Decentralization เทรนด์การทำธุรกิจในยุคต่อจากนี้

1413
เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนธุรกิจจึงต้องเปลี่ยนตาม

จากหลายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ สงครามทางการค้า (เทรดวอร์), การออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิต), การใช้จ่ายเงินดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) จนมาถึง COVID-19 ที่เป็นการตอกย้ำว่า โลกได้มาถึงจุดสิ้นสุดของเทรนด์ Globalization แล้ว และถือเป็นการเข้าสู่ Decentralization อย่างเต็มตัว

มาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19  ทำให้คนเสมือนถูกบังคับให้ต้องใช้ชีวิตติดบ้านกันมากขึ้นแต่ด้วยความสะดวกสบายทางเทคโนโลยีการสื่อสารกิจกรรมในพื้นที่อาศัยจึงไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกไป

โดยทาง Nielsen Thailand ที่ได้เปิดเผยข้อมูลการวิจัยครั้งใหม่ถึงแนวโน้มพฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังโควิดในงาน LINE THAILAND BUSINESS 2020 เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าหลังโควิดกิจกรรมภายในพื้นที่อาศัย นอกจากทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร ศึกษาด้วยตัวเอง คนยังให้ความสนใจกับ Online Shopping และ Online Entertainment เพิ่มขึ้น

Advertisements

อีกทั้ง ยังพบว่า คนเริ่มให้ความสำคัญกับคุณค่าของสินค้าไม่แพ้ราคา หรือพูดง่ายๆ คือ เขาไม่ได้เลือกซื้อสินค้าและบริการเพียงเพราะว่ามีราคาถูก แต่ดูไปถึงฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้ธุรกิจไทยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เพื่อเอาใจลูกค้าที่มีพฤติกรรม รวมไปถึงวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้

วิสัยทัศน์ของ LINE Thailand

ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน LINE ในประเทศไทยกว่า 47 ล้านบัญชี แต่ด้วยความไม่แน่นอนของ Global Trend ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทาง LINE Thailand จึงมองว่า Decentralization ที่ให้ความสำคัญกับภาคส่วนย่อยหรือกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายก็น่าจะเป็นเทรนด์การทำธุรกิจในยุคต่อจากนี้ไป

LINE จึงให้ความสำคัญกับการเก็บ Customer Data โดยจะต้องแน่นและลึกมากพอ เพื่อที่จะรู้ว่าตอนนี้เทรนด์อะไรกำลังมา แล้วบริบทของเมืองไทยหรือผู้บริโภคไทยจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหน รวมถึงจะทำเซอร์วิสอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับคนทำธุรกิจ กับการแบ่งย่อยออกไปอีก 3 เทรนด์ New Human, New Rule และ New Power

New Human เทรนด์ของผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ๆ

หากจะให้นึกถึงเทรนด์หรือพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้บริโภค (New Rule) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น New Culture ในสังคมไทย คงหนีไม่พ้นเทรนด์ที่กำลังมาแรง อย่างกระแสซีรีส์วายซึ่งสามารถพลิกจากความชอบเฉพาะกลุ่ม สู่พฤติกรรมกระแสหลักของผู้ชมชาวไทย และขยายออกไปทั่วเอเชีย จนเกิดเป็น Community ขนาดใหญ่ ที่นำไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า Y-Economy ได้

จากข้อมูลเชิงสถิติที่เปิดเผยในงาน LINE Thailand Business 2020 พบว่า จำนวนผู้ชมซีรีส์วาย ที่ดูผ่านแพลตฟอร์ม LINE TV มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 18.9 ล้านคน (นับแบบ 1 user ที่เข้าชม ไม่ใช่จำนวนครั้งที่ชม) ซึ่งถือว่าไม่ใช่น้อยๆ เลย และอาจเป็นโอกาสในการจับกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่ที่น่าสนใจกลุ่มนี้ได้

New Rule บรรทัดฐานใหม่ของการเก็บข้อมูล

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Data หรือข้อมูลของลูกค้ามีความสำคัญอย่างมากในภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Purchasing Records รวมไปถึง Transaction Records ที่แบรนด์ นักการตลาดสามารถนำมาวิเคราะห์ จัดทำแคมเปญ หรือโปรโมชัน เพื่อเพิ่มยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นกับฐานลูกค้าเดิม หรือลูกค้าใหม่ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากการแอบเก็บข้อมูลผู้บริโภคโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงถือเป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การเก็บข้อมูลผ่าน 1st Party Data หรือการขอเก็บข้อมูลจากลูกค้าโดยตรงจึงเป็นทางออก ซึ่งเดิมการเก็บข้อมูลบนแพลตฟอร์ม LINE เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะจากโซลูชัน Mission Stickers หรือจากโฆษณาต่างๆ บนแพลตฟอร์ม LINE แต่เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อ CRM หรือทาง LINE เรียกว่า BCRM ที่ช่วยบริการจัดการฐานข้อมูลเพื่อดูแลรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าบน LINE OA เป็นหลัก

Advertisements

ด้วยผลตอบรับที่ดี LINE จึงเกิดเป็นโซลูชันใหม่ชื่อว่า MyCustomer ที่เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้อย่างครบวงจรมากขึ้น พัฒนาจากการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ CRM ไปสู่การเป็น CDP หรือ Customer Data Platform หรือแพลตฟอร์มกลางที่เป็นถังเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างแท้จริง

ความพิเศษอยู่ตรงที่เดิมทีระบบ CRM ของ LINE จะสามารถเก็บข้อมูลและใช้ได้บนแพลตฟอร์มของ LINE เท่านั้น แต่เมื่อพัฒนาเป็น CPD ทำให้แบรนด์เริ่มที่จะเอาข้อมูลข้างนอกหรือข้อมูลที่แบรนด์มีอยู่เอง มาผสมกับข้อมูลที่เก็บได้จากทาง LINE และสามารถนำออกไปใช้นอกเหนือจากแฟลตฟอร์มของ LINE ได้

New Power อิทธิพลและพลังเหนือภูมิภาคอื่นทั่วโลก

เป็นที่น่าตกใจว่า ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ (ระบบ E-Commerce) ประเภท Chat Commerce กลับได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทยเป็นอย่างมากซึ่งหลายๆประเทศก็ไม่สามารถทำได้

ทาง LINE จึงได้เสนอโซลูชันใหม่ๆ เป็นเซอร์วิสที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริโภค รวมไปถึงภาคธุรกิจไทย ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งจะขอยกตัวอย่าง เซอร์วิสด้านอาหาร ที่ LINE MAN Wongnai เริ่มจากการมองว่าทำอย่างไรให้สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จาก LINE Ecosystem ได้มากที่สุดจึงใช้กลยุทธ์ที่รุกเข้าไปสร้างประโยชน์ให้กับ Restaurant Owner ด้วยคือไม่ใช่แค่ส่งของจากร้านถึงมือลูกค้าอย่างเดียวแต่มองไปถึงคนที่เป็นผู้ขายด้วยเช่นกัน

เกิดเป็นโซลูชัน MyRestaurant ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทำการตลาดบน LINE  ลิงก์กับ CRM บน LINE ได้อย่างครบครัน คือการใช้ Restaurant Management และ Customer Data รวมกัน เพื่อให้ร้านหรือผู้ประกอบการอาหารสามารถทำ Communication ได้ทั้งแบบ Online และ Offline หรือพูดง่ายๆ คือ มีระบบจัดการภายในร้านอาหาร และเชื่อมโยงมาถึงลูกค้าข้างนอกอย่างครบวงจร ซึ่งเป็นข้อดี ที่จะดึงฝั่งผู้ค้าโดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีหน้าร้าน ให้เข้าสู่ระบบ LINE OA ได้

หากคุณมีญาติผู้ใหญ่ที่มีสูตรอาหารเด็ดๆ แต่ไม่รู้จะหาช่องทางการขายอย่างไร เพียงแค่มี MyRestaurant ก็สามารถเปิดร้านได้ง่ายๆ

นี่ยังไม่รวมไปถึงโซลูชันที่น่าสนใจอื่นๆ มากมายที่พัฒนาโดยคนไทยในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น MyShop เครื่องมือช่วยยกระดับการขายของผ่านระบบหน้าร้านออนไลน์ LINE Ads Platform (LAP) แพลตฟอร์มที่สามารถทำให้ Advertiser เข้าถึงโฆษณาที่อยู่บนทุกสื่อของ LINE ได้ Event Stickers โซลูชันที่เปิดโอกาสให้ทุกธุรกิจ ได้ใช้สติกเกอร์ราคาย่อมเยาเป็นเครื่องมือในการเก็บ Data และอื่นๆ อีกมากมาย

LINE กับโอกาสในการเติบโต

จากที่กล่าวมา หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า LINE มี Core Product ที่ญี่ปุ่นเป็นคนออกแบบเป็นหลัก แต่โซลูชันอื่นๆ มากมายที่กล่าวข้างต้น เช่น MyShop และ MyRestaurant ทีมงาน LINE ประเทศไทย นักพัฒนาไทยเป็นคนคิด พัฒนา และเปิดให้บริการออกมาเพื่อช่วยเหลือคนไทย ตาม Insight ต่างๆ ในแต่ละด้านที่เกิดขึ้น อย่างล่าสุดกับ Chat Commerce ใน MyShop ก็สามารถทำให้แบรนด์รถยุโรป Volvo Cars ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภคชาวไทยได้ เป็นต้น

สุดท้าย สิ่งที่ LINE พยายามเน้นย้ำมาตลอด โดยเฉพาะกับ SME ไทย ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เก่ง มีความสามารถมาก คือให้มองทุกสถานการณ์เป็นโอกาส ขอเพียงไม่ยอมแพ้ หรือดูถูกตัวเอง ศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองให้มั่นใจ เลิกหวังพึ่งความช่วยเหลือจากคนอื่น เริ่มลุกขึ้นมาลงมือทำโดยรู้จักปรับใช้ Digital Platform / Digital Tool เพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจให้ได้มากที่สุด เฉกเช่น LINE ประเทศไทย ที่ออกแบบเครื่องมือ หรือโซลูชันมากมายจาก Insight ของคนไทยที่เห็น มาให้คนไทยได้ใช้โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือใดๆ จากภายนอก เมื่อ LINE ประเทศไทยทำได้ เชื่อว่าคนไทย ผู้ประกอบการไทยทุกคนก็ทำได้ โอกาสมีมาให้เราอยู่เสมอ

Advertisements