ทำความรู้จัก CRC กับการ IPO ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

2415
รูปภาพจาก Number 24 x Shutterstock.com

การประกาศเตรียมการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ขนาดใหญ่แต่ละครั้ง แน่นอนว่า มักจะสร้างความสนใจให้เหล่านักลงทุนทั้งมือใหม่มือเก่า เพราะการจองซื้อหุ้น IPO นับเป็นการลงทุนที่มีโอกาสในการทำกำไรที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง 

ก่อนจะพูดถึง IPO ที่ใหญ่ที่สุดของปีนี้ ขอย้อนรอยกลับไปดูว่า 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทที่เสนอขายหุ้น IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในแต่ละปีมีมูลค่าเท่าไหร่กันบ้าง

เมื่อปี 2560 บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ของไทย เสนอขายหุ้น IPO โดยมีมูลค่าระดมทุนประมาณ 23,999 ล้านบาท

Advertisements

ถัดมาในปี 2561 บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เสนอขายหุ้น IPO โดยมีมูลค่าระดมทุนประมาณ 15,094 ล้านบาท

และปี 2562 บริษัทที่มีมูลค่าเสนอขายหุ้น IPO สูงสุดคือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจพัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยมีมูลค่าระดมทุนประมาณ 48,000 ล้านบาท (รวมมูลค่าการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)

ในปีนี้บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ได้เสนอขายหุ้น IPO เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยราคาเสนอขายสุดท้ายที่ 42.00 บาทต่อหุ้น พร้อมจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Overallotment Option หรือ Greenshoe) เต็มจำนวน ทำให้มูลค่าเสนอขายรวมกว่า 78,124 ล้านบาท (รวมมูลค่าหุ้นที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) ที่ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ และการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ซึ่งนับเป็นมูลค่าเสนอขายหุ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) 

อีกทั้งเป็นการเสนอขายหุ้น IPO ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่าสูงที่สุดทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2550 โดยหุ้น CRC จะเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ (Market Capitalization) ณ วันที่เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรกที่ประมาณ 253,302 ล้านบาท (ไม่รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ซึ่งจะเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 15 ลำดับแรกของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผลให้ CRC จะได้รับการจัดเข้าไปรวมอยู่ในดัชนี SET50 ด้วยเกณฑ์ Fast-track ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่หุ้น CRC เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นวันแรก

CRC หนึ่งในผู้นำตลาดค้าปลีก 

CRC ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งมีธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลายประเภทผ่านรูปแบบ และช่องทางที่หลากหลาย (Multi-format and Multi-category) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 

อาณาจักรค้าปลีกของ CRC เริ่มจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของธุรกิจครอบครัวเมื่อ 72 ปีก่อน โดยต้องการนำเสนอประสบการณ์ช้อปปิ้งใหม่ๆ ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้บริโภค และเป็นผู้ริเริ่มการทำห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของไทย ไปจนถึงการทำธุรกิจค้าปลีกแบบ Multi-format ผ่านการเปิดร้านค้าเฉพาะทางและธุรกิจค้าปลีกหลากหลายรูปแบบ 

แม้จะเป็นธุรกิจครอบครอบครัว แต่ CRC มีระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพ และมีการปรับตัวอยู่เสมอ สามารถต่อยอดจากช่องทางออฟไลน์สู่ Omni-channel เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ในการพัฒนาประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สมบูรณ์แบบ พร้อมกับการรักษาธรรมาภิบาลผ่านหลักการ ESG (Environment, Societ, and Governance)

บทวิเคราะห์ของ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า CRC เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก กลุ่มธุรกิจแฟชั่น, กลุ่มธุรกิจฮาร์ดไลน์ สินค้าตกแต่ง ปรับปรุงบ้านและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์, กลุ่มธุรกิจอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค 

ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 CRC มีร้านค้าในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ค้าปลีกที่สำคัญรวม 2,072 ร้านค้า และเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าอีกจำนวน 1,784 เคาน์เตอร์ และจะต่อยอดความสำเร็จสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งในประเทศอิตาลีและประเทศเวียดนาม เรียกได้ว่าเป็น S-Curve ใหม่ของ CRC ที่จะเกิดขึ้นหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เพราะ CRC ไม่หยุดนิ่งในการหาช่องทางการเติบโต ทั้งในภูมิภาคเอเชียและในตลาดนานาชาติ หาโอกาสในการเข้าซื้อ ควบรวมกิจการ หรือลงทุนร่วมกับพันธมิตร ทำให้ CRC สามารถขยายอาณาจักรจากประเทศไทยไปสู่นานาชาติได้ไม่ยาก

กลยุทธ์ปรับธุรกิจครอบครัวสู่บริษัทมหาชน 

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทุกอย่างสามารถเชื่อมถึงกันได้หมด ในยุคดิจิทัลเรื่องความสะดวกสบายและเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน ทำให้ความต้องการของคนค่อยๆ เปลี่ยนไป CRC จึงเลือกที่จะพัฒนาจากหน้าร้านทั่วไปให้เป็นหนึ่งเดียวกับการใช้ชีวิต หรือที่เรียกว่า  “Central of life”

CRC มีการรวมเอาทุกช่องทาง (Channel) มาผสานกัน เพื่อลดรอยต่อ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้า หรือบริการที่ต่อเนื่อง และจะเป็นการช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการช้อปปิ้งของลูกค้ามากขึ้น ด้วยข้อได้เปรียบสำคัญด้านข้อมูล หรือ “Data” จากสมาชิกภายใต้ Loyalty Program ต่างๆที่มีอยู่กว่า 28.8 ล้านคนทั่วโลก ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบริการใหม่ ๆ ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปมากขึ้น

กลยุทธ์และแผนการเติบโตที่สำคัญต่อจากนี้หลัง CRC เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือ

1. ขยายความสำเร็จ และความเป็นผู้นำในตลาดในประเทศ ทั้งการเติบโตแบบตนเอง (Organic Growth) และการรวมกิจการหรือเข้าซื้อ 

Advertisements

เร่งการเติบโตในเวียดนาม ต่อยอด GO! ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไฮเปอร์มาร์เก็ตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม หลังเปลี่ยนชื่อจากแบรนด์ “บิ๊กซี” รวมถึงการเปิดลานชีมาร์ทเพิ่มเติม นำเสนอร้านค้าเฉพาะทาง รวมทั้งจะเพิ่มเติมตัวเลือกของสินค้าให้มากขึ้น และบริการแนะนำสินค้า

CRC มีเป้าหมายที่จะเปิดร้านค้าเพิ่มกว่า 800 ร้านค้าทั่วทั้ง 63 จังหวัดในประเทศเวียดนามเพื่อที่จะขยายเข้าไปในตลาดที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีผู้แข่งขันน้อยราย

2. ขยาย Rinascente ในประเทศอิตาลี และพัฒนาปรับปรุง Rinascente ในประเทศอิตาลีเองยกระดับห้างสรรพสินค้าให้เป็นระดับ Luxury และเจาะกลุ่มลูกค้าประเภทนักท่องเที่ยวให้ได้มากยิ่งขึ้น พร้อมแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป

3. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาโอกาสสร้างการเติบโตทั้งในภูมิภาคเอเชียและในตลาดนานาชาติ หาโอกาสในการเข้าซื้อ ควบรวมกิจการ หรือลงทุนร่วมกับพันธมิตร และขยายการเติบโตในเอเชียและในตลาดระดับนานาชาติ 

4. เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์ม Omni-Channel เพื่อยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งให้กับลูกค้า โดยต่อยอด Omni-Channel ทั้งเรื่องช่องทางและฟังก์ชั่น ให้สามารถใช้งานได้กับทุกห้างร้านและสาขา 

และมีการรวมกลุ่มร้านค้า (Clustering) เพื่อลดต้นทุนในการส่งสินค้าและจะกระตุ้นให้ลูกค้า ภายในร้านปรับมาสู่ช่องทางออนไลน์ 

5. ยกระดับการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อเพิ่มความจงรักภักดีและเพิ่มยอดขาย โดย CRC จะให้ข้อมูลในการซื้อสินค้าดังกล่าวแก่ผู้จัดการสาขา เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาขาย การจัดการสินค้า การส่งเสริมการขาย การขายสินค้าที่เกี่ยวข้องและสินค้าอื่นๆ 

และยกระดับการสื่อสารและเสนอขายสิ่งที่ตรงความต้องการของลูกค้า เพื่อนำเสนอประสบการณ์ในการเลือกซื้อสินค้าที่พิเศษและแตกต่าง 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สมบูรณ์แบบให้แก่ลูกค้า

CRC กับ IPO ครั้งประวัติศาสตร์

CRC กำหนดระยะเวลาจองซื้อหุ้นสามัญให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) รวมถึงช่วงราคาขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่ามาร์เก็ตแคป มากกว่า 253,302 ล้านบาท ทำให้มูลค่าเสนอขายหุ้น IPO ของ CRC จะมีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ยิ่งไปกว่านั้น ครั้งนี้เป็นการเสนอขายหุ้น IPO ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีมูลค่าสูงที่สุดทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2550 

และเมื่อนับมูลค่าตลาดรวมหรือมาร์เก็ตแคปของหุ้น CRC ที่ราคาเสนอขายที่ 42 บาทต่อหุ้น หุ้น CRC มีโอกาสที่จะได้จัดอยู่ในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 15 ลำดับแรกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

และถูกนำเข้าคำนวณในดัชนี SET50 และ SET100 ตามเกณฑ์ Fast-Track ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเสริมสำคัญในการพิจารณาของนักลงทุน

CRC คาดว่าจะพร้อมเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก (1st Trading Day) ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 หลังประสบความสำเร็จอย่างงดงามจากการขายหุ้น IPO จากผลตอบรับที่ดีของทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไป ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ความเป็นผู้นำค้าปลีกไทยในระดับโลกของ CRC

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.centralretail.com/

Social Media ของ Central Retail: https://www.facebook.com/CentralRetail/

Advertisements

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่