกคนในบ้าน

Intelligent Design :
การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ในสไตล์ Modern พร้อมทั้งไม่ลืมที่จะนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ function การอยู่อาศัยจริง ด้วยการเตรียมพื้นที่สวนบริเวณระเบียงชั้น 2 ให้สามารถจัดสวนและลงต้นไม้ขนาดใหญ่ได้ พร้อมระบบระบายน้ำ

Intelligent Technology :
มาพร้อมกับระบบ Nasket ช๊อปปิ้งจากในบ้าน ผ่าน Smart Display 24 ชั่วโมง ภายในบ้านมี Home Lift ลิฟต์ส่วนตัวภายในบ้านช่วยให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้ง่ายๆ ด้วยระบบ Voice Control

Intelligent Facilities :
มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ Co-Working Space & lobby, พื้นที่สำหรับเด็กกับฟังก์ชั่นห้อง Ai Kid ขนาดใหญ่ รวมไปถึง Fitness และสระว่ายน้ำ เหมาะสำหรับคนทำงานที่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว ก็อยากพักผ่อน ใช้ชีวิตส่วนตัว หรือทำกิจกรรมกับคนในครอบครัวแบบไม่ต้องออกไปเผชิญความวุ่นวายนอกบ้านอีก

ลิงก์ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม https://www.en.co.th/project/ai
หรือโทรสอบถามได้ที่ 02-422-4222

Ai Ratchaphruek Banner
Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่